Fashion Show : Thailand Student Fashion Project Awards 2007
Brand : Central
Venue : Event Hall, Central Chidlom
Date / Time : 9 August 2007 ,17.00

LONG LIVE THE KING
สพรั่งสีสันและไอเดียผลิบานจากยังก์ดีไซเนอร์
ในโครงการประกวดนักออกแบบรุ่นใหม่ปี 2550
(THAILAND STUDENT FASHION PROJECT AWARD 2007)

Click here to Google Photo Gallery
ผมได้ย้ายภาพแกลเลอรี่มาที่ Google Photo

วงการแฟชั่นผลิบานด้วยเหล่ายังก์ดีไซเนอร์ เมื่อศูนย์การศึกษาพัฒนาแฟชั่นและอัญมณี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ร่วมกับ บ.สรรพสินค้าเซ็นทรัล โดยเซ็นทรัล วาย คลับ (Central Y Club) ร่วมเปิดเวที แสดงผลงานของดีไซน์เนอร์ คลื่นลูกใหม ่ในงานโครงการ ประกวดนักออกแบบรุ่นใหม่ ปี 2550 (THAILAND STUDENT FASHION PROJECT AWARD 2007) ประชันผลงานการออกแบบ และแฟชั่นจากนักศึกษา 17 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ภายใต้คอนเซ็ปท์ Long Live the King เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงมีพระชนม์มายุครบ 80 พรรษาในปีนี้ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

การประกวดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทเครื่องนุ่งห่ม (Dress Fashion)
2. ประเภทเครื่องตกแต่ง (Decorative Accessory)
3. ประเภทเครื่องประดับ (Jewelry Design)

โดยปีนี้ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่ร่วมสานฝันของ ดีไซเนอร์คลื่นลูกใหม่ให้เป็นจริง ได้แก่ บริษัท เบรนเอเซีย จำกัด, นิตยสาร HARPER’S BAZAAR, เครื่องสำอางบีเอสซี (BSC), สถาบันเกตุวดี – แกนดินี, โรงแรมโซฟิเทล สีลม,ลี (LEE), และโค้ก (COKE)
ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า “งานโครงการประกวด นักออกแบบรุ่นใหม่ ปี 2550 นับเป็นกิจกรรมส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ของ ศูนย์การศึกษาพัฒนาแฟชั่น และอัญมณี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ได้ริเริ่มจัดโครงการนี้ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ ได้กล้าคิด กล้าทำ แสดงผลงานให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้แสดงความสามารถ และโชว์ผลงานความคิดสร้างสรรค์ แฟชั่น และผลิตภัณฑ์, พัฒนาศักยภาพ ของดีไซเนอร์รุ่นใหม่ให้ทัดเทียม ระดับสากล แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ของเหล่าต้นกล้าแฟชั่น และสร้างสานพันธมิตรแฟชั่น เน็ตเวิร์คที่เข้มแข็งระหว่าง 17 สถาบันระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ”

ศาสตราจารย์วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) กล่าวว่า ”สำหรับโครงการประกวด นักออกแบบรุ่นใหม่ ปี 2550 (THAILAND STUDENT FASHION PROJECT AWARD 2007) ในปีนี้มีผลงานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 17 สถาบันทั่วประเทศ ภายใต้คอนเซ็ปท์ Long Live the King เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงมี พระชนม์มายุครบ 80 พรรษา โดยน้อมนำพระราชกรณียกิจ และแนวคิดคำสอน ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระราชทานแก่พสกนิกร เป็นแรงบันดาลใจ และมาประยุกต์ให้เข้ากับ การออกแบบแฟชั่น และเครื่องประดับ ในยุคเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดระยะเวลา 5 เดือนของการดำเนินงาน ประกวดนักออกแบบรุ่นใหม่ปี 2550 คณะทำงานโดยศูนย์ การศึกษาพัฒนาแฟชั่น และอัญมณี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ และทีมงานตลอดจนผู้สนับสนุน ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน โดยเริ่มจากงานแถลงข่าวสื่อมวลชน เปิดตัวโครงการ, การจัดเวิร์คช็อป แก่สถาบันอุดมศึกษา, การปฐมนิเทศให้ความรู้ แก่นักศึกษายังก์ดีไซเนอร์ และประสานงานกับยังก์ดีไซเนอร์ ของสถาบันต่าง ๆ ในการออกแบบ และคำแนะนำในการผลิต จนมาเป็นผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาวิชาด้านการออกแบบ แฟชั่นเสื้อผ้า, เครื่องตกแต่ง และเครื่องประดับ สู่สายตาประชาชนและสื่อมวลชนในวันนี้”

ประเภทเครื่องนุ่งห่ม (Dress Fashion) มี 14 ผลงานเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศผลงานที่ 1 กังหันน้ำชัยพัฒนา โดยนายโชดิวัต เอี่ยมทิม, นายสราวุฒิ นุ่นสังข์ และนายภูริลาภ ศิริเอก จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพฯ แรงบันดาลใจจาก กังหันน้ำชัยพัฒนา หนึ่งในโครงการพระราชดำริ ของในหลวงเพราะประทับใจ ในรูปทรงของใบพัดกังหัน ที่หมุนเวียนออกมาจากจุดศูนย์กลาง เสมือนพลังที่ไม่เคยย่อท้อ และเหนื่อยล้าดังเช่น พระกรณียกิจของในหลวง ที่ทรงทุ่มเทเพื่อ พสกนิกรชาวไทย อย่างมิเคยย่อท้อ ตราบจนทุกวันนี้ ชุดของชาย และหญิงในโทนสีเมทัลลิค ชุดผู้ชายเป็นแจ็คเก็ต และกางเกงใช้ผ้าสแปนเด๊กซ์ สวมใส่สบาย ชุดเสื้อกระโปรงผู้หญิง อัดพลีทเพิ่มลูกเล่นชายกระโปรง ตัดเฉียงเพิ่มความเก๋สไตล์กระโปรงพัน เห็นลูกไม้ด้านใน

