Fashion Show : Charm of Thai Textiles เสน่ห์ผ้าทอ เสน่ห์ผ้าไทย
Brand : มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
Venue : หอรัษฎากรณ์พิพัฒน พระบรมมหาราชวัง
Date / Time : 27 August 2009 ,15.00

Charm of Thai Textiles Highlighted at Support Foundation Exhibition

As part of its ongoing effort to preserve and promote the beauty of traditional Thai woven textiles, the Support Foundation of Her Majesty Queen Sirikit recently organised the “Charm of Thai Textiles” exhibition at Hor Ratsadakorn Pipat Hall in the Grand Palace compound. Presiding at the opening on Thursday 27 August 2009 at 3:00pm was Thanpuying Jarungjit Teekara, H.M. The Queen’s Deputy Private Secretary.
The Support Foundation was established in 1976 by H.M. the Queen in order to help poor villagers in remote areas earn a supplementary income to their seasonal farming efforts, as well as to preserve the local art that was part of the traditional lifestyle for future generations. It also tied in with H.M. the King’s philosophy of self-sufficiency.

Click here to Google Photo Gallery

The work of the Support Foundation began with educating and training farmers and other low-income villagers. Raw material was provided for them, and the Foundation also bought the finished products from the villagers, and helped market the products both locally and overseas, creating a name for the Support Foundation crafts around the world.The Support Foundation Shop was also opened to provide another outlet for the products.

The Support Foundation Shop, Grand Palace Branch, is located in Hor Ratsadakorn Pipat Hall, next to the Viset Chaisri Gate. It was opened in May 2008 as part of the Support Foundation Museum which will open its doors to the public in 2010. The aim of the shop is to preserve Thai folk handicraft products as well as to promote an awareness of Thai art and culture. The shop is designed as a museum gallery to attract tourists, both Thai and foreign, who visit the Grand Palace each day. Here they can learn about the background of the Support Foundation and the work of H.M. the Queen, and see the various products made of different materials, from the Lipao vine to silverware and basketry.

Today, the Support Foundation Shop has introduced modern design concepts to its products, bringing out two different lines: Classic Traditional, and New Design. The shop’s conceptual design consultant is Ploenchan Runprapan, who is responsible for the concept behind each new collection.

The latest collection, “Majestic Motive”, draws its inspiration from the ceramic tiles that are used to decorate chapels, walls, stupas, bell towers and demons that stand guard within the Temple of the Emerald Buddha. These patterns, with such evocative Thai names as Lai Dok Prajam Yarm, Lai Takai, Lai Phum Khao Bin, Lai Krajang Ta Oy, Lai Krajang Patiyan, Lai Kam Pu and Lai Kaew Ching Duang, can be traced back to the first reign of the Rattanakosin Period.

These patterns appear on both silk and cotton, which have been turned into various lifestyle products such as home decor items, clothes, accessories, bags, stationery and souvenir items. The shop also handles commissions for gift products for festive occasions such as weddings or the new year.

After the opening ceremony of the exhibition which was presided over by Thanpuying Jarungjit Teekara, guests enjoyed a fashion show of outfits made of Support Foundation fabrics designed by 30 of Thailand’s top designers: Kai, Tirapan, Pisit, Gina, Metta, Soda, Theatre, Fly Now, Asava, Greyhound, Issue, Senada Theory, Disaya, AB Normal, Chai, Vatit Itthi and Vick Teerut. Gracing the catwalk were some of Thailand’s top celebrities: Tipanan Srifuengfung, Prae Sarasin, Jutawan Krairiksh, Yupapak Vajrabhaya, Piyavara Teekara, Kitivichaya Watcharothai, Unchisa Vacharaphol, Pilomrat Isvarphornchai, Pimpayap Srikarnchana, Chulalux Piyasombatkul, Pitchana Sa-Nguansat, Parama Raiva, Athidthan Noncie, Achiraya Prasutanond and Leila Soontornvinate
The Charm of Thai Textiles exhibition also products made from hand-woven fabrics by Support village members, but given a modern twist. A traditional weaving demonstration also gave guests an insight into the old way of life that has been part of the village tapestry for generations. There were hilltribe embroidered products, mudmee tie-dyed fabrics from the Tai ethnic groups in the northeast, Pha Khid with its double weft technique, as well as the textured Pha Jok. The exhibition continues until the end of October this year.

