Creative Textile Award 2020, CTA – Photo Shoot – การถ่ายแบบ Lookbook ของผู้เข้าประกวดทั้ง 12 ท่านๆละ 2 ชุด โดยได้รับการประสานงานจาก THTI ในการจัดทำครั้งนี้ ประกอบด้วย การถ่ายภาพ, ถ่ายวีดีโอสัมภาษณ์, เบื้องหลัง, จัดหานางแบบนายแบบ, แต่งหน้าทำผม และสตูดิโอ
Project : THTI, สสว.
Photo : ThaiCatwalk Studio, Jade, Ton
Model : Zoom Modeling Agency
Make Up Artist : Kim Make up Studio ; Pookie, Ton, Bew, Lin
Interview : Rooftop Studio, Dark
Assistance : Bank, Fon, Mew
Location : Shoot Dee Studio
Click here for GOOGLE PHOTO GALLERY
รายละเอียดของแต่ละแบรนด์
1. แบรนด์ PENTAA STUDIO นักออกแบบ นางสาวลลิตา สุนทรพุทธศาสน์
เป็นตาสตูดิโอ เริ่มต้นจากการเป็นสตูดิโองานคราฟต์ จากโคราชที่มีความหลงใหลในการเอกลักษณ์ดินท้องถิ่น หลังจากที่ได้โอกาสลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ทำให้พบปัญหาของหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาดั้งเดิมว่าในปัจจุบันแหล่งดินที่เป็นเสมือนวัตถุดิบสำคัญกำลังมีปริมาณลดน้อยลง จากความหลงใหลในการดินท้องถิ่นทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำเสื้อผ้าที่ย้อมมาจากดินที่โคราชร่วมกับผ้าเส้นใยธรรมชาติจากทั่วประเทศ เพื่อให้มีความผสานผสานวัฒนธรรมที่ไทยร่วมสมัย ในส่วนของการออกแบบและตัดเย็บจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัยที่สนใจการสวมใส่เสื้อผ้าจากธรรมชาติในรูปแบบเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายไม่เข้ารูปและการตัดเย็บที่เรียบร้อย
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept)
แบรนด์ เป็นตาสตูดิโอ จึงเกิดเป็นแนวคิดเสื้อผ้าแบบ green market เป็นหลักโดยใช้วัตถุธรรมชาติและผสมผสานเอกลักษณ์ความเป็นไทยลงไปเครื่องแต่งกาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ลูกค้าทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
ประเภทผลิตภัณฑ์: เสื้อผ้าแนว street fashion
ที่สามารถใส่ได้ในชีวิตประจำวันในวันหยุดพักผ่อนหรืองานเลี้ยงสังสรรค์ โดยสินค้าจะผลิตจากเส้นใยธรรมชาติจากทั่วประเทศไทยประกอบการย้อมสีผ้าจากดินด่านเกวียนที่จะได้สีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์ เป็นตาสตูดิโอเองด้วย รวมทั้งผู้สวมใส่จะรู้สึกสบาย
จุดเด่น 1) ย้อมสีผ้าด้วยดินด่านเกวียนผสมผสานเทนิดการย้อมผ้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทางแบรนด์
2) การเลือกใช้แต่ผ้าเส้นใยธรรมชาติเท่านั้น
2. แบรนด์ Marionsiam นักออกแบบ นางสาวทยิดา อุนบูรณะวรรณ
“แบรนด์ Marionsiam” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2562 โดยทำการเปิดขายเฉพาะช่องทาง ออนไลน์ (Online) ทาง Line@ ,Website, Instagram, Facebook “เป็นแบรนด์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสตรี (Women wear) โดยดำเนินการผลิต และจำหน่ายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแฟชั่นจากนักออกแบบ (Designer Brand) สำหรับสวมใส่ในชีวิตประจําวัน โอกาสทำงาน และทำงานสร้างสังสรรค์จัดอยู่ในระดับตลาด B+ ลักษณะเด่น คือ รูปแบบสินค้าเสื้อผ้า จะอยู่ภายใต้แนวคิดการออกแบบ โมเดิร์น คราฟต์ (Modern craft) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตระหนักถึงการนําเอางานหัตถกรรมมาทําให้อยู่ในรูปแบบร่วมสมัย ให้อารมณ์แบบคนเมือง เรียบง่าย แต่เน้นรายละเอียดตกแต่งที่มีความพิถีพิถัน อีกทั้งยังจะคำนึงถึง ประโยชน์ใช้สอย โทนสีส่วนใหญ่เป็นสีกลุ่ม Earth tone / Pastel