 


ผลงานที่ 2 ใต้ร่มพระบารมี
โดยน.ส.พรภัทร นาสมนึก, นายอภิชาติ มั่นไทรทอ และน.ส.ศิรินภา บวรวราภรณ์จากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (บางเขน) แรง บันดาลใจมาจากผืนแผ่นดินไทย ที่ประกอบด้วยพสกนิกร ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา หากแต่มีศูนย์รวมจิตใจเดียวกัน นั่นคือพ่อหลวง แม้ชนกลุ่มน้อย ที่อพยพมาพึ่งพระบารมี ก็เป็นสุขเสมือนหนึ่งพสกนิกรอื่น ๆ ของพระองค์ท่าน ชุดผู้หญิงใช้ผ้าทอพื้นเมือง ตกแต่งอกด้วย เครื่องเงินใช้การพับ และเหน็บผ้าเป็นริ้ว ใช้ห่วงเงินต่างขนาดคล้องเป็นสายบ่า กลุ่มด้ายเป็นพู่ห้อยประดับด้วยโลหะสีเงิน ชุดผู้ชายตกแต่งลายพื้นเมือง ด้วยการตัดต่อ และเขียนสีกระเป๋ากางเกง ลักษณะพองเป็นลวดลาย พื้นเมืองชนกลุ่มน้อย

ผลงานที่ 3 คอนเซ็นเทรต (Concentrate)
โดยนายสัญญะลักษณ์ มีสวัสดิ์, นายพงษ์สันติ์ สุขสบาย และ น.ส.อรสา คำมูลเมือง จาก มหาวิทยาลัย ราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพายัพ ภายใต้แรงบันดาลใจ จากความซาบซึ้ง ในพระราชกรณียกิจที่มี มากมายกว่า 2,400 โครงการ และบทประพันธ์เรื่อง “พระมหาชนก” ที่สื่อความคิดที่ว่า การกระทำสิ่งใด หากมีความมุ่งมั่น และลงมือทำอย่างจริงจัง แล้วก็จะเกิดความสำเร็จได้ ชุดชาย และหญิงในโทนสีขาวครีม วัสดุใช้ผ้าฝ้าย ชุดเสื้อผู้ชาย 3 ชิ้นสไตล์สปอร์ตลำลอง ตัวในคอตั้ง แจ็คเก๊ตตัวนอก ตกแต่งด้วยแพทเทิร์น หน้าอกเดินเส้น กางเกงตีเกล็ดหน้า และทับ ซ้อนชายเสื้อใช้การ ตีเกล็ดปลายแขน ใช้เทคนิคการเดินเส้นด้าย และกุ๊นขอบ ส่วนชุดผู้หญิงมี 3 ชิ้น ตัวใน และตัวนอกอัดพลีทแต่งลายลูกไม้ กางเกงพันป้ายผูกด้วยเชือกไส้ไก่

ผลงานที่ 4 ภักดิ์ภูมินทร์
โดยนายพงษณกรณ์ สำนักวิชา, นายทัศน์วศิน ขจีนิกร และ น.ส.นัธยา แสงมณี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คอน เซ็ปท์คือ แรงบันดาลใจ จากบทเพลงสรรเสริญ พระบารมีที่แผ่ไพศาลทั่วไทย.. .แซ่ซ้องความจงรักภักดี ในหัวใจของคนไทย ทั้งประเทศที่มีต่อในหลวง ผ่านการผสมผสาน ระหว่างศิลปวัฒนธรรม ของแต่ละภาคที่มีเสน่ห์ แตกต่างกันออกไป ชุดเสื้อกระโปรงมีแนวคัตติ้ง ผ้าเครปซาตินสีทอง ปักด้วยเลื่อม ทองประดับผ้าโพกหัวสีน้ำเงิน ชุดผู้ชาย 3 ชิ้นตัวในเสื้อผ้าผิวเปลือกไม้เป็น คาร์ดิแกนแต่งคอด้วยระบายยาวสวมทับด้วยสูทน้ำเงิน และกางเกงทรงเป้าต่ำผ้าไหมสีน้ำเงิน

ผลงานที่ 5 ดิอินไซด์ (THE INSIDE)
โดยนายนิติสรณ์ สายัณหวิกสิต,น.ส.ปาณิศา สร้อยสนธิ์ และน.ส.วัสณี เอี่ยมวชิรากุล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต้องการนำเสนอ ถึงสิ่งที่อยู่ภายในตัวตน ของเรา ไม่ว่าจะเป็นความดี หรือความเลว ตามพระบรมราโชวาท ของในหลวงที่ให้เราตระหนักถึง และเข้าใจในชีวิตของตนเอง แม้สภาพสังคมจะเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว แต่เราก็สามารถยืนหยัด สร้างสิ่งดีให้อยู่กับตัวเราได้ ชุดชาย และหญิงออกแบบตัดเย็บด้วย ผ้าลินินและคอตตอน เทคนิคการย้อมสี และจับเดรปเสื้อผ้าย่น แขนสามส่วนสวมทับ กับเสื้อผ้าไหม และกระโปรงอันหมายถึง สิ่งที่ดีที่คงอยู่ในตัวเรา และรายละเอียด ที่ซ่อนไว้ในรูปแบบชุดทำงาน ที่ปรับเปลี่ยนได้หลายรูปแบบ ให้ใส่ได้ในหลายโอกาส

