FashionShow : Contemporary Fashion Contest 2011
Brand : OCAC
Venue : Studio61
Date/Time : 14 July 2011, 16.00

Contemporary Fashion Contest 2011

Photo by Jirakrit (Tony)

“สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จัดโชว์ใหญ่แห่งปีเผยโฉม 10 ผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศของการประกวดในโครงการ ‘จากเส้นใยสู่ภูมิปัญญา จากภูมิปัญญาสู่อาภรณ์ (Contemporary Fashion Contest 2011)’ เพื่อเฟ้นหานักออกแบบหน้าใหม่ประดับแวดวงอุตสาหกรรมนักออกแบบและแฟชั่นของเมืองไทย ณ สตูดิโอ 61”

Click here to Google Photo Gallery

“อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคไม่นิยมเสื้อผ้ารูปแบบไทยๆ” คำถามนี้คงเป็นสิ่งที่หลายคนในปัจจุบันสงสัยและพยายามหาคำตอบกันอย่างต่อเนื่อง และจากการค้นคว้าหาคำตอบ สิ่งที่ได้ก็คือ รูปแบบของเสื้อผ้าที่คงเอกลักษณ์ของความไทยในอดีต ทำให้สวมใส่ยากในโอกาสปัจจุบันนั่นเอง นี่จึงเป็นที่มาของการจัดประกวดเพื่อเฟ้นหานักออกแบบหน้าใหม่ที่พร้อมจะนำเสนอรูปแบบของเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากวัสดุภูมิปัญญาไทยในรูปแบบที่เข้ากันกับยุคสมัยปัจจุบัน

นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดการประกวด “จากเส้นใยสู่ภูมิปัญญา จากภูมิปัญญาสู่อาภรณ์ (Contemporary Fashion Contest 2011)” ซึ่งเป็นครั้งแรกของสำนักงานฯ ที่จัดการประกวดเพื่อเฟ้นหาดีไซเนอร์หน้าใหม่ที่เปี่ยมด้วยความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ โดยได้เสียงตอบรับจากผู้ที่ให้ความสนใจในโครงการเป็นอย่างดี มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมชิงความเป็นที่หนึ่งกว่า 200 ชิ้นจากทั่วประเทศ  และได้มีการคัดเลือกผลงานจากแบบร่างแรกที่เข้าตากรรมการ จากนั้นจึงได้เชิญผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากแบบร่างเข้ารับการสัมภาษณ์และนำเสนอผลงานต่อเหล่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ จิตต์สิงห์ สมบุญ เฮดออฟดีไซเนอร์แห่ง Playhound by Greyhound (เพลย์ฮาวนด์ บาย เกรย์ฮาวนด์) และ Project 1.1 by Greyhound (โปรเจ็คต์ 1.1 บาย เกรย์ฮาวนด์), อารยา อินทรา แฟชั่นสไตลิสต์ชื่อดังและพิธีกรแห่งรายการเดอะ ดีไซเนอร์, พลัฏฐ์ ศรีลลิตสร้อย ดีไซเนอร์แห่ง Realistic Situation (รีลรีสติก ซิทูเอชั่น) Real (รีล) และ 4×4 Man (โฟร์บายโฟร์แมน), ชัย เจียมกิตติกุล ดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์ Chai (ชัย) และ Chai Gold Label (ชัย โกลด์เลเบล), ทเนศ บุญประสาน แห่งแบรนด์ Olanor (โอ้ละหนอ) และ Pretty Little Thing (พริทตี้ลิทเทิลติงส์)  จนได้ผู้เข้ารอบ 10 คนสุดท้ายเพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554 ณ สตูดิโอ 61 ซอยสุขุมวิท 61 ซึ่งงานจะเริ่มตั้งแต่เวลา 16:00 น. เป็นต้นไป

กรรมการแต่ละท่านให้มีทัศนคติต่อนักออกแบบและโครงการล่าสุดว่า

“หลากหลายทั้งรูปแบบและคุณภาพ มีศักยภาพน่าสนับสนุนและพัฒนาต่อ มีรูปแบบที่ชัดเจน แข็งแรง พอที่ทั่วโลกจะพูดได้ว่านี่คือ ‘ไทย’ ซึ่งต้องได้แรงสนับสนุน 100% ในทุกๆด้านอย่างถาวรจากทุกภาคส่วน” จิตต์สิงห์ สมบุญ ให้ความเห็น