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept)
แบรนด์ “Marionsiam” เกิดขึ้นจากความหลงใหลในลวดลายของผ้าบาติก ซึ่งมีลักษณะที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว อันเกิดจากการสร้างสรรค์ศิลปะบนผืนผ้า ด้วยความสามารถเฉพาะตัวของช่างฝีมือ แต่ละบุคคล ดังนั้นชิ้นงานแต่ละชิ้นจึงมีคุณค่าและเสน่ห์ในตัวของมันเอง จากแนวคิดนี้ “Marionsiam” จึงนำเอาเสน่ห์ของผ้าบาติกมาใส่ในชีวิตประจำวันของคนเมือง เพื่อเสริมสร้างความโดดเด่น อีกทั้งยังบ่งบอกถึงตัวตนและสไตล์ (Style) ของผู้ใช้งาน
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
เป็นธุรกิจขายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายบาติก ที่เน้นการออกแบบที่สามารถใช้งานได้ในหลายโอกาส เช่น
1) ทำงาน (business) 2) พักผ่อนวันหยุด (casual) 3) งานเลี้ยงสร้างสรรค์ (party) สินค้าผลิตจากเส้นใยธรรมชาติทุกชิ้น เช่น ผ้าฝ้าย (cotton) ผ้าไหม (silk) และหนังสัตว์ เนื้อผ้ามีความทนทาน สวมใส่สบาย เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทย โดยผู้สวมใส่จะรู้สึกสบายเพราะระบายเหงื่อได้ดี และลวดลายของผลิตภัณฑ์ของทางแบรนด์ เป็นลวดลายทำมือทุกชิ้น เกิดขึ้นจากการในเทคนิคบาติก (batik) ในการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าทีละชิ้น
จุดเด่น
1) ผลิตภัณฑ์มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
2) ใช้เทคนิคการทําบาติกโดยการเขียนลาย พิมพ์แม่พิมพ์ทองเหลืองและแครกเทียน (Crack) นอกจากนั้นยังมีการใช้เทคนิคการปักไหม / ลูกปัด เข้ามาผสมผสานเพื่อให้เกิดพื้นผิวที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
3) เน้นคุณภาพการตัดเย็บและ pattern (โครงสร้าง) ของตัวผลิตภัณฑ์
3. แบรนด์ Orteip นักออกแบบ นายธีรธัช ธนินท์เบญจกุล
แบรนด์ Orteip เป็นแบรนด์เปิดใหม่ พ.ศ. 2563 โดยเจ้าของแบรนด์ชื่อ ธีรธัช ธนินท์เบญจกุล มีความสนใจในการนำเสื้อผ้าที่เหลือใช้หรือเหลือทิ้งมาพัฒนาและออกแบบโดยผ่านกระบวนการupcycling และเจาะกลุ่มตลาดผู้ชายวัยรุ่น จนถึงวัยทำงาน ที่สนใจเสื้อผ้าแนวstreet fashion ที่มีความผสมสานของรูปแบบเสื้อผ้าที่สมัยใหม่ อีกทั้งแบรดน์จะให้ความสนใจในการผลิตตั้งแต่การทำความสะอาดเสื้อผ้าเหลือใช้จนกระทั้งการเย็บตัดในรูปแบบอุตสาหกรรมอีกด้วยและในส่วนด้านของขายนั้นจะมุ่งเน้นไปที่ตลาดออนไลน์เป็นหลัก เพื่อง่ายต่อการต่อยอดตลาดในต่างประเทศในอนาคตได้ด้วย
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept)
ผลิตภัณฑ์ทางแบรนด์ Orteip เราจะมุ่งเน้นไปที่การนำเสื้อผ้าเหลือใช้เสื้อผ้ามือสองมาผ่านกระบวนการออกแบบและเทคนิคการตัดเย็บแบบสมัยใหม่ที่จะมีความเป็นstreet fashion mixing with luxury โดยมีกลุ่มลูกค้าเป็นสุภาพบุรพที่มีอายุ 20ขึ้นไป
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เสื้อผ้าของทางแบรนด์