ผลงานที่ 6 ใบหญ้าแฝก (BAI-YAH-FAG)
โดยน.ส.อมรรัตน์ นิยมราษฎร์, นายชวลิต แซ่ฉั่ว และนายณรงค์เดช ทิพย์พิมานพร จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แรง บันดาลใจ มาจากผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรม ใบหญ้าแฝก ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ ของในหลวง และโครงการพระราชดำริ ในโครงการดอยตุง จ. เชียงราย ที่ส่งเสริมให้ชาวเขา ในพื้นที่ได้ร่วมโครงการ ปลูกหญ้าแฝกตามไหล่เขา สร้างสรรค์งาน หัตถกรรมธรรมชาติ ผลงานชุดนี้ ชุดผู้ชาย และหญิงใช้ผ้าใยธรรมชาติที่ทอจาก ผ้าฝ้าย ป่านและอื่น ๆ ชุดผู้หญิงใช้เทคนิคการสาน, ขดและพับตกแต่งด้วย เศษผ้าเศษด้าย สีสันของชุดที่มีสีแดง, ส้ม, ส้มอ่อน, แดงเลือดนก, น้ำตาลอ่อน, น้ำตาลเข้ม กางเกงตกแต่งด้วย ผ้าสานไขว้เพิ่มสีสัน

ผลงานที่ 7 น๊อตธิง ทู เอ็กเซส (Nothing to Excess)
โดยนายกิตติพงศ์ ศิริเฑียรทอง, น.ส.ชญามน นุตยะสกุล และ น.ส.วีรินทร์ สุขุมาลวรรณ์ จากมหาวิทยาลัยรังสิต แรงบันดาลใจ จากหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงอันเป็นปรัชญา ของการดำเนินชีวิต เป็นวิถีของการดำรงตน อย่างสมดุล ไม่มากเกินไป และมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน อยู่ได้จริงเสื้อผ้าสตรีทแวร์ (Street Wear) เน้นประโยชน์ใช้สอยแบบ Utility Fashionable Outfit ที่ตอบสนองความต้องการ และความสะดวกใน ชีวิตประจำวันนั้น ๆ ชุดชายเป็นแบบเสื้อ กับกางเกงขายาว ผู้หญิงเป็นกางเกงขาสั้น ใช้วัสดุประเภทคลิก ที่กดปลดล็อค และซิปเป็นลูกเล่น ตอบโจทย์คุณสมบัติประโยชน์ใช้สอยหลัก ของชุดนี้เพื่อประกอบ หรือถอดได้ในโทนสีน้ำตาล ขาวและน้ำเงิน

ผลงานที่ 8 ธอท (THOUGHT)
โดยนายอรรถสิทธิ์ จันทร์นิเวศน์, น.ส.ณมัญญา กองเงินและน.ส.พลอยมณี ศุภเวทย์เวหนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แนวคิดมาจาก โครงการแก้มลิง อันเป็นโครงการพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาสร้างสรรค์ และถ่ายทอดออกมาเป็นเสื้อผ้า Ready to Wear สื่อผ่านวัสดุท้องถิ่น ผสมผสาน กับวัสดุร่วมสมัย ใช้เทคนิคการถักนิต (Knit) ให้ออกมาเป็นชุดที่ตัดทอน ความเป็นทางการ เพื่อให้ดูทันสมัย และสวมใส่ได้จริง ชุดผู้หญิงตัวในเข้ารูป คอตั้งแขนขลิบทอง สวมทับด้วยชุดเดรสผ้า ถักนิตสีน้ำเงิน เสื้อผู้ชายผ้าถักนิตสีน้ำเงินเมทัลลิค สวมทับเสื้อตัวใน สีครีมขลิบทอง และกางเกงสีดำที่คล่องแคล่ว แต่ให้ความรู้สึกหรูหรา

ผลงานที่ 9 หุ่นไล่กา
โดยนายสุภัสสร เทียมศักดิ์, น.ส.ชฎามินทร์ นวะสิมมา และ น.ส.อังคณา ศรีแดน จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต แนว คิดแรงบันดาลใจ มาจากหุ่นไล่กา ที่คงอยู่คู่ กับเกษตรกรไทยมาช้านาน เป็นตัวอย่างของการใช้หลักการ บวกภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งสอดคล้อง กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวง เพียงแต่ต่างยุค ต่างสมัยกัน ในการพึ่งพาธรรมชาติ และตนเอง จุดเด่นของชุดนี้ อยู่ที่ความประทับใจ ที่จดจำได้จากการเห็นคุณแม่ นำเสื้อผ้าเก่ามาซ่อมแซม ด้วยหลากหลายรูปแบบ เช่น ตัดต่อ, ปะ, ชุนและอีกมากมาย นำมาซึ่งเทคนิคผสมผสาน การอัดพลีทด้วยวัสดุผ้าคอตตอน, ผ้าฝ้ายและผ้าป่านมัสลิน ทั้งเสื้อกางเกงชาย และเสื้อสักหลาดสีแดง กับกระโปรงผู้หญิงบานพลิ้ว มีไอเดียลูกเล่นของวัสดุต่าง ๆ เสริมความเก๋ไก๋ยิ่งขึ้น

