FashionShow : Fashion V Together, the Student Fashion Showcase #3
Academy : 6 Universities
Venue : Thanyaburi University (RMUTT)
Date/Time : 13 February 2014, 17.00

Fashion  V  Together, the Student Fashion Showcase #3

Click here to Google Photo Gallery

โครงการเสริมสร้างเครือข่ายทางการออกแบบแฟชั่นในระดับอุดมศึกษา “Fashion  V  Together the Student Fashion Showcase” ครั้งที่ 3

ด้วยกลุ่มคลัสเตอร์แฟชั่น และสิ่งทอ ได้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานทางแฟชั่น และโครงการนำเสนอแสดง แฟชั่นโชว์ของนักศึกษาในระหว่างเรียน รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน ซึ่งจะนำมาด้วยชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือให้กับมหาวิทยาลัยอีกทั้งเพิ่มศักยภาพให้นักศึกษา จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนด้านแฟชั่นและสิ่งทอ  ดังต่อไปนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการประมวลผลความรู้ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานสู่สาธารณชน  ซึ่งถือเป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จ อีกขั้นของนักศึกษา  ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครมีการจัดตั้งคณะที่มีการจัดการเรียนการสอนทางการออกแบบแฟชั่นอยู่จำนวนมาก ซึ่งในแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นจะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะทางสาขาวิชาและนักศึกษาในแต่ละมหาวิทยาลัย มีความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ ผลงานทางแฟชั่นให้มีผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและการนำเสนอผลงานแฟชั่นที่ได้สร้างสรรค์ในที่สาธารณชนนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงให้เห็น ถึงความสามารถในตัวบุคคล ซึ่งในลักษณะของการจัดแสดงผลงาน หรือการแสดง แฟชั่นโชว์นั้น มีการดำเนินการหลายขั้นตอนและใช้ผู้ร่วม ทำโครงการเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น การออกแบบและตัดเย็บชุดการจัดสร้างเวทีแฟชั่นโชว์  การจัดทำสูจิบัตรและการจัดหาจัดจ้างนางแบบ นายแบบ เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินการทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ของแต่ละมหาวิทยาลัยซึ่งหากเป็น การดำเนินโครงการทั้งหมดนั้นจะต้องมีการวางแผนงบประมาณที่สูงมากหากต้องการให้ผลงานมีคุณภาพและมีความโดดเด่น เป็นที่ประทับใจ ให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน

ทั้งนี้หากแต่ละมหาวิทยาลัยที่มีวาระเวลาในการนำเสนอผลงานแฟชั่นโชว์ที่ใกล้เคียงกัน ได้ร่วมสร้างพันธมิตรเครือข่าย ทางการออกแบบ  ร่วมมือกันจัดทำการนำเสนอผลงานการแสดงแฟชั่นโชว์ร่วมกันและร่วมกันวางแผน งานการดำเนินการทั้งหมด อันจะทำให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการในแต่ละครั้ง อีกทั้งยังเกิดมิติ ทางการเรียนรู้ใหม่ให้นักศึกษาได้ทำความรู้จัก เกิดการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็นและประสบการณ์ความรู้ระหว่างกัน มุ่งให้นักศึกษาได้รับผิดชอบต่อหน้าที่และตระหนักถึง ความเป็นผู้มีจรรยาบรรณของนักออกแบบ ทำให้เกิดเป็นเครือข่าย ทางแฟชั่น ในระดับอุดมศึกษาซึ่งถือเป็นการสร้างการเรียนรู้จากทฤษฎี ในชั้นเรียนสู่การปฏิบัติจริงในสายอาชีพ  โดยมีการหมุนเวียนกันเป็นศูนย์กลางเครือข่ายเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ ของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งมีวาระประจำปี นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรทางด้านออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาได้รู้จัก เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกด้วย

โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้รับเป็นประธานในการจัดงาน การเสริมสร้างเครือข่ายการออกแบบทางแฟชั่นในระดับอุดมศึกษาซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญอีกทางหนึ่ง ที่จะสนับสนุนองค์กร และสายงานร่วมให้เกิดความแข็งแรงและมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มนักศึกษา ในเครือข่าย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ควรแก่การปลูกฝังอย่างต่อเนื่องเพื่อสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีความ ก้าวหน้าได้มากยิ่งขึ้น

-กลุ่มคลัสเตอร์แฟชั่นและสิ่งทอ สาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT)

-กลุ่มคลัสเตอร์แฟชั่นและสิ่งทอ สาขาการออกแบบแฟชั่นและศิลปะสิ่งทอ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT), Click เพื่อชม

-สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสินค้าแฟชั่น คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon (RMUTP)

-สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย  คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, Click เพิ่อชม

-สาขาการออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น  คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, Rajamangala University of Technology Krungthep (RMUTK)

-ภาควิชาการออกแบบและธุรกิจแฟชั่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, Dhurakij Pundit University (DPU)

-สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, Kasem Bundit University (KBU)

-ภาควิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Thammasat University (TU)

ราตรีสวัสดิ์ (RA-TEE-SA-WAD) ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ภาพสะท้อนของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจมาพร้อมความรุนแรง การสูญเสียที่โหมกระหน่ำปลายด้ามขวาน ในใจของใครหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าภายใต้แววตาที่ข่มขื่น ลึกลงไปยังแฝงไปด้วย ความฝัน ความหวัง ความสดใส ความอบอุ่น จนบางครั้งอาจลืมไปแล้วว่าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีธรรมชาติ ประเพณี วันฒนธรรม ที่สวยงาม และผู้คนที่อยู่กันอย่างพี่น้อง รักความสงบสุข ความสามัคคี นักศึกษาสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและการจัดการสินค้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี จึงเป็นตัวแทน เผยความรู้สึกของพี่น้องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ถูกซ่อนอยู่ภายในใจ ผ่านผืนผ้าปะลางิงที่สวยงาม มาสร้างสรรค์ ผลงานสะท้อนวิถีชีวิต โดยใช้สีจากท้องทะเล ท้องฟ้ายามค่ำคืน และลายพรางประยุกต์กับลายผ้าปะลางิง ซึ่งเป็นลายผ้า โบราณของจังหวัดปัตตานี เพื่อสร้างรอยยิ้ม และความภูมิใจกลับคืนสู่ชาวบ้าน รวมถึงการรับบริจาคน้ำใจจากทุกท่าน เพื่อส่งไปเป็นกำลังใจให้ผู้กล้า 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่คอยปกป้องชาวบ้าน และคนเมืองอย่างเรา ให้นอนหลับฝันดีทุกคืน

ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นเเละการจัดการสินค้า ปี3

NGAN-WAD มนต์เสน่ห์แห่งสีสันและความรื่นเริง เต็มเปี่ยมไปด้วยภาพอารมณ์ความหวัง การสิ้นสุดการรอคอยของเด็กๆ และความสมใจของบรรดาผู้คนที่หลั่งไหลแห่แหนกันมาร่วมงานเทศกาลแห่งความสุข สนุกสนาน ภาพแห่งความประทับใจ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ รวมไปถึงบรรยากาศอันดื่มด่ำ ภาพผู้คนเล่นล้อหยอกเย้าเคล้าแสงไฟ ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่ได้มาจากเทศกาลรื่นเริงตามที่กล่าวถึงซึ่งก็คือ “งานวัด” ที่ใครหลายๆ คนคงต่างคุ้นเคยกันดี เมื่อเอ่ยถึงงานวัดก็อดที่จะนึกถึง สีสัน ความสนุกสนาน เสียงหัวเราะ หรือแม้กระทั่งความหวัง และหวนรำลึกถึงวิถีชีวิตแห่งวันวาน สัมผัสความสนุกสนานรื่นเริงได้อีกครั้ง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยี สาขาออกแบบแฟชั่น และศิลปะสิ่งทอ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 

Graffiti Voyage of Art

การตะโกนก้องร้องหาเสรีภาพของคนที่ไร้ตัวตน Graffiti ที่ทำงานบนพื้นที่กำแพงสาธารณะ และสถานีรถไฟใต้ดิน จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นศิลปร่วมสมัยและเข้าไปในวงการธุรกิจที่ เกิดขึ้นในนิวยอร์ก ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 1960 – ต้นทศวรรษที่ 1970 จนถึงปัจจุบัน ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม-วัฒนธรรม-การเมือง รวมทั้งการต่อต้านการครอบงำของวัฒนธรรมกระแสหลัก ซึ่งกล่าวได้ว่า Graffiti เป็นการเติมเต็มเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของตัวมันเองและเป็นการสะท้อนปัญหา สังคมเมืองในรูปแบบของการแสดงออกของคนที่ด้อยกว่า จึงนำอีกแนวคิดทางศิลปะในงานประเภทนี้มาใช้ Collection การใช้สีสันที่มีจังหวะหนักเบา หรือความขัดแย้งในตัวผลงานกับแต่ละสถานที่ จึงได้ทำลวดลายบนบนผ้าแล้วนำตัดต่อวางรูปใหม่ลงบนชุดทั้งมีการทำป๊อปอัฟให้ ดูมิติ งานปักเพิ่มรายละเอียด

 

Published by Jade-ThaiCatWalk

Editor - ThaiCatwalk.Com and Runway Photographer PR, Brand Acknowledgement, Advertorial