มุ่งเน้นไปที่วัยรุ่นถึงวัยทำงานที่สนใจในการแต่งตัวตามแฟชั่นทันสมัยแต่ยังคงสนใจในสิ่งแวดล้อม ทำให้เครื่องแต่งกายของทางแบรนด์จะมุ่งเน้น สวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวันรวมทั้งโอกาสสำคัญต่างๆ
จุดเด่น
1) การนำเสื้อผ้าเหลือใช้หรือเสื้อผ้ามือสองมาผ่านกระบวนการออกแบบใหม่
2) การตัดเย็บที่แปลกใหม่รวมทั้งการพัฒนาแบบตัดเสื้อผ้าที่เป็นเอกลักษณ์
4. แบรนด์ Brihas นักออกแบบ นางสาววิศณี วัฒนวิเชียร
แบรนด์ Brihas เป็นแบรนด์ย่อยที่แตกสาขาออกมาจากแบรนด์ Boriboth ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2563 โดยดำเนินการผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายผสมผสานระหว่างรูปแบบ streetwear และ resortwear มีเป้าหมายที่จะเป็นแบรนด์แฟชั่นยั่งยืนผ่านการใช้วัตดุดิบคงค้างจากโรงงานต่าง ๆและการทำงานร่วมกับชุมชนช่างทอผ้าฝ้ายที่จ.สกลนคร โดยมุ่งเน้นไปที่เส้นใยธรรมชาติ โดยแบรนด์จะทำการออกแบบด้วยแนวคิดการออกแบบที่เป็นกลาง (universal) ให้สามารถสวมใส่ได้ทุกเพศทุกวัย (unisex) อีกทั้งทำเพียงขนาดเดียว (unisize) ทั้งนี้ลูกค้าสามารถสั่งตัดพิเศษตามขนาดได้ เพื่อลดจำนวนสินค้าคงคลังและลดขยะที่อาจเกิดจากการผลิตมากเกินจำเป็น
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept)
แบรนด์ Brihas by boriboth มีแนวคิดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายแบบ unisex ที่ผสาน resortwear และ streetwear เข้าด้วยกัน มีกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าวัย 30 ปีขึ้นไป ที่มีแนวคิดทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในระดับหนึ่ง
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
จุดเด่น วัตถุดิบที่เป็น BCG เช่น ผ้าคงค้างจากโรงงาน, ผ้าทอมือจากชุมชน, การใช้สีย้อมจากธรรมชาติ, เทคนิค silk screen
5. แบรนด์ SSIDON นักออกแบบ นางสาวศศิลดพิชญ์ บุญปราการ
จากการทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการออกแบบเครื่องแต่งกายจากเสื้อผ้ามือสอง ภายใต้แนวคิดคตินิยมเปลี่ยนแนว เพื่อต้องการลดต้นทุนเรื่องวัสดุที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ สู่การต่อยอดและพัฒนาให้สามารถใส่ได้จริง ในรูปแบบ ready-to-wear โดยมีดีไซน์ เทคนิคในเรื่องของการดีคอนสตรัคชั่น
ศึกษาจากความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ รวมถึง ข้อแนะนำ ติชม จากการออกผลิตภัณฑ์ รวมถึงการดูตลาด เทรนด์ แรงบันดาลใจของผู้ออกแบบ ความต้องการ ณ ขณะนั้น หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นกระแสนิยมในระยะใกล้ ซึ่งในการออกแบบและขั้นตอน Production จะเป็นไปในลักษณะที่สามารถผลิตซ้ำได้ เพื่อให้สามารถส่งงานให้ OEM หรือช่างตัดเย็บสามารถทำงานได้
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
จุดเด่น
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายจากผ้ามือสองที่มีคุณภาพดี ผ่านกระบวนการออกแบบ ตัดเย็บใหม่ ด้วยรูปแบบที่มีดีไซน์และเทคนิคจากการดีคอน
6. แบรนด์ Simism นักออกแบบ นายชลกร แผลงมน
Simism แนวคิดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายแบบ Modular Design ที่สามารถแยกส่วนและประกอบกันได้คล้ายตัวต่อ สามารถ Mix & Match ได้มากกว่าเสื้อผ้าทั่วไป และมีความยืดหยุ่นในการสวมใส่ เนื่องจากสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการได้ เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ให้แก่ผู้บริโภค ลดความเบื่อหน่ายที่มีต่อเสื้อชิ้นเดิม