Charm of Thai Textiles – เสน่ห์ผ้าทอ เสน่ห์ผ้าไทย

ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้เกียรติ เป็นประธานงาน “เสน่ห์ผ้าทอ เสน่ห์ผ้าไทย” นิทรรศการที่จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ และความงดงามของสิ่งทอต่างๆ ที่ทอโดยสมาชิกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ผ่านการออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ชื่อดังทั้ง 30 ท่าน และแนะนำสินค้า คอลเล็กชั่นล่าสุด ที่ร้านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ หอรัษฎากรณ์พิพัฒน พระบรมมหาราชวัง ในวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2552 เวลา 15.00 น.

มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 ด้วย พระราชปณิธาน อันแน่วแน่ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการส่งเสริมอาชีพให้กับ ราษฎรที่ ยากไร้ในชนบทให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปะพื้นบ้าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตแบบไทย เพื่อให้เยาวชนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้ และสืบทอดต่อไป อีกทั้งยังเป็นการสอดคล้องกับพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อให้ประชาชนชาวไทยสามารถพึ่งตัวเองได้

โดยการดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เริ่มจากการให้ความรู้ และอบรมฝึกฝนด้านอาชีพให้กับชาวนาชาวไร่ และราษฎรผู้มีรายได้น้อย โดยการจัดหาวัตถุดิบ การจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากราษฎร รวมถึงการจัดหาตลาด ทั้งใน และต่างประเทศ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม พื้นบ้านของมูลนิธิฯ มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักทั่วโลก รวมทั้ง ได้จัดตั้ง ร้านมูลนิธิศิลปาชีพฯ ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า

ร้านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ สาขาพระบรมมหาราชวัง ซึ่งตั้งอยู่ใน อาคารหอรัษฎากรณ์พิพัฒน ในพระบรมมหาราชวัง ด้านประตูวิเศษไชยศรี ได้เปิดทำการตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2551 โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ผ้า ของมูลนิธิฯ ซึ่งจะเปิดดำเนินการในปี 2553 มีวัตถุประสงค์ มุ่งเน้นการอนุรักษ์ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านแบบไทย รวมถึงเผยแพร่องค์ ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมของไทย จึงออกแบบตกแต่งร้านในรูปแบบ ของมิวเซียมแกลลอรี่ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ชาวไทย และชาวต่างชาติที่เข้ามาเยี่ยมชมพระบรมมหาราชวัง ที่จะสามารถเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของ มูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพฯ และ พระกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ รวมถึงความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากวัสดุประเภทต่างๆ อาทิ ย่านลิเภา เครื่องเงิน เครื่องจักสานต่างๆ ในปัจจุบันร้านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ได้มีการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม และมีความทันสมัยมากขึ้น สินค้าในร้านจึงมี 2 แบบด้วยกันคือ แบบ คลาสสิค (Classic Traditional) และแบบร่วมสมัย (New Design) โดยมี เพลินจันทร์ รุ่นประพันธ์ เป็นที่ปรึกษา ด้านการออกแบบ กำหนดเรื่องคอนเซ็ปต์ของสินค้า ในแต่ละคอลเล็กชั่น ซึ่งคอลเล็กชั่นใหม่ล่าสุด มีชื่อว่า “Majestic Motive” ได้แรงบันดาลใจมาจาก ลวดลายประดับบนกระเบื้องเคลือบ ที่ใช้ประดับตกแต่งพระอุโบสถ กำแพงแก้ว พระเจดีย์ ซุ้มใบเสมา หอระฆังและยักษ์ที่เฝ้าโดยรายรอบบริเวณพระอุโบสถใน วัดพระแก้ว ลวดลายต่างๆ อาทิ ลายดอกประจำยาม, ลายตาข่าย, ลายพุ่มข้าวบิณฑ์, ลายกระจังตาอ้อย, ลายกระจังปฏิญาณ, ลายลูกฟัก, ลายก้ามปู, ลายแก้วชิงดวง เป็นต้น ลวดลายเหล่านี้ได้กำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่หนึ่งจนถึงรัชกาลปัจจุบัน วัสดุที่นำมาใช้ ได้แก่ ผ้าไหมและผ้าฝ้ายของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ นำมาสร้างสรรค์เป็นสินค้าในแบบต่างๆ ให้ดูทันสมัยตอบ สนองไลฟ์สไตล์ปัจจุบันมากขึ้น อาทิ สินค้า ของตกแต่งบ้าน, เครื่องแต่งกาย, เครื่องประดับ, กระเป๋า, เครื่องเขียน และของที่ระลึกในรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้นแล้ว ร้านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ยังมีการออกแบบ สินค้าตามสั่ง เพื่อนำไปแจกเป็นของชำร่วย ของแจกปีใหม่หรือใช้ตามโอกาสต่างๆอีกด้วย

