“ชุดช้าง ดิ ไอคอน ออฟ สยาม (Chang the icon of Siam)” ชนะเลิศออกแบบชุดประจำชาติ 2018 ให้ นิ้ง-โศภิดาอวดโฉม บนเวทีมิสยูนิเวิร์ส 2018

กองประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ประกาศผลงานชนะเลิศการออกแบบ ชุดประจำชาติประจำปี 2018 ภายใต้แนวคิด “Creative Thai” ปีนี้มีผลงานมีส่งเข้าร่วมประกวด จำนวน 231 ผลงาน คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของกองประกวดฯ ได้คัดเลือกผลงานโดดเด่นที่เข้ารอบ สุดท้าย 7 ผลงาน เพื่อให้เจ้าของแบบได้มานำเสนอแนวคิดในการออกแบบพร้อมเสนอวัสดุในการตัดเย็บด้วยตนเอง

Click here to Google Photo Gallery

ผลงานที่เข้ารอบสุดท้าย 7 ผลงาน จาก 6 นักออกแบบ คือ

1. “Damnoen Saduak Amazing Thailand” ออกแบบโดย นายศิวรุฬห์ แสนสุข อาชีพ ดีไซน์เนอร์

2 . “งานวัด Siam Carnival” ออกแบบโดย นายณัฐพล ทองฟู อาชีพ นักออกแบบกราฟฟิก

3 . “Songkran 4.0” ออกแบบโดย นายอำพล เอกมหาชัย อาชีพ ฟรีแลนซ์

4. “Songkran festival” ออกแบบโดย นางสาวกานต์ธิดา ประทุมนันท์ อาชีพครูสอนศิลปะ

5 . “Chang the icon of Siam” ออกแบบโดย นายธีร์ ผาสุข อาชีพ สไตล์ลิสต์

6. “เงาะถอดรูป (Beauty inside of thailand)” และ

7. “ยักษ์ ณ สยาม (Giant of Thailand) ออกแบบโดย นายสุริยา สุขยี่ อาชีพ นักออกแบบอิสระ

คณะกรรมการตัดสินในปีนี้มี 6 ท่านคือ อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2557 รองศาสตราจารย์ เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอรรถพล วรรณกิจ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงาน ลพบุรี นางนงนาถ จิรกิติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนริโกะ จำกัด นางชิชญาสุ์ กรรณสูต ผู้จัดการกอง ประกวดฯ และรองกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท จันทร์ 25 จำกัด โดยมี โศภิดา กาญจนรินทร์ มิสยูนิเวิร์ส ไทยแลนด์ 2018 ร่วมพิจารณา

เกณฑ์การให้คะแนนประกอบด้วย แนวคิดในการออกแบบและแรงบันดาลใจ สิ่งที่สื่อถึงความเป็นไทย ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นไปได้จริงในการตัดเย็บ และผลการตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์ก็ให้ชุด ช้าง ดิ ไอคอน ออฟ สยาม (Chang the icon of Siam)ออกแบบโดย นายธีร์ ผาสุข อาชีพ สไตล์ลิสต์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยจะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท และหากได้รับรางวัล ชุดประจำชาติยอดเยี่ยมในการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2018 จะได้รับรางวัลอีก 30,000 บาท

กองประกวดฯจะดำเนินการตัดเย็บชุด ช้าง ดิ ไอคอน ออฟ สยาม (Chang the icon of Siam) ให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้ โศภิดา กาญจนรินทร์ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2018 แสดงให้สื่อมวลชนชมในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้