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept)
แบรนด์ Simism นำองค์ความรู้ในการวิจัยด้านสิ่งทอที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) มาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยเริ่มจากการนำขยะสิ่งทอมาเป็นวัตถุดิบหลัก และเลือกใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เน้นการผลิตแบบ Zero Waste และ BCG Model เพื่อความยั่งยืนของสังคม โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสวมใส่เสื้อผ้าของผู้บริโภค ที่จากเดิมคือบริโภคตามแนวคิด Fast Fashion ซึ่งได้สร้างขยะและมลพิษต่ออากาศและน้ำให้กับโลกเป็นอย่างมาก มาเป็นแบบ Circular Fashion ที่เลือกใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
แบรนด์ Simismเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งผสมผสานครีเอทีฟสตรีทแฟชั่น ผู้ซื้อสามารถสวมใส่ไปออกงานหรือแม้แต่ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเสื้อผ้าของแบรนด์ Simismมีการออกแบบที่นึกถึงฟังก์ชั่นการใช้งานของลูกค้าเป็นองค์ประกอบหลัก โดยการสังเกตุจากพฤติกรรมของลูกค้าที่ได้ซื้อผลงานของทางแบรนด์กลับไป มีความต้องการทางลูกเล่นของเสื้อผ้าการครีเอฟเสื้อผ้าต่างๆ แต่ยังมีการคำนึงถึงความคุ้มค่าในราคาที่ต้องจ่าย ทางแบรนด์ Simismจึงหยิบเอาหัวใจความต้องการของลูกค้าตรงนี้มาออกแบบผสมผสาน ให้เกิดมุมมองใหม่ในการสวมใส่เสื้อผ้าที่สนุกมากยิ่งขึ้น
จุดเด่น
แบรนด์ Simism เลือกใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการ ฟอก ย้อม พิมพ์ การตกแต่งสำเร็จ รวมไปถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เน้นการผลิตแบบ Zero Waste และ BCG Model เพื่อความยั่งยืนของสังคมสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้สูงในกระบวนการผลิตแบบ Clean Technology เลียนแบบได้ยาก เนื่องจากเป็นสินค้าที่ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะทาง
7.แบรนด์ Detail D นักออกแบบ นายรพิ ทิมอุดม
แบรนด์ Detail D เป็นแบรนด์ลูกของDetail ซึ่งได้เปิดกิจการรับตัดเสื้อผ้าสตรีมาตั้งแต่ พ.ศ.2534 โดยเน้นไปที่ผ้าไหมไทยมาตั้งแต่ตอนต้น ทำให้ทางแบรนด์มีเศษผ้าไหมแท้ จำนวนมากจึงมีความคิดที่จะเสื้อผ้าแนว ready to wear ที่ทำมาจากเศษผ้าไหมที่เหลืออยู่ในคลังผ้าและได้ถือกำเนิดเป็นแบรนด์ Detail D ขึ้นมาในพ.ศ.2563 โดยจุดเด่นของแบรนด์ Detail D คือการออกแบบตัดเย็บเพื่ออำพรางจุดด้อยของลูกค้า เมื่อสวมใส่แล้วจะสวยงามโดนเด่นและเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ด้วย โดยเฉพาะลูกค้าชาวต่างประเทศ และมีผูกกับ OEM ในการตัดเย็บเสื้อผ้า Detail D เบื้องต้นแล้ว 20 ตัว
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept)
แบรนด์ Deatail D ได้เกิดแนวคิดในการใช้เศษผ้าไหมที่ทางแบรนด์มีอยู่โดยใช้การตัดต่อเศษผ้าและจะมุ่งเน้นที่จะทำเสื้อผ้า ready to wear จากเศษผ้าไหม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสุภาพสตรีวัย30ขึ้นไปเป็นส่วนหลัก
ประเภทผลิตภัณฑ์: เสื้อผ้าสุภาพสตรี
