FashionShow : Fashion Generation 5, The Stylistic Art
Academy : Rajamangala University of Technology Krungthep, RMUTK
Venue : Bangkok Art and Culture Center
Date/Time : 30 March 2013, 18.00
Fashion Generation 5, The Stylistic Art
Click here to Google Photo Gallery
ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จัดให้มีการแสดงผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ ๔สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ในรูปแบบแฟชั่นโชว์ โดยมีชื่องานว่า“FASHION GENEREATION 5”ภายใต้แนวความคิด “The Stylistic Art” ซึ่งเป็นการนำแนวการสร้างงานทางศิลปะในแต่ละยุคสมัยมาประยุกต์ใช้กับแนวทางการออกแบบผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆมา จัดทำเครื่องแต่งกายและเครื่องประกอบการแต่งกาย โดยงานจะจัดขึ้นในวันที่ ๓๐มีนาคม ๒๕๕๖เวลา ๑๖.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ห้องอเนกประสงค์ ชั้น ๑เพื่อเป็นเกียรติกับนักศึกษา ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงานในวันและเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ได้แนบในกำหนดการและบัตรเข้าชมงานพร้อมเอกสารชุดนี้แล้ว และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะมอบโอกาสให้กับนักศึกษา
Stylistic Art
ความรู้สึกนึกคิด เกิดเป็นแรงบันดาลใจจากความงดงามในแง่มุมที่แตกต่างกัน ถูกสรรค์สร้างที่สะท้อนเรื่องราวผ่านสังคม ก่อให้เกิดศิลปะในมุมมองที่ใหม่ โดยมีโครงงานทางการออกแบบแฟชั่นดังนี้
– การสลายโครงสร้างกางเกงเพื่อการออกแบบประกอบใหม่เป็นเครื่องแต่งกายสตรี RECONSTRUCTION FOR DECONSTRUCTION PANTS NEW PAIR OF WOMEN’S APPAREL
– การเปลี่ยนรูปร่างชิ้นส่วนขวดพลาสติกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
MODIFIED PLASTIC PARTS FOR THE REUSE ECO-DESIGN
– การออกแบบเสื้อคลุมเด็กก่อนวัยเรียนที่สามารถปรับรูปแบบการใช้งานเป็นที่นอนเอนกประสงค์
JACKET DESIGN FOR PRESCHOOL CHILD CAN DEVELOP INTO MATTRESS
– การย้อมสีธรรมชาติกกเหลือใช้เพื่อทำเป็นกระเป๋าสตรีและบุรุษ
DYEING NATURAL REUSED UMBELLAPLANT FOR RADIES AND GENTLEMEN BAGS
– การย้อมผ้าไหมด้วยสีจากเปลือกกล้วยน้ำว้า
DYEING OF SILK WITH A BANANA PEEL
– สภาวะที่เหมาะสมต่อการพัฒนาหนังกบเพื่อการออกแบบเครื่องประกอบการแต่งกาย
THE DEVELOPMENT OF FROG SKIN TO IDEAL CONDITION FOR ACCRSSORIES DESIGN
– การออกแบบชุดชั้นในที่สามารถเพิ่มประโยชน์การใช้งานเป็นชุดโอกาสพิเศษ สำหรับสาวประเภทสอง
DESIGN BRASSICRC CAN BE USEFUL FOR A SPECIAL OCCASION FOR LADYBOY
– การทำสีระบายผ้าสกัดจากชาและกาแฟ
COLOUR MAKING BY TEA AND COFFEE EXTRACTION TO PAINTING FABRIC
– การย้อมผ้าไหมด้วยดอกดาวเรืองและเทคนิคการย้อมทับจากวัสดุธรรมชาติ
DYEING SILK FROM MARIGOLD AND TECHNIQUE NATURE COLOUR DYE LAYER
– การปรับเปลี่ยนแบบชุดสำหรับศิลปินเพื่อการแสดงบนเวที
MODIFICATIONS A SERIES FOR ARTISTS TO PERFROM ON THE STAGE
– การออกแบบกระเป๋าจากกล่องกระดาษลูกฟูกเหลือใช้สำหรับสตรีวัยรุ่นด้วยรูปทรง
เลขาคณิต
THE DESIGN BAG BY CORRUGTED RECYELE FOR TEENAGE GIRL BY GOMETRIC SHAPE
– การเปรียบเทียบผ้ากับแบบตัดสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคการตกแต่งจากโลหะ
THE COMPARISON OF TISSUE TYPES AND CUTTING PATTERNS BY USING THE TECHNIQUE OF METAL EMBROIDERY DESIGNS
– การตกแต่งย้อมสีผ้าถักนิตใยผสมด้วยดินและแป้ง
THE DECORATE DYING FIBER BLEND KNILTED WITH SOIL AND STARCH
– การย้อมสีเส้นไหมด้วยผลมะเกลือสดและการหมักโคลน
DYEING SLIK WITH A FRESH EBONY AND COVER WITH CLAY
– การออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อป้องกันผู้สวมใส่จากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายในขั้นต้น
DESIGN CLOTHES FOR PROTECT ELECTRIC CURRENT
– การออกแบบตกแต่งผิวสัมผัสผ้ามัดหมี่ภายในคลังสินค้า
THE SURFACE IKAT DESIGN IN OLD STOCK
– การปรับรูปแบบชุดลำลองสำหรับวัยรุ่นด้วยเทคนิคการตัดปะ
APPLIQUE’ TECHNIQUES BY ADAPTING THE CASUAL WEAR FOR TEENAGER
– การนำเศษเส้นด้ายที่เหลือใช้จากการทอผ้ามาพัฒนาในการออกแบบชุดลำลองสตรีด้วยการถัก
LOFTOVER YARN DEVERLOP DESIGN FOR WOMEN CASUAL BY UNITTING
– กระบวนการย้อมโคลนที่มีผลต่อผ้าที่ย้อมด้วยลูกสมอไทย
– การออกแบบแบบตัดสร้างสรรค์ชุดราตรีโดยใช้ผ้าที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน
– การนำลวดลายผ้าพื้นเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องประกอบการแต่งกายจากพลาสติกเหลือใช้
ROI ET NOTIVES THE PATTERN APPLIED IN THE DESIGN OF THE COSTUMES OF PLASTIC DECARDS
– การพัฒนาการออกแบบแบบตัดสร้างสรรค์จากรูปทรงเลขาคณิต แบบอักษรภาษาอังกฤษสำหรับชุดสตรีวัยทำงาน
– DEVELOPMENT OF PATTERN MAGIC DESIGN FROM GEOMETRY ENGLISH FONT FOR WORKING WOMEN DRESS
– การปรับเปลี่ยนรูปแบบรองเท้าบู๊ทสตรีที่ผ่านการใช้งานแล้ว ให้สามารถสวมใส่ได้ตามฤดูกาล
THE BOOT RECYCLE DESIGN TO BE USED IN COUNTRIES WITH COLD WEATHER