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการ ในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กล่าวเปิดงาน

จากนั้นเป็นการแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าจากมูลนิธิศิลปาชีพฯ ที่ได้ออกแบบ และตัดเย็บโดย ดีไซเนอร์ชื่อดัง ของเมืองไทยถึง 30 ท่าน ได้แก่ Kai, Tirapan, Pisit, Gina, Metta, Soda, Theatre, Fly Now, Asava, Greyhound, Issue, Senada Theory, Disaya, AB Normal, CHAI, Sunshine, MUNCHU’s, Sretsis, Hook’s by Prapakas, It’s happened to be a closet), Flamingo, Klar, Realistic Situation, EK Thongprasert, Tipayaphong, Titipon Chitsantisook, WWA, Vatit Itthi, Vick Teerut แสดงแบบโดยนางแบบกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ทิพนันท์ ศรีเฟื่องฟุ้ง, แพร สารสิน, จุฑาวรรณ ไกรฤกษ์, ยุพาพักตร์ วัชราภัย, ปิยวรา ทีขะระ, กิติวิชญา วัชโรทัย, อัญชิสา วัชรพล, ภิรมย์รัตน์ อิศวพรชัย, พิมพ์พยัพ ศรีกาญจนา, จุฬาลักษณ์ ปิยะสมบัติกุล, พีชนา สงวนสัตย์, ปรมา ไรวา, อธิษฐาน นนทรีย์, อชิรญา ประสุตานนท์ และลีลา สุนทรวิเนตร์ ภายในงานยังจัด ให้มีนิทรรศการ “เสน่ห์ผ้าทอ เสน่ห์ผ้าไทย” โดยนำผ้าไทย ที่ทอโดยสมาชิกของ มูลนิธิศิลปาชีพฯ นำมารังสรรค์ออกแบบดีไซน์ให้ร่วมสมัย พร้อมชมการจัดแสดงเทคนิคการทอผ้าไทยพื้นถิ่น ที่สะท้อนผลผลิตทางวัฒนธรรม และกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผืนผ้า ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ผ้าปักด้วยวัสดุธรรมชาติของชาวเขา ผ้าไหมมัดหมี่ ที่อาศัยการมัดย้อมเส้นใย ก่อนการทอของกลุ่มชาวไท ในภาคอีสาน ผ้าที่ถักทอขึ้นด้วยคู่สีเส้นไหมอย่างผ้าขิด และผ้าที่สร้างผิวสัมผัส ที่แตกต่างด้วยการทออย่างผ้าจก โดยนิทรรศการดังกล่าว จะจัดแสดงในร้านมูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพฯ ในพระบรมมหาราชวัง ถึงสิ้นเดือนตุลาคมนี้

เสน่ห์ผ้าทอ เสน่ห์ผ้าไทย
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยนำผ้าไทยที่ทอ โดยสมาชิกของมูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพฯ และนำมารังสรรค์เป็นเครื่องแต่งกายสวยงามร่วมสมัย ด้วยฝีมือการออกแบบของดีไซเนอร์ จำนวน 30 ท่าน ดังนี้