ที่ทำมาจากเศษผ้าไหมที่เหลือใช้และผสมผสานการย้อมผ้าคูลโหมดและมีการใช้เทคนิคการพิมพ์ลายเครื่องปั้นดินเผาโนนสูงเข้าไปผสมในผ้าด้วย การออกแบบเสื้อผ้าจะเน้นไปที่ความเรียบหรู สามารถสวมใส่ได้ทุกโอกาสไม่ว่าจะเป็น ทำงานตอนกลางวันและสามารถไปงานกลางคืนได้เลยเพราะจะมีการตัดเย็บที่สามารถสวมใส่ได้ทั้งสองด้าน
จุดเด่น
1) การให้เศษผ้าไหมที่มีคุณภาพ
2) การตัดเย็บที่ทันสมัยและเรียบหรูที่ทำให้เสื้อผ้าสามารถสวมใส่ได้ 2 ด้าน
3) การย้อมสีผ้าจากดินคลูโหมดและการพิมพ์ผ้าจากสีธรรมชาติ
8. แบรนด์ Cool Monkey X : นักออกแบบ นางสาววีชญาดา ศรีทุมมา
Cool Monkey X เป็นแบรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2563 โดยเป็นแนวคิดที่ต่อยอดจาก Cool Monkey ซึ่งเป็นธุรกิจเสื้อผ้ามือสอง หลังจากที่เริ่มต้นในปี 2560 จากเงินลงทุน 1 แสนบาท ทำการเปิดขายหน้าร้านและช่องทางออนไลน์บ้างเล็กน้อย โดยเริ่มจากความชอบเสื้อผ้ามือสองเป็นทุนเดิม โดยเฉพาะเรื่องการออกแบบ การตัดเย็บ และลวดลายผ้าเฉพาะตัวของสินค้าแต่ละชิ้นที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งก่อนหน้าที่จะเริ่มสร้างแบรนด์ เจ้าของร้านพบว่า การซื้อเสื้อผ้ามือสองตามตลาดนัดมีความไม่สะดวกสบาย ทั้งจากอากาศร้อน ฝุ่นเยอะ และห้ามลอง ไม่มีบริการใดๆทั้งสิ้น จึงเกิดไอเดียที่จะสร้างธุรกิจที่แก้ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมา และทำให้คนที่มีความชอบคล้ายๆกันได้มาเดินเลือกซื้อสินค้ามือสองด้วยความสะดวกสบาย ลองได้ พร้อมทั้งได้รับบริการและคำปรึกษาที่ดีจากพนักงาน ช้อปสบาย,ราคาประหยัด คุณภาพเกินคุ้ม และมีเอกลักษณ์ในตัวสินค้าแต่ละชิ้น
หลังจากทำธุรกิจเสื้อผ้ามือสองมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง เจ้าของธุรกิจมีความต้องการที่จะสร้างแบรนด์เพื่อให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบเสื้อผ้ามือสองและต้องการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่ม Premium มากขึ้น โดยกระบวนการผลิตสินค้าของแบรนด์จะทำการออกแบบด้วยความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน และทำการตัดเย็บด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ โดยที่จะมีกำลังผลิตอยู่ที่ 200 – 500 ชิ้นต่อเดือน และแบรนด์มีความต้องการที่จะขยับขยายทำการส่งออกไปยังประเทศ
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept)
แบรนด์ “Cool Monkey X” มีแนวคิดการทำเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายแบบ ready to wear ภายใต้แนวคิดของเสื้อผ้าแฟชั่นยั่งยืน มีจุดเด่นอยู่ที่วัสดุที่ใช้ คือการนำเสื้อผ้ามือสอง หรือเสื้อผ้าค้างสต็อก กลับมาเป็นวัตถุดิบและเพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบใหม่ให้ดูมีคุณค่าและน่าสนใจมากขึ้น ที่สำคัญคือมีการผสมผสานวัสดุที่มีการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น สะท้อนความเป็นวัฒนธรรมไทย เช่น การใช้เศษผ้าพื้นเมืองในแต่ละภาคร่วมกับเสื้อผ้ามือสอง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มชายหญิงอายุ 25-40 ปี ที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ของทุกภาคทั่วประเทศ
9. KH EDITIONS นายนภัต ตันสุวรรณ รางวัลชนะเลิศ