ผลงานที่ 10 อิเทอร์นัล ซันไซน์ (Eternal Sunshine)
โดยน.ส.ดาลิตา เกตุศักดิ์, นายศุภกิตติ์ เหลืองศิริรังษี และนายวีรเดช ช้างมิ่ง จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แรงบันดาลใจ จากพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ต่อองค์ในหลวง… ”พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ” แสดงออกถึง ความห่วงใยต่อกันและกัน และยังส่งเผื่อแผ่ถึงพสกนิกร ผนวกกับได้นำโครงการ ที่เกี่ยวกับป่ากับน้ำ คือ โครงการปลูกหญ้าแฝก, ฝนหลวง ตลอดจนพระราชนิพนธ์ เรื่องพระมหาชนก ชุดทั้งสองนำแนวคิดมาใช้ในการออกแบบเป็นเกลียว คลื่นสายน้ำในลายผืนผ้า ชุดเสื้อและกางเกงสำหรับชาย ชุดเดรสผู้หญิง อัดพลีทตัดเฉียงชายกระโปรง เป็นลูกเล่นเก๋ไก๋ในโทนสีขาว, น้ำเงินและเขียว

ผลงานที่ 11 บาวด์ (BOUND
) โดยนายปรเมศวร์ พงศ์ลาภประเสริฐ และน.ส.ญาณิกา ศรีจันพร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี แรง บันดาลใจ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ฯ “เรื่องความรัก และความสามัคคีของคนในชาติไทย” แม้คนไทยจะมีความแตกต่าง หลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม แต่เราก็สามารถอยู่ร่วมอาศัย บนผืนแผ่นดินไทยได้ชุดชาย และหญิงใช้ผ้าชีฟอง มามัดเกลียวให้เป็นเชือก กระโปรงตัวใน เป็นผ้าฝ้ายทอมือผสมทองแดง กับผักตบชวา และกะลามะพร้าว เลื่อมสีน้ำตาลออกทองแดง กระโปรงตัวนอก เป็นผ้าไหมถักโครเชต์สีน้ำตาลทองแดง ผสมการทอกับวัสดุอื่นเช่นเดียว กับกระโปรงตัวใน

ผลงานที่ 12 ชัยพัฒนา
โดยนายรัฐศักดิ์ ยิ่งพุทธิรัตน์, นายวรพจน์ เสถียรพงษ์และนายชัยพร นกจันทร์จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ แรง บันดาลใจ จากสิ่งประดิษฐ์กังหันชัยพัฒนา อันเป็นผลงานวิจัยระดับโลก ที่ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย รูปทรงของ ตัวกังหันนำมาสร้างสรรค์ แสดงออกถึงความเคลื่อนไหวชุดทั้งชาย และหญิงโทนสีน้ำตาล เหลือง – ขาวกระโปรง 9 ชิ้น ตัวกระโปรงติดซิป เปิดได้โดยข้างใน เป็นภาพหญ้าแฝก, โครงการหลวง, สะพานพระราม 8, ฝนหลวง เป็นต้น ส่วนเครื่องแต่งกายชาย เป็นเสื้อคลุมแบบลำลอง สาปเสื้อด้านหลังติดซิปเปิดให้เห็นภาพต่าง ๆ

ผลงานที่ 13 The King of People, People of the King โดยนายอุดมเดช เจริญธนพร, น.ส.พรพรรษ์ ภู่กฤษณา และน.ส.ภัทรียา สุทธิวรางกุล จากมหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร วิทยาเขตโชติเวช แรง บันดาลใจ มาจากงานเฉลิมฉลอง แด่ในหลวงที่ประชาชนพร้อมใจกัน สวมเสื้อเหลืองกันทั้งประเทศ ท่ามกลางแสงเทียนสว่างไสว เสื้อผ้าที่ออกแบบเป็น ready to wear ใช้เป็นผ้าคอตตอน และผ้ายืดในโทนสีทองทั้งชาย และหญิงผสมผสานความเป็นไทย กับสากลให้สวมใส่สบาย ผสมเทคนิคการจับจีบ และการตัดต่อผ้า ชุดผู้หญิงสดใส ใส่แล้วรู้สึกมั่นใจใช้วัสดุผ้าไทย และใช้โทนสีทองมาผสมผสานให้ทันสมัย ส่วนชุดผู้ชายนั้นเหมาะกับ คนบุคลิกเท่ห์ มีสไตล์

 


ผลงานที่ 14 Jigsaw of Love
โดยนายธฤต พรเลิศอนุพงศ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนว คิดสื่อถึงความจงรักรักภักดี ที่ประชาชนชาวไทยมอบให้แด่ ในหลวงของคนไทย ถึงแม้ว่าผืนผ้านั้นจะมีความแตกต่าง ในพื้นผิว และเส้นสาย แต่ด้วยพระบารมีของพระองค์ผู้ทรง เป็นที่ตั้งแห่งจิตใจของ ประชาชนชาวไทย ในที่สุดก็สามารถประสานลงตัว ให้ประชาชนไทย เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน… ชุดผู้หญิงใช้ผืนผ้าแต่ละผืน ที่นำมาต่อกันอย่างลงตัว และยืดหยุ่นเป็นชุดกระโปรงบานสั้น พลิ้วอัดพลีท ชุดผู้ชายใช้วัสดุ และเทคนิคเดียวกัน ที่ให้การเคลื่อนไหวทะมัดทะเเมง กระฉับกระเฉง ดูสมาร์ทยามเคลื่อนไหว

 

ประเภทเครื่องตกแต่ง (Decorative Accessory)

ประเภทเครื่องตกแต่ง (Decorative Accessory)ประเภทเครื่องตกแต่ง (Decorative Accessory) มี 6 ผลงานผลงานที่ 1 สร้างงานหวายใต้ร่มพระบารมี โดย น.ส.สุวิมล โภคพินิจ, น.ส. ศศิประภา ศรีเทพ และนายสมชาย อินทร์ประสิทธิ์ จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แนว คิดคอนเซ็ปต์ มาจากแรงบันดาลใจ จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ที่ได้เริ่มศึกษาการขยายพันธุ์หวาย ที่มีค่าทางเศรษฐกิจประมาณปลายปี 2529 พระองค์ได้ทรงศึกษาวิธีการขยายพันธุ์โดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อ เครื่องตกแต่ง กระเป๋าสะพาย แว่นตาและรองเท้าสตรี สื่อสะท้อนแนวคิดมาเป็นลวดลาย และสีสันจาก ลำต้นและใบหวาย ใช้วัสดุตกแต่งสีเงิน เพิ่มความหรูหรา และเดินเส้นด้ายสีทอง เป็นลายดอกลงบน หนังวัวฝาดโทนสีน้ำตาลเหลือง