 AB-Normal โดย ทวีศักดิ์ สมานมิตร: จากที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Thailand Fashion Designer Contest 1999 ในปี 2001, กรมส่งเสริมการส่งออก แบรนด์ AB-Normal เป็นที่รู้จักกันดี ในความเรียบง่าย สวมใส่ได้จริง ปรับเปลี่ยนได้ หลายโอกาส ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เห็นได้ชัดเจนกับการออกแบบครั้งนี้
 Klar โดย พิสิษฐ์ สิริเหมะรัตน์: จากผู้ช่วยดีไซเนอร์ ของห้องเสื้อดวงใจบีส และกวาด 4 รางวัล Aploda จากเยอรมนี พิสิษฐ์จึงสร้างแบรนด์ Klar ขึ้นมาพร้อม กับเอกลักษณ์ deconstruction การดีไซน์ชุดในครั้งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจ มาจากตอนที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสยุโรป
 Flamingo โดย ม.ร.ว.จันทรลัดดา ยุคล: ก่อนจะมาเป็นดีไซเนอร์ เธอรู้สึกอิ่มตัวกับ การดูแลแบรนด์ Nautica และ Cerruti Jeans บวกกับเป็นคนชอบแต่งตัว เลยผันตัวเองมาเป็นดีไซเนอร์ของแบรนด์ Flamingo และเนื่องจาก เอกลักษณ์ของแบรนด์ Flamingo คือ ขนนก เธอจึงนำมาผสมกับ การออกแบบผ้าไทยครั้งนี้ สื่อถึงความพลิ้วไหว ของนก Flamingo มาผสมผสานกับความนุ่มนวลชวนฝัน ของผู้หญิงนั่นเอง
 ASAVA โดยพลพัฒน์ อัศวประภา / มรุวุตม์ บูรณศิลปิน: พลพัฒน์จบการศึกษาด้านแฟชั่นดีไซน์มาจาก Parsons School Design, New York และมรุวุตม์ จบปริญญาตรีด้านแฟชั่นดีไซน์จาก Academy of Art University,USA ซึ่งผ้ายกทองที่นำมาออกแบบครั้งนี้ สื่อถึงความโก้ในแบบ traditional ในขณะที่ ซิลลูเอตของตัวเสื้อ สร้างความตื่นตา ทำให้ความโก้เรียบของผ้าไหม มีความเป็นสากล และร่วมสมัย
 Disaya โดย ดิษยา สรไกลกิติกูล: บัณฑิตเกียรตินิยมจากสถาบัน Central St. Martins ได้ออกแบบผ้าไทยชุดนี้ โดยได้รับแรงบันดาลใจ มาจากคอลเล็กชั่น Autumn/Winter 2009 ของ Disaya ซึ่งมาในธีมของนักรบแห่งฟากฟ้า โดยใช้เทคนิคการตัดเย็บ หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกระโปรง ที่เล่นกับพลีตขนาดใหญ่ เพื่อสื่อถึงชุดนักรบ ในสมัยก่อน หรือการเล่นกับ รูปทรงโค้งมนอย่าง scallop ในส่วนของช่วงเอวที่สะท้อนให้เห็นถึง ความเป็นผู้หญิงใน แบบฉบับของ Disaya
 Greyhound โดย วิชชุกร โชคดีทวีอนันต์ / อรวิมล เสนีวงศ์ ณ อยุธยา: วิชชุกรจบปริญญาโทสาขาแฟชั่นดีไซน์ จากสถาบัน Institute Marangoni, ประเทศอิตาลี อรวิมลจบจากปารีส ประเทศฝรั่งเศส สาขา Womenswear Fashion Design and Pattern Making ส่วนการออกแบบผ้าไทย เขาได้นำเอาเสน่ห์ของ ผ้าทอลาย ไทยมาเล่นเป็นกราฟฟิค แบบลายชนลาย บวกกับใช้ซิลลูเอต ที่เล่นกับ วอลุ่มของเนื้อผ้าทอให้ดู โมเดิร์นแบบผู้หญิง Greyhound
