FashionShow : Muslim Fashion in AEC
Brand : Multi Brands
Venue : CentralWorld
Date/Time : 18 June 2013, 18.00

Muslim Fashion in AEC

Click here to Google Photo Gallery

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) รุกหน้าดันประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมใน AEC เผยจับมือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) จัด “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเครื่องแต่งกายมุสลิมของไทยสู่ตลาดโลกผ่าน 3 กลยุทธ์ แก่ผู้ประกอบการเสื้อผ้ามุสลิมในไทย อาทิ รุกบริการให้คำปรึกษาแนะนำและการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คุณภาพ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และการบริหารจัดการองค์กร การสร้างช่องทางการตลาด ด้วยการให้ความรู้ด้านการตลาด และการแสวงหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ การจัดประกวดแฟชั่นมุสลิม ด้วยการนำเสนอผลงานเสื้อผ้ามุสลิมต้นแบบ สำหรับสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีต้นแบบจำนวน 50 ชุดต้นแบบ อย่างไรก็ตามประชากรมุสลิมทั่วโลกที่มีกว่า 1.62 พันล้านคน คิดเป็นจำนวน 1 ใน 4 ของโลก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีความพร้อมและกำลังซื้อสูง สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิมในประชาคมอาเซียนที่มีความต้องการสูงขึ้น 10 – 20% ทุกปี โดย อินโดนีเซีย เป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ รองลงมาคือ มาเลเซีย ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อประตู AEC เปิดขึ้น จะทำให้โอกาสทางการตลาดของผู้ประกอบการไทยเพิ่มมากยิ่งขึ้น

โดยโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมจัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2556 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ได้ที่สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 กล้วยน้ำไท คลองเตย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2367 8270-2 , 8201 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th

นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันประชากรชาวมุสลิมทั่วโลกมี 1.62 พันล้านคน หรือ 1 ใน 4 ของประชากรทั่วโลก ในเอเชียมีชาวมุสลิมกว่า 320 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่มประชากรกลุ่มใหญ่ของโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นกลุ่มประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดีเพราะเป็นแหล่งพลังงานของโลก จึงมีความพร้อมและกำลังซื้อสูง นิยมบริโภคสินค้าระดับพรีเมี่ยมและคำนึงถึงแฟชั่นมาก จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทย หากมีข้อมูลทางการตลาด มีความรู้เรื่องการออกแบบเข้าใจ ประเพณีและวัฒนธรรมก็จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคและความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ได้ อันจะส่งผลถึงรายได้และความอยู่รอดของผู้ประกอบการ และยังช่วยเหลือเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศได้อีกด้วย

นายโสภณ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานแรกที่ให้ความสำคัญเรื่องเครื่องแต่งกายมุสลิมด้วยการส่งเสริมและพัฒนาด้านการออกแบบ การบริหารจัดการ ด้านการตลาด ด้านการผลิต ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้และให้เป็นผู้นำตลาดในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เราจึงได้กับร่วมกับมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการผลิตเครื่องแต่งกายมุสลิมผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งการเสริมสร้างช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเป็นการยกระดับสินค้าแฟชั่นมุสลิมให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยหวังพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างบุคลากรเตรียมความพร้อมสู่ตลาด AEC

สรุปรายชื่อผู้ชนะการแข่งขัน “กิจกรรมการประกวดออกแบบและแฟชั่นเครื่องแต่งกายมุสลิม

ประเภทชุดทำงาน
รางวัลชนะเลิศ คุณสุลกิฟลี มะเจ๊ะหะ
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 คุณพิจิตรา หลังปูเต๊ะ
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 คุณรติยา วงศ์เสงี่ยม
รางวัลชมเชย คุณชุลีกร จันทรทวีกุล และ คุณปภาพิณท์ เพ็งตะโก

ประเภทชุดลำลอง
รางวัลชนะเลิศ คุณจันทนา พิมพิสัย
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 คุณธีรเมธ ลีวัน
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 คุณชาย เนตสุวรรณ์
รางวัลชมเชย คุณซาน่า สะและหมัด และ คุณอธิกุล ธีรวงศ์สุวรรณ

Published by Banhan

Runway & Event Photographer, Kid Lover Canon 1D mk III, 7D and Prime Lens