ชุด Damnoen Saduak Amazing Thailand
ผลงานออกแบบโดย นายคุณศิวรุฬห์ แสนสุข อายุ 29 ปี อาชีพ Designer
“ความเป็นไทย” ผู้ออกแบบนึกถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำในเชิง การสัญจรและเชิงการค้า บรรพบุรุษทางการค้าที่เก่าแก่ของไทย คือ “ตลาดน้ำ” และตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงของไทยก็คือ “ตลาดน้ำดำ เนินสะดวก“ แหล่งท่องเที่ยวของไทยที่ชาวโลกรู้จัก Guide Book ทั่วโลกต่างพากันพร้อมใจใช้ภาพของ “ดำเนินสะดวก“ ในการสื่อถึง ประเทศไทย
เอกลักษณ์ของดำเนินสะดวกคือการค้าขายแลกเปลี่ยนผักผลไม้ งานออกแบบนี้จึงเลือกที่นำเสนอผลไม้ไทยที่มีชื่อเสียง 3 ชนิด คือ “ทุเรียน” ราชาแห่งผลไม้ (ผลไม้ไทยที่มีชื่อเสียงระดับ โลก) “มังคุด ”ราชินีผลไม้เปรียบเสมือนตัวแทนของ Miss Universe Thailand และ “มะม่วง” ผลไม้มงคลและเป็นหนึ่งในส่วนประกอบในเมนู ยอดฮิตที่ชาวต่างชาติชื่นชอบ การนำเสนอรูปแบบการค้าขายผลไม้นี้ยังเป็นการตอกย้ำว่าประเทศ ไทย คือ ครัวโลกโดยแท้จริงรวมถึงการสวมใส่ “งอบ” เอกลักษณ์ที่ เคียงคู่ตลาดน้ำ และการดึงเอาเอกลักษณ์ส่วนหัวเรือของ
“เรือสำปั้น” ที่ใช้พายขายสินค้ามาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ ชุดประจำชาติ และตอกย้ำความเป็น “Pop Culture” โดยผสมผสาน ระหว่าง “ ศิลปะ “ และ “ วัฒนธรรม “ นำองค์ประกอบของตลาดน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นชินมาตีความใหม่ให้มีความน่าสนใจและ สนุกสนานโดยใช้สีสันแนว POP ART ยุค60s (1960) โทนสีที่สดใส ตัดกันรุนแรง ลวดลายกราฟฟิก สื่อถึง “Pop Culture“ ของสยามใน ยุคนั้นเด่นชัด กลมกลืนสอดแทรกเข้ากับวัฒนธรรมของไทยได้อย่าง กลมกล่อมจึงเกิดแนวความคิดที่จะเอา “ วัฒนธรรมทางการค้าทางน้ำ“ มาหลอม รวมกับ ศิลปะ “ Pop Art “ ให้เกิดเป็น “Thailand Pop Culture” เพื่อสร้างการรับรู้ที่สดใหม่ในรูปแบบอันแปลกตา และ เป็นการร่วมสมโภช 150 ปี ดำเนินสะดวก ในปีนี้พุทธศักราช 2561 ซึ่งเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ ที่บ่งถึงวิถีชีวิต และอาชีพอันเก่าแก่ของคนไทย ผ่านวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงของไทยแก่สายตาชาวโลก

ชุด งานวัด Siam Carnival
ผลงานออกแบบโดย นายณัฐพล ทองฟู อายุ 26 ปี อาชีพ เจ้าของกิจการร้านป้ายและสื่อโฆษณา หรือ นักออกแบบกราฟิก
“งานวัด” เป็นงานเทศกาลที่สร้างความประทับใจ ทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ เพราะได้รวมเอาความรัก ความอบอุ่น ความสนุกสนาน ไฟ แสง สี มาแสดงให้เห็น ถึงความตื่นเต้นและ สร้างความประทับใจ ให้ผู้ไปเยือน อีกทั้งงานวัดยังเป็นงาน ที่รวบรวมวัฒนธรรม ประเพณี การละเล่น ดั้งเดิมของคนไทย สื่อให้เห็นความเป็นไทย ได้เป็นอย่างดี จากแนวคิดนี้จึงทำให้ เกิดผลงาน ชุด “งานวัด Siam Canival ” ที่ผสมผสานรากเหง้า วัฒนธรรมการแต่งกายของ “หญิงไทย” กับแฟชั่นสมัยใหม่ และยังนำเสน่ห์ของชิงช้าสวรรค์เครื่องเล่นที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของานวัด ความสนุกสนาน ทีสามารถหมุนได้ และ มีไฟกระพริบเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับชุด รวมไปถึง หนังกลางแปลงและการละเล่นต่างๆ ในงานวัดมาเติมเต็ม ให้ชุดประจำชาติ ของประเทศไทยชุดนี้เป็นชุดที่น่าสนใจ