 Kai โดย สมชาย แก้วทอง: เป็นตำนานของวงการแฟชั่นไทยมาร่วม 40 ปี เอกลักษณ์ของ Kai ประยุกต์ มาจาก พื้นฐานของศิลปะ จนกลายเป็นเทคนิคส่วนตัว ที่ทำให้เสื้อทุกชุดกลายเป็น งานศิลปะชิ้นเอก และแรงบันดาลใจ ในการออกแบบงานครั้งนี้ ได้มาจากดอกกล้วยไม้คัทลียาควีนสิริกิติ์ โดยเน้นความพลิ้วไหว ของกลีบดอกที่ไม่ เหมือนใคร มีความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ ของตัวเอง
 METTA โดย เมตตา ตันติสัจจธรรม: จบด้านแฟชั่นดีไซน์ที่ Parson School of Design และเคยได้รับรางวัล Critic Award จาก Don Sayres New York Designer ความโดดเด่นของการใช้สีที่ METTA ยึดครองจนเป็นเอกลักษณ์ บวกกับความเป็นผู้หญิงที่อ่อนหวาน และเข้มแข็งในเวลาเดียวกัน ซึ่งเห็นได้ชัดในการตีความ ชุดผ้าไทยในครั้งนี้
 T-RA โดย ธีระ ฉันทสวัสดิ์: ดีไซเนอร์ดาวรุ่งจบการศึกษาจาก St. Martins ประเทศอังกฤษ แรงบันดาลใจ ในการออกแบบชุดมาจาก หนังเรื่อง Death In Venice ในปี 1971
 Theatre โดย ศิริชัย ทหรานนท์: การศึกษาและประสบการณ์ การดำรงชีวิตในปารีส มหานครแห่งศิลปะอันยาวนาน ทำให้ ศิริชัยกลายเป็นศิลปิน แห่งวงการแฟชั่นไทย แบรนด์ Theatre จึงมีความเป็นสาว ปารีเซียงอย่างมาก ในโปรเจ็กต์นี้ Theatre ได้เลือกผ้าไหมมัดหมี่ มีเอกลักษณ์เฉพาะจากโครงการ ศิลปาชีพ มาออกแบบเสื้อคลุม ผ้าไหมมีลักษณะ เป็นเสื้อกลางคืน และใส่กับ กางเกงทรงแคบเพื่อความโก้ของสาว Theatre
 Gina โดย สนิทพิมพ์ เอกชัย: ยี่สิบสี่ปีในวงการแฟชั่น จีน่า-สนิทพิมพ์ เอกชัย ยังหลงใหลเสน่ห์ผ้าไหมไทย ไม่เสื่อมคลาย แรงบันดาลใจในชุดผ้าไหมลายลูกแก้ว สีฟูเชียพิงก์ นี้มาจาก จีบหน้านางของชุดไทยจักรี นำมา ดัดแปลงเป็นจีบด้านข้างของเดรส ปรับโครงสร้างเสื้อให้ทันสมัย และเข้าถึงเจเนอเรชั่นใหม่ ได้ด้วย ผ้าไทยของเรา
 Tirapan โดย ธีระพันธ์ วรรณรัตน์: ความละเอียดอ่อนในงาน ฝีมือของ Tirapan ผู้ซึ่งได้รับการถวายการรับใช้ มาตลอดเป็น ระยะเวลานาน ในครั้งนี้ เป็นการนำผ้าลายลูกแก้วมาตัดเป็นชุด พร้อมตกแต่งรายละเอียด ด้วยผ้าชาวไทย ภูเขาเผ่าม้ง ชุดที่ สำเร็จออกมาจึงเป็นงานฝีมือชั้นสูงที่สวมใส่ได้อย่างลงตัว
 Titipon Chitsantisook โดย ฐิติพล จิตต์สันติสุข : ศิษย์เอก จากโรงเรียน greyhound ซึ่งเพิ่งจบการศึกษาจาก Institute Francais de la mode กรุงปารีส และฐิติพลยังเป็นดีไซเนอร์ไทย เพียงคนเดียว ในงาน International Festival for fashion and photograph HYRES 2008 ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่สุดในยุโรปด้วย โปรเจ็กต์นี้ ได้แรงบัน ดาลใจ มาจากหนังสือที่ยังอ่านไม่จบ การพับหน้ากระดาษ และเทคนิค การเข้าเล่มหนังสือ นำมาประยุกต์เข้ากับผ้าไหม เน้นฟอร์มที่เปลี่ยน ไปตามการเคลื่อนไหว สร้างเอฟเฟ็กต์ของลายผ้า ซึ่งสวมกับ เสื้อเชิ้ตตามแบบฉบับของ Titipon