“KH EDITIONS” แแบรนด์ DNA สัญชาติไทยที่สร้างสรรค์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายสไตล์ไทยผสมผสานครีเอทีฟสตรีทแฟชั่น ที่ต้องการนำต้นทุนทางวัตถุดิบและต้นทุนทางวัฒนธรรมจากชุมชนในประเทศไทย มาผสมผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เกิดความแปลกใหม่ สร้าง+สรรค์ด้วยเทคนิคใหม่ๆและรูปแบบใหม่ๆ ผ่านการทำงานร่วมกับชุมชนในประเทศไทย บอกเล่าเรื่องราวผ่านการ “ผสานเก่าเล่าใหม่” ที่มีความแตกต่างและความสนุก นำเสนอผ่านเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายตามแบบฉบับของ “KH”
แบรนด์ “KH EDITIONS” จึงเกิดแนวคิดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบผสมผสานครีเอทีฟสตรีทแฟชั่น ที่ผ่านกระบวนการทางความคิดที่ออกแบบเครื่องแต่งกายจากผ้าไทยและของเหลือใช้นำกลับมาใช้ใหม่ ให้มีความโดดเด่นและทันสมัย โดยผ่านกระบวนการออกแบบแพทเทิรน์และการตัดเย็บที่ประณีตและคำนึงถึงคุณภาพและประสิทธิ์ภาพของตัวผลงานของเราเป็นหลัก โดยกลุ่มเป้าชองเราคือลูกค้าที่หลงรักแฟชั่น หรือบุคคลที่หลงใหลในครีเอทีฟไทย แม้แต่ลูกค้าที่ติดตามหรืออุดหนุนแบรนด์ KH EDITIONS เป็นพื้นฐานอยู่เดิม
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
แบรนด์ “KH EDITIONS” เป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งผสมผสานครีเอทีฟสตรีทแฟชั่น ผู้ซื้อสามารถสวมใส่ไปออกงานแฟชั่นวีค งานปาร์ตี้เฟสติเวิลต่างๆ หรือตามความพึ่งพอใจของผู้ซื้อได้ในทุกๆขณะที่ประสงค์ เนื่องจากเสื้อผ้าของแบรนด์ KH EDITIONS มีความดึงดูดแปลกตามหน้าสนใจต่อผู้พบเห็นเพราะมีเอกลักษณ์ผ้าไทยทอมือพื้นเมืองของภาคเหนือเข้ามาประยุกต์ใส่กับเส้นดายสีเรืองแสงที่เหลือใช้ ทำให้เกิดมิติใหม่และมีลูกเล่นที่แปลกตาอย่างมากจึงเหมาะกับเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่ในโอกาสพิเศษ
จุดเด่น
แบรนด์ “KH EDITIONS” ใช้เทคติคการย้อมจากสีธรรมชาติเป็นหลัก เป็นกระบวนการปั่นฝ้ายเข็นมือและทอมือโดยมีด้ายยืนเป็นเส้นฝ้ายส่วนด้ายพุ้งเป็นฝ้ายสลับทอกับเส้นเชือกเรืองแสงที่เหลือใช้ แล้วนำมาผ่านกระบวนการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ทันสมัยครีเอทีฟสตรีทแวร์ ในแบบฉบับแบรนด์ KH EDITIONS
10. Mysteryshop.bkk นายกฤษฎา เพ็ชรหงษ์
“Mysteryshop.bkk” เริ่มต้นจากธุรกิจโรงแรม ของตัวเองที่ชื่อ MYSTERY HOSTEL ตอนนั้นที่ใช้ชื่อว่า Mystery เพราะอยากได้คอนเซ็ปโรงแรมที่เป็นโรงแรมปริศนา เพื่อให้คนรู้สึกตื่นเต้นว่าโรงแรมนี้มันคืออะไรเข้าไปแล้วจะเจออะไรบ้าง แล้วด้วยพิษเศรษฐกิจทำให้การท่องเที่ยวซบเทรา เลยต้องหารายได้อีกทางเพื่อมาพยุงโรงแรม เลยกลับมาทำเสื้อผ้า เพราะเมื่อสองปีที่แล้วก็เคยทำเสื้อผ้าขาย เป็นเสื้อคลุม “กิโมโน” เลยใช้แอ็คเคาท์ Instagram เดิมนำมาเปลี่ยนชื่อ เป็น Mysteryshop.bkk ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept)
แบรนด์ “Mysteryshop.bkk” แนวคิดในการจัดการแก้ไขปัญหาขยะแฟชั่นที่ไม่ใช้แล้ว เช่น เสื้อผ้ามือสอง ผ้ามือสอง รองเท้ามือสอง หรือแม้แต่อะไหล่,วัสดุ ล้วนเป็นของมือสองที่ไม่ใช้แล้ว นำมาสร้างซิลูเอทแบบใหม่ทำให้ของมือสองต่างๆ ที่ไม่มีคุณค่าในสายตาของใครหลายๆคน กลับมามีชีวิตและสลัดภาพจำที่ไม่มีคุณค่า ทำให้มีความหรูหราน่าสวมใส่ และผสมผสานคุณค่าผ้าทอมือของไทย นั้นคือผ้าทอลายน้ำไหลจากจังหวัด น่าน มีกลิ่นอาย Cultural Street Wear ที่เพิ่มมูลค่าของมือสองและผ้าไทยได้อย่างลงตัว โดยผ่านการ custom made ที่ละชุดทีละชิ้นอย่างปราณีต ทั้งในงานแพทเทิร์น และงานตัดเย็บของทางแบรนด์ Mysteryshop.bkk
