FashionShow : ALLIGHT
Academy : Chulalongkorn U.
Venue : CentralWorld
Date/Time : 2 March 2011, 18.00

Thesis, ALLIGHT 2011

Click here to Google Photo Gallery

นิสิตภาควิชานฤมิตศิลป์ เอกแฟชั่นและสิ่งทอ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การแสดงผลงาน “โครงการออกแบบนฤมิตศิลป์ของนิสิตชั้นปีที่ 4 (Senior Projects)”

โดยในปีนี้ได้ถูกนำเสนอภายใต้ชื่องาน “ALLIGHT” อันมีแนวความคิดมาจากความสว่างไสวของแสงไฟท่ามกลางความมืดมิด อีกทั้งยังต้องการสื่อถึง “LIGHT UP” และ “LIKE LIGHT” หรือการส่องสว่างขึ้นและความเสมือนแสง เปรียบถึงความรู้ความสามารถของนิสิตที่สั่งสมวิชาความรู้จนเกิดเป็นงาน ศิลปนิพนธ์ที่มีคุณภาพ โดดเด่นและเป็นจุดสนใจ โดยในนิทรรศการจะมีการจัดแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันประกอบไปด้วยผลงานการออกแบบเครื่องแต่งกาย เรขศิลป์ นิทรรศการศิลป์ และหัตถศิลป์ ซึ่งจะจัดแสดงเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันอังคารที่ 1-3 มีนาคม พศ.2554

1. โครงการการออกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับการเดินทางเพื่อธุรกิจ

ผู้ออกแบบ – ธันย์ชนก ธัญญศิริ

แนวความคิด – Less is more

เครื่องแต่งกายสุภาพสตรีสำเร็จรูปในโอกาสการใช้งานแบบทำงาน (Business) ทำงานกึ่งลำลอง (Business-Casual)และทำงานกึ่งสังสรรค์ (Business-Party) มีลักษณะพิเศษจำเพาะ คือ การถอดประกอบแยกชิ้นส่วนของแต่ละ item ได้ และสามารถนำชิ้นส่วนมาประกอบผสมผสานใหม่ เพื่อให้ได้ชุดที่หลากหลายด้วยกรรมวิธีอินเตอร์ล็อก ทำให้ลดปริมาณเสื้อผ้าที่จะต้องจัดเตรียม ช่วยประหยัดเนื้อที่และน้ำหนักในการกระเป๋าเดินทาง มีประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะกับ การใช้งาน สำหรับการเดินทาง เพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ ทั้งวัสดุที่เอื้ออำนวย และลักษณะการใช้งานพิเศษที่คอยสนับสนุนกิจกรรมในแต่ละการเดินทาง

2.โครงการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีสำเร็จรูป ที่สามารถปรับให้สวมใส่ได้หลายขนาด โดยประยุกต์กรรมวิธีการห่อบรรจุภัณฑ์แบบญี่ปุ่น (Furishiki )

ผู้ออกแบบ – เกศรินทร์ สถาวรนันท์

แนวความคิด – ชีวิตไม่มีไว้ให้เครียด

ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน โดยการเล่นเป็นสำนวนเอามาเปรียบเทียบกับรูปร่างของคนที่ต่างกัน ให้สามารถทำให้เกิดความแน่นอนได้ด้วย การออกแบบให้อารมณ์ความรู้สึกของงานที่มีความเป็นผู้หญิงมั่นใจและมีสเน่ห์

3. โครงการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีสำเร็จรูป ที่ได้รับแนวคิดจากการศึกษาเครื่องแต่งกาย และการแต่งหน้าลายของอุปรากรจีนปักกิ่ง

ผู้ออกแบบ – ธนพร หวังกิจจินดา

แนวความคิด – Fly away

สื่อถึง การหนีออกจากกรอบสู่ความเป็นอิสระทางความคิด นำมาสู่เสื้อผ้าที่มีความทะมัดทะแมง แต่แฝงด้วยความอ่อนหวานแบบผู้หญิงในรูปแบบทันสมัย ที่มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมจีนโบราณ

4. โครงการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีสำเร็จรูป ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามโครงสร้างของผู้ใส่ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ จนถึงช่วงแรกหลังการคลอดได้

ผู้ออกแบบ – ณัฐรดี ทองรัศมี

แนวความคิด – INNO-SENSE

ผู้หญิงกับการแต่งตัวและการเลือกสวมเสื้อผ้าเป็นของคู่กัน แต่ผู้หญิงมักประสบปัญหาด้านการแต่งตัวเมื่อมีครอบครัว และเข้าสู่วัยเจริญพันธ์โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการให้กำเนิดทารก ซึ่งภาวะการตั้งครรภ์จะมีผลต่อร่างกาย และจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ จึงน่าเป็นการดี หากมีเสื้อผ้าสำหรับสตรีตั้งครรภ์ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเสื้อผ้าที่ใส่หลังคลอดระยะแรกได้

5. โครงการออกแบบเครื่องแต่งกายชุดยูนิฟอร์ม สำหรับพนักงานสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์

ผู้ออกแบบ – พรรัตน์ ฉันทเตยานนท์

แนวความคิด – Fantasy circus

เป็นการนำเสนอ Circus ในรูปแบบใหม่ที่มีความเป็น Futuristic และ Geometric ภายใต้แนวความคิด Active fold fun ซึ่งเป็นการนำเอาการพับกระดาษเข้ามาใช้ในการทำให้เกิด Geometric ทั้งยังช่วยในการสื่อสารกับผู้ชมให้เข้าใจชุดได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดความแปลกใหม่ทันสมัย และยังไม่เคยมีสวนสัตว์ไหนทำชุดพนักงาน ด้วยอารมณ์ความรู้สึกนี้มาก่อน ซึ่งจะทำให้ซาฟารีเวิลด์มีภาพลักษณ์ ในการเป็นผู้นำด้านแหล่งบันเทิงประเภทสวนสัตว์ หรือจะเรียกได้ว่า เป็นการ Rebuild brand ขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นการเปบี่ยนแปลงที่สร้างกระแส และความสนใจแก่ผู้คนและสื่อได้เป็นอย่างดี

6. โครงการออกแบบชุดแต่งงานรูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้หญิง 6 กลุ่มบุคลิกภาพตามแนวคิดหลักทฤษฎีบุคลิกภาพ “ทฤษฏีการเลือกอาชีพ ” ของจอห์น แอล ฮอนแลนด์

ผู้ออกแบบ – รติมา เศรษฐสมบูรณ์

แนวความคิด – Venus Identity

ชุดเจ้าสาวในท้องตลาดประเทศไทยในปัจจุบัน เต็มไปด้วยรูปแบบที่กรุยกรายฟู่ฟ่า ซ้ำ จำเจ ผู้สวมใส่ไม่มีตัวเลือก จึงมีความจำเป็นต้องใส่ตามกรอบของรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถสนองต่อบุคลิกภาพของผู้สวมใส่แต่ละคนได้อย่างแท้จริง จึงเป็นที่มาที่นำไปสู่การออกแบบชุดแต่งงานรูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้หญิง 6 กลุ่มบุคลิก ตามแนวคิดของหลักทฤษฎีบุคลิกภาพ “ทฤษฏีการเลือกอาชีพ ” ของจอห์น แอล ฮอนแลนด์ โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปปั้นเทพีวีนัส เดอ มิโล ประติมากรรมชิ้นเอกในยุคกรีกโบราณ ที่นับว่าเป็นความงามในอุดมคติตามแนวคิดมนุษยนิยม

7. โครงการออกแบบเสื้อผ้าสตรีที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ และโอกาสการใช้งานโดยประยุกต์จาก แนวความคิดและโครงสร้างจากบ้านเรือนไทยภาคกลาง