ผลงานที่ 2 ขอทรงพระเจริญ (อักษรเบลล์) โดยนายธีรวัฒน์ ประมาณมาศ และนาย จีรทีปต์ ต้วงพิพัฒน์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แนว คิดแรงบันดาลใจ จากการที่ได้รับรู้เรื่องราว ของบุคคลพิการตาบอดผู้ซาบซึ้ง และสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงมีต่อคนไทย ทุกหมู่เหล่า ประชาชนคนตาบอด จึงนำเอาอักษรเบลล์ เขียนถ่ายทอดความรู้สึก ผลงานกระเป๋า, รองเท้า และแว่นตานี้ ได้นำพื้นผิวของอักษร มาสรรค์สร้างปรากฏบนผลงาน ในคอลเลคชั่นนี้ทั้งหมด เสมือนศิลปะงานกราฟิค จากการตอกหมุด ติดเรียงรายบนพื้นผิว ทำให้เก๋ไก๋สะดุดสายตา


ผลงานที่ 3 ชัยพัฒนา
โดยนายวรพงษ์ เสถียรพงษ์, น.ส.จุฑารัตน์ เข็มพิลาและน.ส.หทัยรัตน์ เข็มพิลาจากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ แนว คิดแรงบันดาลใจ มาจากกังหันชัยพัฒนา ซึ่งเป็นผลงานวิจัยระดับโลก และได้รับรางวัลมากมาย เป็นกังหันน้ำ ที่ใช้บำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำ คอลเลคชั่นนี้ประกอบด้วยหมวก กระเป๋า และรองเท้าสตรี ซึ่งได้นำเอาบางส่วน ของกังหันชัยพัฒนา มาดีไซน์เป็นหมวกมีลูกเล่น ที่สามารถคลี่เป็นภาพ โครงการพระราชดำริ และสามารถพับปีกหมวกได้, กระเป๋าตกแต่งด้วยลวดลาย เพ้นท์ และเปิดซิปเป็นภาพต่าง ๆ ส่วนรองเท้า ใช้ห่วงเหล็กสีทอง ตกแต่งด้วยผ้าไหม โทนสีน้ำตาล และเหลือง


ผลงานที่ 4 ไซเคิล (CYCLE)
โดยนายจตุพร เจริญเอม, นายฐาปนา ชูชาติพงษ์ และนาย นัฐพล จิตต์รักมั่น จากมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ แนว คิดมาจากความซาบซึ้ง ในพระปรีชาสามารถขององค์ในหลวง ที่ทรงก้าวล้ำไปกับยุคสมัย และนำไปใช้งานได้จริงดังเช่น โครงการบำบัดน้ำเสีย “กังหันชัยพัฒนา” จึงได้นำโครงสร้าง ของกังหันมาประยุกต์เป็น ต้นแบบการออกแบบ ที่มีความแข็งแรงทนทาน และใช้งานได้ยาวนาน อีกทั้งยังให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว กระฉับกระเฉง คอลเลคชั่นที่ ประกอบด้วย กระเป๋าสะพาย, รองเท้าสตรี และซองใส่ไอพอด ใช้วัสดุหนังพ่นสีเงิน ทันสมัยทั้งคอลเลคชั่น บวกการใช้รายละเอียดในการตัดเย็บที่ประณีต เพื่อโชว์ความโดดเด่น ของรายละเอียด และการใช้งาน


ผลงานที่ 5 Long Live the King
โดยนายสุทธิพงษ์ ช่างแย้ม และน.ส.ศิรินภา บวรวราภรณ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คอนเซ็ปต์ มาจากปีเฉลิมฉลองพระชนมายุ 80 พรรษาของในหลวง พ่อของแผ่นดิน ผู้ทรงงานหนักเพื่อพสกนิกร เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่หาที่สุดมิได้ การออกแบบใน Collection นี้นำเครื่องหมาย ของอินฟินิตี้ ที่มีความหมายว่าไม่มีที่สิ้นสุด ในความจงรักภักดี ที่มีต่อในหลวงคอลเลคชั่นนี้ ใช้หนังผิวสัมผัสฝาดสีน้ำตาลอ่อน เข็มขัดหนังสีน้ำตาลเข้ม ปิดลงบนพื้นผิวหัวเข็มขัด เมื่อคล้องยึดกันด้วย โลหะทองเหลือง จะเป็นสัญลักษณ์อินฟินิตี้ ส่วนหมวก และกระเป๋าเดินขอบ ด้วยหนังสีน้ำตาลเข้ม เป็นลวดลายอินฟินิตี้ เช่นกัน


ผลงานที่ 6 FLOWING THROUGH LIFE
โดยน.ส.นริศา อารีรักษ์, น.ส.สุชยา ปิยะอัจฉริยะ และ น.ส.ชุมศิริ ตันติธารา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คอลเลคชั่น นี้ ได้รับแรงบันดาลใจ จากโครงการแก้มลิง อันเป็นโครงการพระราชดำริ ในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ช่วยสร้างความสมดุล ให้แก่ชีวิตพสกนิกรชาวไทย คอลเลคชั่นดีไซน์ ของเครื่องตกแต่งในโทนสีน้ำตาล และสีทอง ประกอบด้วย กระเป๋า, เข็มขัดและรองเท้า โดดเด่นด้วยวัสดุ ที่นำมาถักทอให้เกิด ความแปลกตาและทนทาน สีสันสะดุดตา หรูหรา รวมไปถึงฟังก์ชั่น ที่สร้างความสมดุล ของการใช้ และสวมใส่ได้อย่างลงตัว

