FashionShow : Doctor of Fine Arts (DFA) – ปริญญาเอกจุฬา สาขาศิลปกรรมศาสตร์
Academy : Chulalongkorn University
Venue : Chulalongkorn U.
Date/Time : 28 February 2011, 18.00
Doctor of Fine Arts (DFA)- ปริญญาเอกจุฬา สาขาศิลปกรรมศาสตร์
Click here to Google Photo Gallery
เนื่องด้วยหลักสูตรคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 โดยมีหลักสูตรแบ่ง โดยมีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาทัศนศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ ภาควิชาดุริยางคศิลป์ และภาควิชานาฏศิลป์ ซึ่งในปี ซึ่งในปี 2551 ที่ผ่านมา ได้เปิดหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตรุ่นที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบุคลากร ศิลปกรรมศาสตร์ ในสายงานศิลปกรรมศาสตร์ ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญขั้นสูงให้แก่สังคม และวงการทางศิลปกรรม มาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท
ทั้งนี้ในการสำเร็จการศึกษาของนิสิตดุษฎีบัณฑิต รุ่นที่ 1 นั้น ต้องมีการจัดนิทรรศการ เพื่อแสดงถึงผลสำเร็จและศักยภาพ ของการศึกษาโดยการจัดนิทรรศการศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตครั้งนี้จะจัดภายใต้โครงการชื่อ “Art Culture & Innovation” เป็นการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปกรรม ด้วยจินตนาการจากมนุษย์สู่นวัตกรรมสิ่งใหม่ โดยเป็นผลงานด้านการออกแบบแฟชั่นและออกแบบเรขศิลป์ของนิสิตดุษฎีบัณฑิตรวมทั้งสิ้น 3 คน ทั้งนี้โดยในสาขาแฟชั่น เป็นผลงานการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ดุษฎีบัณฑิต ของ ผศ.พัดชา อุทิศวรรณกุล ภายใต้ Collection “Urban Transform” ซึ่งเป็นดุษฎีบัณฑิตทางด้านแฟชั่นคนแรกของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ทางหลักสูตรดุษฎีนิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำพิธีเปิดงานในวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 17.00 น. ณ อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Interview : อาจารย์ พัดชา (เสนาณรงค์) อุทิศวรรณกุล – อาจารย์ประจำ สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อในการทำปริญญาเอก
อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ สำหรับคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร
BRAND IDENTITY TRANSFORMABLE FASHION FOR WORKING AGES IN BANGKOK.
โดย ผศ.พัดชา อุทิศวรรณกุล
ปัจจุบันการดำรงชีวิตของคนในเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพมหานคร ต้องเผชิญกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อันเนื่องจากวิถีชีวิตที่ต้องอยู่อาศัยในเมืองและจากปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้น ส่งผลกระทบกับสภาวะอากาศในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน จากการสำรวจพบว่ากลุ่มประชากรวัยทำงานเป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงมากเนื่องจากมีกิจวัตรประจำวันที่ต้องเดินทางผ่านสภาวะอากาศร้อนและเย็นสลับกันเป็นระยะ อาทิเช่นอากาศร้อนหรือฝนตกจากภายนอกอาคาร สลับกับอากาศเย็นจากเครื่องปรับอากาศระหว่างการเดินทางและในสถานที่ทำงานหรือในช่วงระหว่างวันทำงาน รวมถึงการมีรูปแบบการดำเนินชีวิตหลังเลิกงานที่ต้องเดินทางในเวลากลางคืนหรือพบปะสังสรรค์ ส่งผลให้ในระหว่างวันกลุ่มคนวัยทำงานนี้ต้องเผชิญกับสภาวะอากาศที่แปรปรวนได้ตลอดวัน ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่าสิ่งสำคัญอันเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตของคนวัยทำงานที่สามารถตอบสนองรองรับต่อสภาวะอากาศที่ต้องเผชิญนั้นได้แก่เครื่องแต่งกาย โดยควรมีรูปแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง และตอบสนองต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตในระหว่างวันทำงานและช่วงเวลากลางคืน ซึ่งจากการศึกษาวิเคราะห์ตลาดสินค้าแฟชั่นในปัจจุบัน พบว่ายังขาดเครื่องแต่งกายที่มีอัตลักษณ์ด้านการปรับเปลี่ยนที่ตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าว โดยเมื่อพิจารณาถึงผลกระทบและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือการปรับตัวหรือการปรับเปลี่ยนที่สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาวะอากาศ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิเคราะห์ถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับทฤษฎีการปรับเปลี่ยน การปรับเปลี่ยนของสิ่งมีชีวิต(Adaptation) ได้แก่ พืช สัตว์เซลเดียว สัตว์และแมลง และการปรับเปลี่ยนที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made) ได้แก่ เทคนิคในงานกราฟฟิค เทคนิคในงานเฟอร์นิเจอร์ เทคนิคในงานสถาปัตยกรรม อันนำมาซึ่งกรรมวิธีที่สามารถประยุกต์เข้ากับการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ตอบสนองต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงเฉียบพลัน นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงเทคนิคการเปลี่ยนสีโดยการเรืองแสงโดยมีที่มาจากการเรืองแสงของสัตว์เซลเดียวเช่น นอติลูกา (Notiluca) และโกนีออแลกซ์ (Gonyaulax) ที่เป็นการปรับเปลี่ยนสีเพื่อป้องกันภัยหรือดึงดูดความสนใจ ซึ่งในวิถีชีวิตของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครนั้น มีรูปแบบการดำเนินชีวิตหลังเลิกงานที่ต้องเดินทางบนท้องถนนยามค่ำคืน ฉะนั้นเครื่องแต่งกายควรออกแบบให้ช่วยตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในการมองเห็นในที่มืดเพื่อสร้างความปลอดภัย
ทั้งนี้จากการศึกษาวิเคราะห์ถึงกรรมวิธีการปรับเปลี่ยนสามารถสรุปกรรมวิธีที่นำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ ได้แก่ การพับ(Folding) การม้วน(Spining) การซ้อน(Stacking) การคลี่กาง(Furling) การปรับระดับ(Adjustable) การพลิกกลับ(Flip/Switch) การยื่นออก(Extention) การถอดประกอบ(Modular) การสลายโครงสร้าง(Deconstruction) และการเรืองแสง(Fluorescent) ควบคู่กับการเลือกใช้วัสดุได้แก่การเลือกใช้ผ้าและนวัตกรรมผ้าที่ตอบสนองต่อสภาวะอากาศที่แปรปรวนเฉียบพลัน อาทิเช่นผ้าคูลโมด (Cool-mode) ผ้าคูโปร(Cupro) ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างอัตลักษณ์จำเพาะของตราสินค้าเครื่องแต่งกายที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ภายใต้ตราสินค้า “URBAN TRANSFORM” เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับหรับคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร รวมถึงสามารถตอบสนองต่อกระแสสังคมในเรื่องปัญหาสภาวะโลกร้อน อันนำมาซึ่งความเป็นนวัตกรรมทางแฟชั่นในปัจจุบัน
——————————————————–
ความต่างในการเรียนปริญญาเอก คือ เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ฉะน้้นการค้นหาทฤษฏิใหม่เพื่อสร้างนวัตกรรม เมื่อได้สิ่งเหล่านั้น ก็ควรนำมาหาความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ ของตัวดีไซน์ ซึ่งจะสื่อในเชิงธุรกิจด้วยว่าจะเป็นอัตลักษณ์ของแบรนด์อย่างไร นี่ความต่างของป.ตรี และป.โท
ป.ตรีเป็นการศึกษา เอาโจทย์มาประยุกต์กับการออกแบบ ส่วนป.โท เน้นไปที่ดีไซน์ว่า ออกแบบมาแล้วนั้น สามารถตอบสนองต่อตลาดอย่างไร สำหรับปริญญาเอก คือการคิด theory ใหม่ๆขึ้นมาแก้ปัญหา และสร้างนวัตกรรมเชิงโครงสร้าง และสิ่งที่สร้างขึ้น ควรตอบโจทย์ความเป็น Brand Identity
บทสัมภาษณ์จะนำมาเพิ่มเติมภายหลังครับ
การเรียนป.เอกที่ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬา ได้ปริญญา Doctor of Fine Arts (DFA) นะครับ ไม่ใช่ Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ขออภัยอย่างสูงครับ ที่เขียนโดยความไม่เข้าใจ
7 มีนา – ได้แก้ไขหัวข้อให้ถูกต้อง