อารยา อินทรา แฟชั่นสไตลิสต์คนเก่ง กล่าวว่า “รู้สึกดีมากที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับวงการศิลปะและการออกแบบ รวมทั้งยังสนับสนุนและส่งเสริมในการผลิตบุคลากรใหม่เพื่อประดับวงการและพัฒนาให้บุคลากรเหล่านั้นมีศักยภาพที่ดียิ่งขึ้นไป เห็นได้ชัดว่าผู้สมัครมีความพร้อมและเตรียมตัวมาดี ทำได้ถูกต้องตามโจทย์ที่วางไว้ ส่วนตัวเชื่อในความสามารถด้านการออกแบบของคนไทยว่าไม่แพ้หรือด้อยกว่าประเทศอื่น อยากให้ภาครัฐและเอกช่วยกันนำบุคลากรที่มีความสามารถไปต่อยอด ได้สร้างงานที่ตัวเองรัก ไม่ใช่ประกวดแล้วก็ปล่อยให้จบไป”

“แบบสเก็ตซ์คือการสื่อสารของแนวความคิด ซึ่งมีความสำคัญเท่าเทียมกับคอนเซ็ปต์ของตัวงาน ผู้เข้าประกวดจำนวนไม่มากที่ให้ความสำคัญในจุดนั้น สังเกตุได้ว่า ผู้เข้ารอบสุดท้ายจะมีความพร้อมและชัดเจนในเรื่องการเฟ้นหาวัสดุ แต่งานสเก็ตช์ที่สวยแต่ขาดตัวอย่างวัสดุจริง จึงดูไร้ประโยชน์ไปอย่างน่าเสียดาย” พลัฏฐ์ ศรีลลิตสร้อย แสดงมุมมองที่มีต่อนักออกแบบรุ่นใหม่

ชัย เจียมกิตติกุล รู้สึกว่านักออกแบบรุ่นใหม่ได้รับโอกาสที่ดี “เป็นเวทีที่เด็กรุ่นใหม่จะได้แสดงความสามารถผ่านสายตาของนักออกแบบและผู้คนที่คร่ำหวอดในแวดวงแฟชั่นระดับแถวหน้าของเมืองไทย”

“ชอบแนวความคิดที่ต้องการให้นักออกแบบไทยหรือคนไทยเข้าใจ ตระหนักและรู้จักคุณค่าของความเป็นไทยและสรรค์สร้างผลงาน ให้มีเอกลักษณ์ มีจุดยืน และพัฒนาสู่ตลาดสากลได้ แต่นักออกแบบไทยจะเก่งลำพังคนเดียวไม่ได้ ต้องไปพร้อมกับ เงินทุน ศักยภาพการผลิต นวตกรรม ระบบตลาด ช่างฝีมือแรงงาน การสนับสนุน เข้าใจอย่างลึกซึ้งและจริงใจจากหน่วยงานรัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง” ทเนศ บุญประสานให้มุมมองสำหรับนักออกแบบที่ต้องการพัฒนาตัวเองไปสู่ตลาดได้อย่างแท้จริง

สำหรับรอบตัดสิน ผู้เข้าประกวดแต่ละท่านต้องสร้างสรรค์ชุดคนละ 7 ชุด ต่อกรรมการในรอบชิงชนะเลิศ ประกอบด้วย กุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร แอล, กุสุมา ไชยพร บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร ฮาร์เปอร์ส บาซาร์, จิรวัฒน์ ศรีเลื่อนสร้อย บรรณาธิการฝ่ายแฟชั่น นิตยสาร ลิปส์, ณัฐ ประกอบสันติสุข ช่างภาพแฟชั่นชั้นนำของเมืองไทย, ประธาน ธีระธาดา บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Art4D, พัชทรี ภักดีบุตร ผู้ก่อตั้งแบรนด์ เอิบ, ภาณุ อิงคะวัต ครีเอทีฟไดเร็คเตอร์ แห่งแบรนด์ เกรย์ฮาวนด์, วัชรินทร์ ผ่องใส บรรณาธิการแฟชั่น นิตยสาร แอล, วรรณพร โปษยานนท์ ไดเร็คเตอร์ ออฟ มารังโกนี่ และ โดมุส อินฟอร์เมชั่น เซ็นเตอร์ ไทยแลนด์ และ ศิริชัย ทหรานนท์ ดีไซเนอร์-เจ้าของแบรนด์ เธียร์เตอร์

Published by Tony

Runway Photographer, Seminar & Group Photographer, Vegetarian Guy & Dhamma, Good Work, Nice Guy

4 replies on “Contemporary Fashion Contest 2011”

  1. This is Fashion Contest from OCAC, OCAC is Government organization.
    You may need to contact Designer directly for this dress.

Comments are closed.