ชุด Songkran 4.0
ผลงานออกแบบโดย นายอำพล เอกมหาชัย อายุ 24 ปี
แรงบันดาลใจจากการล้อมรวมวัฒนธรรมเข้ากับโลกยุคโลกา ภิวัตน์โดยการนำวัสดุที่สื่อถึงการพัฒนาเช่นแผงวงจรไฟฟ้า LED หลอมรวมเข้ากับประเพณีสงกรานต์มาปรับเปลี่ยนตามทัศนะ ของผู้ออกแบบโดยการตีโจทย์ว่าเมื่อประเทศไทยกำลังพัฒนา โดยมีการปรับเปลี่ยนทางความเป็นอยู่ในยุคปัจจุบันวัฒนธรรม แบบใหม่ที่เกิดจากการล้อมรวมอดีตกับปัจจุบันย่อมเกิดขึ้นจึงได้ดึงประเพณีสงกรานต์ซึ่งชาวต่างชาติรู้จักกันอย่างมากในความ เป็นสงกรานต์ของคนไทยที่มีความสนุกสนานในคราวเดียวกัน ก็สวยงามจึงนำมาปรับเปลี่ยนตามแนวคิดให้เป็นสงกานในรูปแบบโลกที่พัฒนาไปกับเทคโนโลยีอาจกล่าวได้ว่าเป็นการผสม ความแข็งกระด้างเข้ากับความอ่อนช้อยทางวัฒนธรรมไทย

ชุด Songkran festival
ผลงานออกแบบโดย นางสาวกานต์ธิดา ประทุมนันท์ อายุ 23 ปี อาชีพ ครูสอนศิลปะ
เทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่ไม่เพียงแค่ขึ้นปีใหม่ของคนไทยแต่ เป็นเสมือนเทศกาลที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกให้มามีส่วนร่วมใน เทศกาลแห่งความสุขนี้จัดขึ้นในช่วงเมษายนหน้าร้อน ของทุกปี
และแนวคิดในการออกแบบชุดครั้งนี้จึงอยากนำเสนอชุดเล่น สงกรานต์ในรูปแบบใหม่ที่ให้ความรู้สึกสนุกสนานสวยงามและ แสดงถึงความเป็นไทยนั่นคือยากที่ใครใครเห็นต่างก็รู้จัก
จึงนำมาประยุกต์ให้มีความนำสมัยมากขึ้นและสามารถที่จะสวมใส่ ชุดนี้ไปอวดสายตาชาวโลกได้การสื่อสารของชุดนี้ไม่ใช่ เพียงเดินโชว์เท่านั้นแต่ชุดนี้สามารถเล่นและสื่อสารกับผู้ชม บนเวทีได้อีกด้วย

ชุด Chang the icon of Siam
ผลงานออกแบบโดย นายธีร์ ผาสุก อายุ 34 ปี อาชีพ Stylist
ช้างคือความเป็นไทยวัฒนธรรม อารยธรรมและวิถีของคนไทย ช้างผูกพันกับคนไทยมาอย่างยาวนานในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตช้างได้ร่วมการสร้างชาติกู้บ้านกู้เมือง ไม่ว่ายามสุขหรือยาม สงบจบจนถึงปัจจุบันช้างยังคงอยู่ในวิถีของชาวไทย อีกทั้งยังเป็น สัญลักษณ์ของคนไทยเมื่อทุกคนนึกถึงสัตว์ประจำชาติไทยก็จะนึก ถึงช้างเป็นอย่างแรก ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติก็ตาม ที่สำคัญเรายังใช้ช้างเป็นทูตวัฒนธรรมในการเจริญสัมพันธไมตรี ระหว่างประเทศอีกด้วย
ดังนั้นจึงนำแรงบันดาลใจจากช้างมาสร้างสรรค์ชุดประจำชาติไทย ในรูปแบบใหม่ที่มีความร่วมสมัยแต่ไม่ทิ้งเอกลักษณ์ความเป็นไทย เปรียบเสมือนกับผู้หญิงไทยที่มีความแข็งแกร่งสวยงามอ่อนโยนและทันสมัย จึงนำโครงสร้างของช้างมาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างสรรค์ ชุดช้างคู่แผ่นดิน โดยผสมผสานความเป็นไทยและความเป็นสากล เข้าด้วยกันโดยใช้โครงเสื้อแบบชุดไทยพระราชนิยมผสมผสาน เทคนิคการปักลายไทยแบบสองมิติและเทคนิคทรานส์ฟอร์เมอร์จากชุดหนึ่งเป็นอีกชุดหนึ่ง อีกทั้งนำเทคนิคแสงสีเสียงมาเป็นส่วน ประกอบของชุดอีกด้วย