ประเภทเครื่องตกแต่ง (Decorative Accessory)

ประเภทเครื่องตกแต่ง (Decorative Accessory)ประเภทเครื่องตกแต่ง (Decorative Accessory) มี 6 ผลงาน

ผลงานที่ 1 สร้างงานหวายใต้ร่มพระบารมี โดย น.ส.สุวิมล โภคพินิจ, น.ส. ศศิประภา ศรีเทพ และนายสมชาย อินทร์ประสิทธิ์ จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แนว คิดคอนเซ็ปต์ มาจากแรงบันดาลใจ จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ที่ได้เริ่มศึกษาการขยายพันธุ์หวาย ที่มีค่าทางเศรษฐกิจประมาณปลายปี 2529 พระองค์ได้ทรงศึกษาวิธีการขยายพันธุ์โดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อ เครื่องตกแต่ง กระเป๋าสะพาย แว่นตาและรองเท้าสตรี สื่อสะท้อนแนวคิดมาเป็นลวดลาย และสีสันจาก ลำต้นและใบหวาย ใช้วัสดุตกแต่งสีเงิน เพิ่มความหรูหรา และเดินเส้นด้ายสีทอง เป็นลายดอกลงบน หนังวัวฝาดโทนสีน้ำตาลเหลือง

ผลงานที่ 2 ขอทรงพระเจริญ (อักษรเบลล์) โดยนายธีรวัฒน์ ประมาณมาศ และนาย จีรทีปต์ ต้วงพิพัฒน์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แนว คิดแรงบันดาลใจ จากการที่ได้รับรู้เรื่องราว ของบุคคลพิการตาบอดผู้ซาบซึ้ง และสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงมีต่อคนไทย ทุกหมู่เหล่า ประชาชนคนตาบอด จึงนำเอาอักษรเบลล์ เขียนถ่ายทอดความรู้สึก ผลงานกระเป๋า, รองเท้า และแว่นตานี้ ได้นำพื้นผิวของอักษร มาสรรค์สร้างปรากฏบนผลงาน ในคอลเลคชั่นนี้ทั้งหมด เสมือนศิลปะงานกราฟิค จากการตอกหมุด ติดเรียงรายบนพื้นผิว ทำให้เก๋ไก๋สะดุดสายตา


ผลงานที่ 3 ชัยพัฒนา
โดยนายวรพงษ์ เสถียรพงษ์, น.ส.จุฑารัตน์ เข็มพิลาและน.ส.หทัยรัตน์ เข็มพิลาจากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ แนว คิดแรงบันดาลใจ มาจากกังหันชัยพัฒนา ซึ่งเป็นผลงานวิจัยระดับโลก และได้รับรางวัลมากมาย เป็นกังหันน้ำ ที่ใช้บำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำ คอลเลคชั่นนี้ประกอบด้วยหมวก กระเป๋า และรองเท้าสตรี ซึ่งได้นำเอาบางส่วน ของกังหันชัยพัฒนา มาดีไซน์เป็นหมวกมีลูกเล่น ที่สามารถคลี่เป็นภาพ โครงการพระราชดำริ และสามารถพับปีกหมวกได้, กระเป๋าตกแต่งด้วยลวดลาย เพ้นท์ และเปิดซิปเป็นภาพต่าง ๆ ส่วนรองเท้า ใช้ห่วงเหล็กสีทอง ตกแต่งด้วยผ้าไหม โทนสีน้ำตาล และเหลือง


ผลงานที่ 4 ไซเคิล (CYCLE)
โดยนายจตุพร เจริญเอม, นายฐาปนา ชูชาติพงษ์ และนาย นัฐพล จิตต์รักมั่น จากมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ แนว คิดมาจากความซาบซึ้ง ในพระปรีชาสามารถขององค์ในหลวง ที่ทรงก้าวล้ำไปกับยุคสมัย และนำไปใช้งานได้จริงดังเช่น โครงการบำบัดน้ำเสีย “กังหันชัยพัฒนา” จึงได้นำโครงสร้าง ของกังหันมาประยุกต์เป็น ต้นแบบการออกแบบ ที่มีความแข็งแรงทนทาน และใช้งานได้ยาวนาน อีกทั้งยังให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว กระฉับกระเฉง คอลเลคชั่นที่ ประกอบด้วย กระเป๋าสะพาย, รองเท้าสตรี และซองใส่ไอพอด ใช้วัสดุหนังพ่นสีเงิน ทันสมัยทั้งคอลเลคชั่น บวกการใช้รายละเอียดในการตัดเย็บที่ประณีต เพื่อโชว์ความโดดเด่น ของรายละเอียด และการใช้งาน