ผู้ออกแบบ – ไตรทศพร เกตุทัต

เนวความคิด – WHERE-WEAR

WHERE-WEAR เป็นการเล่นคำพ้องเสียงของคำอันสื่อถึงความเป็นเสื้อผ้าปรับเปลี่ยนที่รูปแบบ ดูเป็นเสื้อผ้าที่แฝงถึงลักษณะแห่งการปรับเปลี่ยน ภายนอกดูเหมือนเสื้อผ้าทั่วไป เหมือนเสียงที่เปล่งออกมามีลักษณะเดียวกัน แต่ความหมายต่างกัน อีกทั้งเป็นการเล่นคำสองคำระหว่าง where ที่แปลว่าที่ไหน สื่อถึงความหมายแห่งโอกาสการใช้สอย ที่เปลี่ยนไปตามสถานที่แต่ละแห่ง อันตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมาย และ wear ที่แปลว่าสวมใส่ บ่งบอกถึงวิธีการสวมใส่ว่ารูปแบบของเสื้อผ้าจะเป็นอย่างไร อันจะนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่สอดแทรกอยู่ในบริเวณชุด เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ที่ผู้วิจัย ต้องการสื่อสารระหว่างความร่วมสมัย และความเป็นไทย

8. โครงการอกแบบเครื่องแต่งกายเสียดสีสังคม

ผู้ออกแบบ – ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย

แนวความคิด – Sarcastic

ในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารทำให้โลกดูเล็กลง วัฒนธรรมต่างๆจากมุมหนึ่งถึงอีกมุมหนึ่ง เกิดการแลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ความเป็นสากลกระจายไปทั่วโลก จึงได้ทำการวิจัยออกแบบเครื่องแต่งกายแก่กลุ่มคน ซึ่งต้องการความแตกต่างจากที่เป็นอยู่ โดยศึกษาเรื่องพังค์และดาดาอิซึ่ม อันเป็นยุคสมัยของความเป็นขบถ และนำการเซ็นเซอร์มาเป็นแรงบันดาลใจที่สื่อถึงความลักลั่นในสังคม

9.โครงการออกแบบเครื่องแต่งกายที่มีอิทธิพลเชิงจิตวิทยาของผู้สวมใส่ ด้านความมั่นใจและทัศนคติเชิงบวก

ผู้ออกแบบ – พิมลพัชร์ ธนุสุทธิยาภรณ์

แนวความคิด – Mentality Wear

เครื่องแต่งกายเพื่อสวมใส่จิตใจและร่างกาย โดยมีแนวความคิดว่า ” Faiths ” พลังแห่งศรัทธา ตามกฎแห่งแรงดึงดูด โดยอาศัยแรงศรัทธาในวัตถุ ผ่านกระบวนการแฝงความหมายด้านบวก ลงในเสื้อผ้าเชิงสัญลักษณ์ วิธีตีความผ่านรูปทรงสามเหลี่ยมและพีระมิด ที่เกิดขึ้นจากตำแหน่งการเคลื่อนตัวของดวงดาว ที่มนุษย์เชื่อว่ามีพลังอำนาจลึกลับของดวงดาว และจักรวาลบางอย่างที่สร้างพลังให้กับร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของสิ่งมีชีวิต โดยอาศัยเทคนิคการแฝงรูปทรงลงในงานออกแบบเสื้อผ้าด้วยวิธี fold draping เพื่อให้เกิดเส้นและรูปทรงของตำแหน่งดวงดาว ที่แฝงอยู่ในตัวเสื้อผ้า ทั้งในรูปแบบของ 2 มิติ และ 3 มิติ ประกอบกับสีสัน และลวดลายที่มีความหมายิงสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปแฝงอยู่

Published by Banhan

Runway & Event Photographer, Kid Lover Canon 1D mk III, 7D and Prime Lens