ชุด เงาะถอดรูป (Beauty inside of thailand)
ผลงานออกแบบโดย นายสุริยา สุขยี่ อายุ 25 ปี
อาชีพ ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนบริษัทเอกชน/นักออกแบบอิสระ
จากแรงบันดาลใจในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย(รัชกาลที่ 2) เรื่อง สังข์ทอง โดยหยิบยกตัวละครเอก สำคัญอย่าง พระสังข์-เจ้าเงาะ ตัวละครที่แฝงข้อคิดในเรื่องของการ มองคนให้มองที่ภายใน ใช่เพียงรูปลักษณ์ (Beauty inside) ตรงกับภาพจำที่แฟนๆ นางงามยกให้กับ นิ้ง โศภิดา กาญจนรินทร์ (Miss universe Thailand 2018) ที่ถ่ายทอดพลังของผู้หญิง (Empowered women) ที่ไม่ใช่เพียงสวยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสร้างคุณค่า พลังความดีให้เกิดขึ้น จากแรงบันดาลใจดังกล่าว นำไปสู่ผลงานการออกแบบชุดประจำชาติไทยในชื่อชุด “เงาะถอดรูป (Beauty inside of Thailand)” ตัวชุดต้องการสื่อให้เห็นสองชุดในชุดเดียว โดยชุดแรกคือชุดเจ้าเงาะ สวมศีรษะหัวเจ้าเงาะ มีผ้าคลุมสีดำ (อ้างอิงจากชุดหุ่นกระบอก เจ้าเงาะ) และเมื่อปลดผ้าคลุมออกเผยให้เห็นชุดที่สองคือชุดพระสังข์ เป็นชุดยืนเครื่องตัวพระดัดแปลงจากชุดละคร (อ้างอิงจากชุดละคร พระสังข์) สร้างความโดดเด่นด้วยท่าร่ายรำกระบอง พร้อมพวงมาลัย ที่ได้รับจากการเสี่ยงทายของนางรจนา “เงาะถอดรูป (Beauty inside of Thailand)” ร่วมเทิดพระเกียรติในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ 2) ยุคทองของวรรณคดีไทย

ชุด ยักษ์ ณ สยาม
ผลงานออกแบบโดย นายสุริยา สุขยี่ อายุ 25 ปี อาชีพ ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนบริษัทเอกชน /นักออกแบบอิสระ
ภาพจำของนักท่องเที่ยวเมื่อครั้งมาเยือนประเทศไทย ผู้เปรียบเสมือน ทูตแห่งการต้อนรับ ทั้งยังแฝงไว้ซึ่งคติ ความเชื่อเรื่อง ทวารบาล ผู้ปกปักรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้ เราจะพบเห็น “ยักษ์ไทย” ในสถานที่ สำคัญๆ อาทิเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ ด่านแรกที่ที่ยักษ์ไทยทำหน้าที่ ต้อนรับเหล่านักท่องเที่ยว วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แหล่งท่องเที่ยว ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่ที่รวบรวมยักษ์ไทยไว้มากที่สุดในประเทศ ตลอดจนเราจะพบเห็น “ยักษ์ไทย” ในศิลปะไทยอื่นๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่า “ยักษ์ไทย” เป็นสิ่งมหัศจรรย์ Unseen Thailand และน่าจะบ่งบอกเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ความเป็นตัวตนของประเทศ ไทยได้เป็นอย่างดี จากแนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการออกแบบชุดประจำชาติไทย ในชื่อชุด “ยักษ์ ณ สยาม (Giant of Thailand)” เพื่อให้ยักษ์ไทยทำ หน้าที่ในการต้อนรับมิตรประเทศและเหล่า สาวงามในการ ประกวด Miss universe 2018 ที่จะจัดขึ้นในประเทศไทยในปีนี้ รูปแบบ โทนสี ของชุดดัดแปลงและลดท่อนรายละเอียดโดยอ้างอิงจาก ยักษ์ปูนปั้น ผนวกกับลวดลายประดับกระจกของยักษ์รอบฐานเจดีย์พระศรีรัตน์ ตัวชุดโดดเด่นด้วยลวดลายปูนปั้นประดับกระจก ในที่นี้จะใช้เทคนิค การทำประเก็นของไทยสร้างลวดลาย กอปรกับการติดกระจกสี คริสตัลสี สร้างความแวววาว จำลองลวดลายดังกล่าว สร้างความ สะดุดตา ตื่นเต้น และน่าประทับใจด้วยผ้าคลุมประดับกระจก โดยเมื่อปลดผ้าคลุมออกเผยให้เห็นภายในตัวชุดที่วิจิตรงดงาม หน้ากายักษ์ที่ดุดัน ขึงขลัง และกระบองอาวุธคู่กายที่น่าเกรงขาม ก่อให้เกิดภาพจำของ “ยักษ์ไทย” ขึ้นมาในทันที

Published by Banhan

Runway & Event Photographer, Kid Lover Canon 1D mk III, 7D and Prime Lens