ผลงานที่ 5 Long Live the King
โดยนายสุทธิพงษ์ ช่างแย้ม และน.ส.ศิรินภา บวรวราภรณ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คอนเซ็ปต์ มาจากปีเฉลิมฉลองพระชนมายุ 80 พรรษาของในหลวง พ่อของแผ่นดิน ผู้ทรงงานหนักเพื่อพสกนิกร เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่หาที่สุดมิได้ การออกแบบใน Collection นี้นำเครื่องหมาย ของอินฟินิตี้ ที่มีความหมายว่าไม่มีที่สิ้นสุด ในความจงรักภักดี ที่มีต่อในหลวงคอลเลคชั่นนี้ ใช้หนังผิวสัมผัสฝาดสีน้ำตาลอ่อน เข็มขัดหนังสีน้ำตาลเข้ม ปิดลงบนพื้นผิวหัวเข็มขัด เมื่อคล้องยึดกันด้วย โลหะทองเหลือง จะเป็นสัญลักษณ์อินฟินิตี้ ส่วนหมวก และกระเป๋าเดินขอบ ด้วยหนังสีน้ำตาลเข้ม เป็นลวดลายอินฟินิตี้ เช่นกัน


ผลงานที่ 6 FLOWING THROUGH LIFE
โดยน.ส.นริศา อารีรักษ์, น.ส.สุชยา ปิยะอัจฉริยะ และ น.ส.ชุมศิริ ตันติธารา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คอลเลคชั่น นี้ ได้รับแรงบันดาลใจ จากโครงการแก้มลิง อันเป็นโครงการพระราชดำริ ในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ช่วยสร้างความสมดุล ให้แก่ชีวิตพสกนิกรชาวไทย คอลเลคชั่นดีไซน์ ของเครื่องตกแต่งในโทนสีน้ำตาล และสีทอง ประกอบด้วย กระเป๋า, เข็มขัดและรองเท้า โดดเด่นด้วยวัสดุ ที่นำมาถักทอให้เกิด ความแปลกตาและทนทาน สีสันสะดุดตา หรูหรา รวมไปถึงฟังก์ชั่น ที่สร้างความสมดุล ของการใช้ และสวมใส่ได้อย่างลงตัว

ประเภทเครื่องประดับ (Jewelry Design)

ประเภทเครื่องประดับ (Jewelry Design)ประเภทเครื่องประดับ (Jewelry Design) มี 7 ผลงาน
ผลงานที่ 1 รวงข้าว โดยน.ส.กิตติยา ปุญชู, น.ส.ฤทธิพร งามขำ และนายอภิชาต สุขมาศ จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เครื่อง ประดับสำหรับสตรีชุดนี้ ประกอบด้วยสร้อย, กำไล และต่างหูที่ได้รับแรงบันดาลใจ จากรวงข้าว สำหรับประเทศอื่นแล้ว สิ่งที่มีค่าที่สุดอาจเป็นเพชรนิล จินดา แต่คิดว่าข้าวนี่แหละ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเหนือสิ่งอื่นใด เมืองไทยไม่ว่าแห่งหนใด เต็มไปด้วยทุ่งนา และต้นข้าวในบรรยากาศ สีทองของรวงข้าว จึงใช้หญ้าลิเภา และข้าวเปลือกนำมาถักทอเป็นชิ้นงานหนาแน่น ตกแต่งด้วยข้าวเปลือก คงไว้ซึ่งคอนเซ็ปต์ อันทรงคุณค่าในโทนเหลืองทอง ผ่องอำไพ

ผลงานที่ 2 น้ำพระทัย (NUHM PHRA THAI) โดยน.ส.ปัทมา ขาวงาม, น.ส.ปรางวิไล วงศ์แปงและนายโพยม พาลีจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แรง บันดาลใจ จากความซาบซึ้งใน พระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย เปรียบดังหยด น้ำพระทัย และนำหลักเศรษฐกิจ แบบพอเพียงที่ยังความร่มเย็น มาสู่ดินแดนสยาม ชุดเครื่องประดับ เลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ จากโครงการหลวง และเทคนิคของงานหัตถกรรมไทย ออกแบบชิ้นงานที่สามารถถอด แยกได้เป็น 4 ชิ้น คือ สร้อย, เข็มกลัด, ต่างหู และเข็มขัดใช้เทคนิคถักทอ และสานผสมกับโลหะสีทอง เป็นประกายวาววับ


ผลงานที่ 3 รวมใจเป็นหนึ่ง
โดยนายอิสระ จันทร์สิทธิพงศ์ และน.ส. สิริรัตน์ รอดชีพ จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แรง บันดาลใจ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้ทรงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ของปวงชนชาวไทย เป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรไทย แนวคิดสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ของประเทศไทยทั้ง 5 ภาค ให้ชิ้นงานรวมใจกันเป็นหนึ่ง ออกมาเป็นผลงาน ประกอบด้วยสร้อยคอ, สร้อยข้อมือ และต่างหูคอลเลคชั่นนี้ ออกแบบโดยใช้วัสดุที่สื่อ แนวความคิดคือ ไม้ ที่เป็นตัวแทนของภาคเหนือ บ่งบอกความเป็นธรรมชาติที่อุดม สมบูรณ์, ลูกตุ้มลงยา ลายผ้าตีนจกตัวแทน วิถีชีวิตภาคอีสาน, มุก ตัวแทนภาคใต้ที่สร้างชื่อเสียง และรายได้เป็นสินค้าเลื่องลือ, ทองเหลือง ตัวเเทนภาคกลาง แสดงถึงความรุ่งเรือง ของวัดวาอาราม และ พลอยตัวแทนของภาคตะวันออก ที่สร้างชื่อเสียง ไปทั่วโลก