 Vatit Itthi โดย วทิต วิรัชพันธุ์ และอิทธิ เมทะนี: วทิตจบการศึกษาจาก American College (Atlanta) ในสาขา BFA Fashion Design และอิทธิจบการศึกษาจาก Columbia College Chicago สาขา BA Theatre Arts เขาสองคนมี ความฝันที่จะ สร้างสรรค์ผลงาน ด้วยผ้าไทยมาตลอดจนมีวันนี้ ชุดนี้ที่เขาเลือก ใช้ผ้ามัดหมี่สีน้ำเงิน ประกอบเข้ากับ แพตเทิร์นผีเสื้อ เราพิถีพิถัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย อยากให้นางแบบรู้สึกว่า ได้สวมใส่ศิลปะ ที่สวยงามอยู่บนเรือนร่าง
 FLYNOW โดย ชำนัญ ภักดีสุข: ขุนพลมือหนึ่งของวงการ แฟชั่นไทย เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในการสร้างความตื่นตา ทั้งจากแฟชั่นโชว์หรือ ความชัดเจนของสไตล์ ในการดีไซน์ครั้งนี้ ชำนัญต้องการสร้างมิติให้กับ ชุด และเนื้อผ้า โดยการไล่ระดับ การจับเดรปผ้าเนื้อบาง ลงบนผ้าพื้นโครงเสื้อที่เรียบๆ เพื่อลด ความมันวาวของผ้า และเพื่อความ คลาสสิคที่ชัดเจนของ FLYNOW
 WWA แบรนด์ WWA ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 เริ่มจากความ ถนัดในงานออกแบบ ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าของแบรนด์ WWA จึงมีความชัดเจนที่ต่างไปจากทุกแบรนด์ การหลีกหนีจากข้อจำกัด และคำจำกัดความต่างๆ เช่น รูปแบบ ประเภท ความคุ้นเคย ชื่อ วัฒนธรรม สังคม และความเชื่อ ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ชัดจาก งานดีไซน์ในครั้งนี้
 Pisit โดย พิศิษฐ์ เนตรวิเศษ: การออกแบบครั้งนี้ดูจากความเป็น ไปได้ในการสวมใส่ และการใช้งานเป็นหลัก อีกทั้งคำนึงถึง เนื้อผ้าที่จะใช้ในการตัดเย็บ โดยใช้ผ้าขึ้นหุ่นแล้วใช้ลากเส้นตรง โค้งกลมตามต้องการ
 Sretsis โดย พิมพ์ดาว สุขะหุต: แบรนด์สาวน้อยหลากอารมณ์ ที่เปลี่ยนการแต่งตัว และซิลลูเอ็ตของผู้หญิงในยุคนี้ ทั้งในบ้านเรา หรือระดับสากล ด้วยความชัดเจนของการทำธุรกิจแฟชั่นของ Sretsis เสื้อชุดนี้จึงนำดีไซน์ ที่โดดเด่นที่สุดจากคอลเล็กชั่น Autumn/Winter 2009 ‘Metamorphosis’ มาตีความใหม่เพื่อ โปรเจ็กต์นี้
 Senada* Theory โดย ชนิตา ปรีชาวิทยากุล: หลังจากจบ การศึกษาในสาขาชีวเคมี และทำงานในห้องแล็บ มาระยะหนึ่ง เธอก็รู้ตัวว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เธอฝันไว้ โลกแฟชั่นต่างหาก ที่เธออยาก จะเข้าไปสัมผัส เธอจึงเบนเข็ม ไปศึกษาด้านการออกแบบเสื้อผ้า และก่อตั้งแบรนด์ของตัวเองภายใต้ชื่อ Senada และเพิ่มความ เป็นวินเทจ และเฟมินีนให้มากขึ้นในแบรนด์ Senada Theory ที่ก่อตั้งในเวลาต่อมา และได้รับความสนใจอย่างมากในระดับชาติ