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
แบรนด์ “Mysteryshop.bkk” เป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งผสมผสานความป็นไทยและสตรีทแฟชั่นสูงมาก ผู้ซื้อสามารถสวมใส่ไปออกงานแฟชั่นวีค งานปาร์ตี้เฟสติเวิลต่างๆ หรือตามความพึ่งพอใจของผู้ซื้อได้ในทุกๆขณะเพราะเสื้อผ้าออกแบบมาให้อยู่ในฤดูกาลของซัมเมอร์สามารถมิคแอนแมตได้หลากหลายกับเสื้อผ้าตัวโปรดของลูกค้าชุดอื่นๆได้ และเนื่องจากเสื้อผ้าของแบรนด์ Mysteryshop.bkk มีความดึงดูดแปลกตา โดดเด่นหน้าสนใจต่อผู้พบเห็น เพราะมีเอกลักษณ์ผ้าไทยทอมือ ลายน้ำไหล พื้นเมืองจังหวัดน่าน เข้ามาประยุกต์ใส่กับเสื้อผ้ามือสองที่ขายในท้องตลาด ทำให้เกิดมิติใหม่มีมูลค่าผสมงานปักจากช่างปักผ้ามากฝีมือและมีลูกเล่นที่แปลกตาอย่างมากจึงเหมาะกับเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้ทุกโอกาส
จุดเด่น
ใช้เสื้อมือสองและของเหลือใช้เป็นหลักในการออกแบบผลงานชุดนี้ และการผสมผสานผ้าไทย ผ้าฝ้ายทอมือ ลายน้ำไหล จากจังหวัดน่าน โดยเป็นกระบวนการปั่นฝ้ายเข็นมือและทอมือ แล้วนำมาผ่านกระบวนการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ทันสมัยครีเอทีฟสตรีทแวร์ ในแบบฉบับแบรนด์ Mysteryshop.bkk
11. แบรนด์ ARAYASANTISA นักออกแบบ นางอารยา ศานติสรร
ARAYASANTISAN เป็นธุรกิจที่มีแนวคิดด้านการออกแบบงานผ้าศิลปะ (Wearable-ART) และนำเสนอการใช้งานตามแนวทาง Circular Economy ในลักษณะของรูปแบบผ้าพันคอแนวใหม่ที่ผสานงานศิลปะและหัตถกรรมเข้ากับเทคโนโลยีสิ่งทอและงานพิมพ์ ที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้หลากหลาย มีความงามของท้องถิ่น และส่งเสริมสุขภาพ
แบรนด์ ARAYASANTISAN ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2562 โดยผศ. อารยา ศานติสรร อดีตอาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แบรนด์ ARAYASANTISAN ไม่ได้นำเสนอแค่สินค้าเพื่อการซื้อ-ขาย แต่มุ่งหวังในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมเพื่อการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในรูปแบบ “ห้องเรียนกลับด้าน” ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ลูกค้าสามารถผลิตลายผ้าได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการพัฒนาสินค้า Personalization โดยการร่วมกิจกรรมต่าง ๆที่จัดขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะด้านศิลปะและสุนทรียศาสตร์ รับความรู้ในการออกแบบและแนวคิด Circular Living.ในการใช้งานสินค้าแบบใช้ซ้ำ และใช้ได้หลากหลาย แนวคิดดังกล่าวมาจากการเชื่อมโยงวิธีคิดการใช้งานผ้าขาวม้าที่ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย แรงบันดาลใจดังกล่าว เป็นแรงกระตุ้นให้ ผศ. อารยา ศานติสรร คิดค้นงานออกแบบผ้าพันคอที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ในแนวทาง DIY และผลิตเป็นSmart Scarf ตามเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อตอบโจทย์นักเดินทางท่องเที่ยวและผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ
ก้าวต่อไปในอนาคต เพื่อให้การดำเนินธุรกิจตอบสนองความต้องการของสังคมได้มากขึ้นและเพื่อการเติบโตของธุรกิจเป็นแบรนด์ที่ยั่งยืน ตามแนวทาง BCG Model แบรนด์ ARAYASANTISAN มุ่งหวังที่จะขยายความสามารถของธุรกิจไปสู่การใช้วัตถุดิบแบบ ออร์แกนิคคอตตอน หรือผ้าใยธรรมชาติ และขยายไลน์เพิ่มด้านการออกแบบเสื้อผ้าดีไซน์แนวเสื้อห่อหุ้ม Wrapping Dress และเสื้อคลุม Coat รวมทั้งอุปกรณ์และของใช้ภายในบ้าน เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ฟูกสำหรับนอน สำหรับการใช้งานในครัว ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ในการตกแต่งอาคาร
ทิศทางดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นแรงบันดาลใจที่กระตุ้นให้แบรนด์ ARAYASANTISAN มุ่งสู่ทิศทางการสร้างนวตกรรมการออกแบบผ้าพันคอแฟชั่นที่มีคุณสมบัติเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อการเดินทางที่ปลอดภัย ผสานการประยุกต์กับผ้าของเก่าที่เหลือใช้จากระบบที่อยู่อาศัย นำมาออกแบบเพื่อการใช้งาน Cultural Street Wear ตามหลักการ BCG Model และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept)
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
จุดเด่น
ลวดลายพื้นถิ่น ผ้าใยธรรมชาติ 100 %
12. แบรนด์ ครามพล นักออกแบบ นายรัฐพล ทองดี
แบรนด์ ครามพล แบรนด์แปรรูปเสื้อผ้าจากผ้าใยธรรมชาติโดยดำเนินการผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสำหรับสุภาพบุรุษ ที่มีงานฝีมือจากชุมชนเป็นส่วนประกอบหลัก แบรนด์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2561 เริ่มต้นจากเงินลงทุน 50,000 บาท โดยจดทะเบียน Otop ทำการเปิดขายช่องทางออนไลน์ และออกบูทแสดงสินค้าตามห้างสรรพสินค้า มีความต้องการที่จะเปิดหน้าร้าน เพื่อให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้ทั่วถึงและครอบคลุม โดยกระบวนการผลิตสินค้าของแบรนด์จะทำการออกแบบเองให้มีความทันสมัย ทำการตัดเย็บและปักด้วยฝีมือชุมชนที่มีคุณภาพโดยที่จะมีกำลังผลิตอยู่ที่ 10-20 ชิ้นต่อเดือน
แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept)
แบรนด์“ครามพล” ร่วมอนุรักษ์ และฟืนฟูสิ่งแวดล้อมด้วยการนำเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บในชุมชน มาผ่านกระบวนแปรรูป ให้อยู่ในรูปแบบ Street Fashion ที่มีงานปักเส้นด้ายจากชุม เป็นส่วนประกอบหลัก ภายใต้แนวคิด BCG Economy โดยมีกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า เพศชาย อายุ 35-45 ปี ชอบผ้าใยธรรมชาติและงานฝีมือ
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
ธุรกิจขายเสื้อผ้าที่เน้นการออกแบบที่ทันสมัย สามารถใช้งานได้ในหลาย ๆ โอกาส เช่น
1) งานเลี้ยงสังสรรค์
2) ทำงาน
3) พักผ่อนในวันหยุด
4) ท่องเที่ยว สินค้าจะผลิตจากเส้นใยธรรมชาติเช่น ใยฝ้ายหรือ ใยลินิน เนื้อผ้ามีความทนทาน ผู้สวมใส่จะรู้สึกสบาย ระบายเหงื่อได้ดี โดยลวดลายการย้อมและงานปักนั้นจะผลิตด้วยฝีมือชาวบ้านตามพื้นที่ในชนบท (Hand Made)
จุดเด่น
1) การย้อมสีครามธรรมชาติ
2) ปักลายด้วยมือ ไม่ใช้เครื่องจักร
3) ผลิตจากใยธรรมชาติ สวมใส่สบาย
4) การออกแบบที่ทันสมัย