ผลงานที่ 4 พระราชดำริ
โดยน.ส.นพวรรณ ยิ่งเจริญ, น.ส.สุพัจนา ลิ่มวงศ์และ น.ส.ธัชมาศ แซ่โง้ว จากมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ คอนเซ็ปท์แนวคิดจาก ปัญหาทางธรรมชาติหลาย ๆอย่างที่คนไทยกำลังประสบอยู่ ทั้งฝนบนท้องฟ้า น้ำตามแหล่งต่าง ๆ พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริ และโครงการมากมาย เพื่อให้ประชาชน ของพระองค์ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข เครื่องประดับชุดนี้ มีสร้อยคอ, กำไลข้อมือ และต่างหูทองในโทนสีของเงิน, ฟ้า, น้ำตาล และทองมีรูปแบบที่เรียบ ให้ความรู้สึกร่วมสมัย ใช้วัสดุธรรมชาติ ในประเทศทั้งหมด ผสมผสานงานฝีมือหัตถกรรม ท้องถิ่นและการผลิต ในอุตสาหกรรมก่อเกิดเป็นงาน ที่ให้ความรู้สึกร่วมสมัย


ผลงานที่ 5 ข้าวไทย (THAI RICE)
โดยนายวิฑูรย์ พันธุ์จ้อย, น.ส.แพรวไพลิน ถนัดสัญญา และน.ส.พัชรินทร์ ทองน้อย จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล พระนครวิทยาเขต ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ แรง บันดาลใจ มาจากการรับรู้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงตระหนัก ถึงความสำคัญในการปลูกข้าว โดยทรงดำเนินงานปลูกแปลง นาข้าวทดลองในสวนจิตรลดา และยังทรงรื้อฟื้น พระราชพิธีจรด พระนังคัลแรกนาขวัญอีกด้วย คอลเลคชั่นนี้ ประกอบด้วยสร้อยคอ, กำไล, ต่างหูซึ่งนำแนวคิดมาต่อ และตัดทอนลงบางส่วน เพื่อให้ผลงานโดดเด่น และร่วมสมัยมากขึ้น สร้อยคอและต่างหูใช้เส้นใยลูกปัดไม้ ลูกปัดจากกะลา หินสีมาถักทอร้อยกัน ผูกพันเป็นสร้อยคอ แบบผสมผสานห้อยระย้า และเป็นก้อนกลุ่มแบบมัด ของฟ่อนข้าวในโทนสีสันสดใส


ผลงานที่ 6 กังหันน้ำชัยพัฒนา
โดยนายณัฐพงศ์ สารพูนทรัพย์, นายอาทิตย์ จันทรางศุ และน.ส.ดวงกมล สุธรรมโชติ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คอนเซ็ปต์ดีไซน์ นำหลักการของกังหันชัยพัฒนา ที่มีวิธีการให้กังหันตีน้ำ เกิดเป็นฟองคลื่น เพื่อช่วยเติมออกซิเจน จากอากาศสู่น้ำ ปรับเปลี่ยนน้ำเสีย กลายเป็นน้ำดี อันเป็นพระราชดำริ ของในหลวงมาใช้บอกเล่าเรื่องราวพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงนำพาประเทศสู่การพัฒนา อย่างยั่งยืนสร้อยคอ, สร้อยข้อมือ และต่างหูชุดนี้ใช้วัสดุเปลือกหอย กระจก และหนังปลากระเบน เป็นวัสดุหลัก เพื่อสื่อถึงการเติมความอุดมสมบูรณ์ แก่ผืนน้ำ ดีไซน์รูปทรงกลม เกาะติดกัน และพลิ้วไหวของกังหันวาววับ ด้วยโทนสีของน้ำเงิน เละกระจกส่องสะท้อน


ผลงานที่ 7 ความเพียรพยายาม
โดยนายนพดล มโหฬาร, นายสัญญะลักษณ์ มีสวัสดิ์และนายกิตติกรณ์ เสาร์แก้วจากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพายัพ แรงบันดาลใจ จากการที่ได้เห็นจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรง มีความเพียรพยายาม ในพระราชกรณียกิจต่าง ๆ มากมายนับไม่ถ้วน เพื่อประโยชน์สุข ของปวงชนชาวไทย บทพระราชนิพนธ์ เรื่องพระมหาชนก ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แสดงถึงความเพียรพยายาม ผลงานคอลเลคชั่นนี้ประกอบด้วย สร้อยคอ, ต่างหู และเข็มกลัด ซึ่งใช้วัสดุประเภทแกนเงิน ชุบทองมาทำเป็นชิ้นงานหลัก แล้วพันด้วยเส้นไหม ประดับอัญมณี กับเส้นไหม และแกนงดงาม ให้ความรู้สึกถึง ความละเอียดอ่อน เป็นงานประณีตศิลป์ โทนสีทองอร่ามตา มีรูปทรงแบบใยแมงมุม ที่ขยันชักใยเพื่อดำรงชีพอย่างมุมานะ


คุณปิยวรรณ ลีละสมภพ
ผู้ช่วยกรรมาผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บ.สรรพสินค้าเซ็นทรัลจำกัด กล่าวว่า “นอกจากการสนับสนุนจัดงานประกวดนักออกแบบรุ่นใหม่ ปี 2550 ทั้ง 3 ประเภทข้างต้นแล้วทางเซ็นทรัล วาย คลับ ได้เสริมกิจกรรมพิเศษ คือประกวดออกแบบลายกราฟฟิก ลงบนเสื้อทีเชิ้ต โดยมีคอนเซ็ปท์ฉลอง 60 ปีเซ็นทรัล ในสไตล์ วาย คลับ ซึ่งนำผลงานชนะเลิศของนายนรฤทธิ์ เส้นเจริญ มาผลิตเป็นเสื้อที-เชิร์ต และนำมาจำหน่ายในงานนี้ รายได้มอบให้ศูนย์การศึกษาพัฒนาแฟชั่น และอัญมณี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) เพื่อเป็นเงินทุนการจัดงานของโครงการในปีต่อไป

 

Published by Jade-ThaiCatWalk

Editor - ThaiCatwalk.Com and Runway Photographer PR, Brand Acknowledgement, Advertorial