 VICKTEERUT โดย ธีรัฐ ว่องวัฒนะสิน: จบการศึกษาจาก St.Martins สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี วิคได้โชว์ ผลงานการออกแบบครั้งแรก ในฐานะยังก์ดีไซเนอร์ในงาน Elle Fashion Week 2006 และร่วมโชว์ ผลงานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ความโดดเด่นของวิค คือ Celebrity Culture บวกกับความ ชำนาญของเทเลอร์ แบบผู้ดีอังกฤษ ชุดผ้าฝ้ายไทยชุดนี้ จึงมีรูปทรงคลาสสิก แต่ใช้แพตเทิร์นรูปแบบใหม่ เหมือนการ มองผ้าไทย ที่มีอายุนำมาใช้ให้เหมาะกับ สมัยปัจจุบันนั่นเอง
 Chai โดย ชัย เจียมอมรรัตน์: Chai Red Lable เป็นเสื้อผ้าผู้หญิง exclusive line มีขายเฉพาะที่ code 10, Siam Paragon เท่านั้น เป็น party dress และ evening dress สำหรับใส่ไปงาน Chai Red Lable เป็นเสื้อผ้าที่มีความเป็น เฟมินีน ทดลองกับคัตติ้งที่แปลกใหม่ และวัสดุที่หรูหรา เพื่อให้ผู้สวมใส่รู้สึกมั่นใจ เหมาะกับโอกาสพิเศษ
 Hook’s by Prapakas โดย ประภากาศ อังศุสิงห์: ประภากาศ เริ่มงานในวงการแฟชั่น ด้วยการเป็นผู้ช่วย ดีไซเนอร์ ของพิจิตรา และขยับมาเป็น Head Designer ของแบรนด์ Act-Cloth และต่อด้วยการเปิดแบรนด์เสื้อผ้าภายใต้ชื่อ medium-rare ที่เน้นความเป็นวัยรุ่นสไตล์ฟังกี้ และพักไปรับงานฟรีแลนซ์ ก่อนจะกลับมาเปิดแบรนด์ของตัวเอง ในแนวสำหรับ ผู้หญิงภายใต้ชื่อ Hook’s ในปี 2008
 Real by Realistic Situation โดย ภัทรศรัณย์ ศรีเลื่อนสร้อย: ภัทรศรัณย์สร้างแนวคิดใหม่ ให้วงการแฟชั่นไทย เสมอมา การตื่นตัว และศึกษาตลอดเวลาทำให้ภัทรศรัณย์เดินหน้า และก้าวไปใน ทิศทางที่คาดไม่ถึงเสมอ การออกแบบในครั้งนี้ ภัทรศรัณย์วิเคราะห์ และนำเสนอรูปแบบที่ต่างไป ของการใช้ผ้าไทยอย่างสิ้นเชิง ทั้งโครงสร้าง และพิ้นผิวที่ถูกรื้อ และสร้างใหม่ เพื่อการใช้งาน ที่เป็นปัจจุบันตามแนวทางที่เป็น
Soda โดย เมนาท นันทขว้าง: Soda หนึ่งในตำนานแฟชั่นเสื้อผ้าไทย ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1979 โดย คุณเมนาท นันทขว้าง Soda มีเอกลักษณ์ของการปฏิวัติ ความขัดแย้งของสไตล์พังก์ร็อก และฮิปปี้ ซึ่งสะท้อนความเป็น ตัวของตัวเอง ที่รักอิสระออกมาอย่างชัดเจน ทำให้เสื้อดูเท่ เปรี้ยว แต่ยังคงแอบแฝงด้วยความเป็นเฟมินีน ที่มีคุณภาพ เท่าแบรนด์ต่างประเทศ แต่ราคาสำหรับคนไทย “การออกแบบผ้าไทยในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ได้ใช้ผ้าไหมมัดหมี่ เนื้อผ้า และสีสวยมาก มีความเป็นไทย แต่สามารถทำให้เป็นสากลได้ ดิฉันเลยลองออกแบบเป็น Cocktail Dress คิดว่าผ้าไทยได้ใช้กับยุคสมัยนี้ได้ดีทีเดียวค่ะ”
 Sanshai โดย จิรัฏฐ์ ทรัพย์พิศาลกุล: จิรัฏฐ์เริ่มต้นเส้นทาง ดีไซเนอร์ ด้วยการเข้าเรียนการออกแบบที่ St. Martins และกลับ มาทำงานให้แบรนด์ Pasaya ในตำแหน่ง Fashion Design Director ต่อมา ได้เปิดตัวแบรนด์เสื้อผ้า ของตัวเองภายใต้ชื่อ Sunshine ในปี 2004 สำหรับแรงบันดาลใจในการออกแบบ ผ้าไหมในครั้งนี้ มาจาก ลูกมะเฟือง ผลไม้สัญชาติไทยแท้
 TIPAYAPONGPOOSANAPHONG โดย ทิพยพงษ์ ภูษณะพงษ์: หลังจากทำงานเป็นผู้ช่วยดีไซเนอร์ Ungaro และ สไตลิสต์คู่ใจ Pierre Et Gilles ที่ประเทศฝรั่งเศสอยู่หลายปี ทิพยพงษ์ ได้เปิด แบรนด์ในชื่อตนเอง และชาวไทย ได้รู้จักเขาครั้งแรกจากโชว์ในงาน Elle Fashion Week ทิพยพงษ์ กำลังมุ่งสร้างงานศิลปะ ในสตูดิโอ ของเขา ที่กรุงปารีสอยู่ในขณะนี้ และเสื้อชุดนี้เป็นการสั่งงานข้าม ทวีปมาจากที่นั่น
 Ek Thongprasert โดย เอก ทองประเสริฐ: ดีไซเนอร์หน้าใหม่ ที่สุดจาก Royal Academy of Fine Arts Antwerp ใช้รูป ทรงข้าวหลามตัด ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐาน ที่สามารถพบเห็น ได้ในงานศิลปะไทย ตั้งแต่กระจกสีประดับวัดพระแก้ว ไปจนถึง ลายลูกแก้วที่ใช้สำหรับทอผ้า เอกตีความเป็นแนวคิดของโครงเสื้อ และลวดลายที่ปรากฏบนชุด และตกแต่ง ด้วยอะครีลิก ที่ตัด ด้วยเลเซอร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเขาเอง
 Issue โดย โรจน์ สิงหกุล: Issue แบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ ที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งของไทย ด้วยการออกแบบ ที่นำราย ละเอียดของงานฝีมือจาก วัฒนธรรมท้องถิ่นเอเชีย ที่โรจน์ ได้เก็บเกี่ยวจากการเดินทาง มาใช้ในงานออกแบบ
 It’s happened to be a closet โดย ศิริวรรณ ธรณนิธิกุล: จบการศึกษาด้านแฟชั่นดีไซน์ที่ Pratt Institue New York ศิริวรรณได้สร้างแบรนด์ของเขาในชื่อ It’s happened to be a closet ในปี 1998 แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจาก One All The Way (Through)
 Munchu’s โดย มัญชุมาศ นำเบญจพล: หลังจบการศึกษาจาก St. Martins มัญชุมาศเริ่มงานในวงการแฟชั่น ด้วยการเป็นดีไซเนอร์ให้กับ Playhound และเปิดตัวแบรนด์ของตัวเอง เป็นครั้งแรกในงาน Elle Fashion Week ในชื่อ Munchu’s โดยการออกแบบในครั้งนี้ ใช้โครงสร้าง รูปแบบของเสื้อผ้า สมัยวิกตอเรียนกับผ้าไทยคลาสสิก

 

Published by Jade-ThaiCatWalk

Editor - ThaiCatwalk.Com and Runway Photographer PR, Brand Acknowledgement, Advertorial