เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมทำข่าว เก็บภาพงาน Fashion Show หลายงาน สิ่งที่ได้เห็นคือ จำนวนผู้เข้าชมงาน “น้อยลง” อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ ที่ยากในการประเมินว่า อะไรคือ เหตุผลให้คนชมแฟชั่นโชว์น้อยลง

ผู้ที่ได้เข้าชมงานแฟชั่นโชว์ในระยะหลัง เชื่อว่า พบเห็นคล้ายๆกัน และไม่อยากเชื่อว่า คนไม่ดูงานแฟชั่นกันแล้วจริงหรือ เป็นเพราะอะไร เรามาลองไล่สาเหตุแบบนั่งเทียนกันดู

การประชาสัมพันธ์น้อย – สิ่งนี้เป็นเหตุผลลำดับแรกสุด คือ ผู้ชมทราบข่าวงานหรือไม่
– งานปิด ต้องใช้บัตรเชิญ และเป็นแขกที่ได้รับเลือกจากทีมพีอาร์ และแบรนด์เท่านั้น  ถ้าแขกพอดีกับที่นั่ง และแขกมาไม่ครบ ที่นั่งก็จะว่าง
– งานเปิด สามารถเข้าลงทะเบียนเข้าชมงานได้เลย อันนี้กลุ่มคนเป้าหมายจะหลากหลาย อาจไม่ตรงกับที่ทางแบรนด์ต้องการ

การประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปรับรู้ว่า มีงานที่ไหน เมื่อไหร ผมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะให้คนได้รับรู้ว่ามีงานในวงกว้าง แล้วจึงกำหนดกรอบว่า ใครที่จะได้เข้างาน ผมมีความรู้สึก(เอาเอง)ว่า หลังๆฝ่ายจัดงาน กับฝ่ายเผยแพร่หรือเชิญแขก ทำงานไม่ประสานกัน ทำให้คนมาร่วมงานรู้สึกงงๆ ว่างานนี้เขาขายอะไร โชว์อะไร

มีหลายงานใหญ่ ที่ผมมองว่า อ่อนประชาสัมพันธ์ คนทั่วไป และแขกคนสำคัญ ไม่ได้รับรู้ว่าจะมีงานเมื่อไหร แล้วไปได้ไหม ถ้าเป็นสิ่งที่เคยเล่าเรียนมา ก็คงนึกถึง หนังสือพิมพ์, วิทยุ, ทีวี และแม๊กกาซีน  ปัจจุบันคง Social Media อันนี้ต้องไปถามคนในวงการว่า อันไหนมี impact มากกว่ากัน ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้วได้ผลจริงหรอ กลุ่มคน Target เข้าถึงไหม แล้วเกิดการจดจำด้วยหรือไม่ เยอะไปหมด

แต่ปีที่แล้วและปีนี้ ผมสัมผัสได้เลยว่า งานแฟชั่นวีคนั้น คนรับรู้น้อยลง และรู้กันเฉพาะวงแคบๆ แม้ว่างานแอลจะตบตีเอาบัตรกันเช่นเดิม แต่กลุ่มผู้ชมใหม่ ส่วนงาน bifw คนจะรับรู้เฉพาะแบรนด์ใหญ่ และคนน้อยในแบรนด์รองลงมา ซึ่งก็สามารถรับบัตรได้ที่โต๊ะลงทะเบียน ปีนี้ทีมพีอาร์ใหม่ น่าจะมีนโยบายใหม่ ต้องรอชมกัน

จ้างทีม PR เชิญแขก หรือเชิญแขกเอง – ในการจ้างทีม PR เชิญสื่อมวลชน และเชิญแขก VIP ถือเป็นปกติวิสัย และมีค่าใช้จ่ายอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม มีหลายแบรนด์และหลายกลุ่ม ที่ได้ใช้ social media ในการแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ รวมถึงการเชิญ อันนี้ผมไม่แน่ใจเลยว่าได้ผล เพราะตัวผมเอง ไม่เคยสนใจการเชิญทาง social media   ไม่ได้เข้าไปดูในจุดนี้หรือลิงค์เหล่านี้  การเชิญจะรู้สึกว่า ได้รับเกียรติในการเชิญ  การส่งวงกว้างเหมือน ไปก็ได้ไม่ไปก็ได้ ไม่แคร์ อย่างนั้นหรือ ฉะนั้นเวลามี invitation ให้ไปดู facebook event จะไม่เข้าไปดู ไม่กด yes, no ,may be หรือกด like ใช้ได้ในชีวิตจริงหรือ

ส่วนทีม PR นั้น จะมีการ follow งานด้วยการ ทำสรุปมาให้ว่า ใครมาร่วมงาน สื่อลงข่าวไหม คนทำงานก็จะทราบว่า งานนั้นๆ ออกมาเป็นอย่างไร มากกว่า การมองดูคนในงานว่า คุ้นหน้าคุ้นตาไหม คนเยอะไหม ที่สำคัญ เขาเป็น “ลูกค้าจริง” ไหม

ในส่วนของนักข่าวนั้น PR จะส่งหมายงาน 1-3วันล่วงหน้า (บางสื่อได้รับแจ้งนานกว่านั้น) แขกได้รับแจ้ง 2-3 สัปดาห์ล่วงหน้า

กลุ่มคนทั่วไป อยากเข้าชมงานต้องทำอย่างไร – อันนี้ถือเป็นลูกเมียน้อย คือ ไม่ได้รับเชิญ แต่อยากเข้าร่วมงาน ที่สำคัญ ถ้าขายบัตร ยินดีซื้อบัตร Front Row
ถ้าเป็นทางแบรนด์ ทำเอง จะมีช่องทางในการลงทะเบียนเป็นกิจจะ แต่ถ้าเป็นทางห้าง อาจไม่มีในจุดนี้ และไม่ทราบ
หลายคนที่เคยไปชมแฟชั่นโชว์ที่ต่างประเทศ จะทราบดีว่า เขามีส่วนของการเชิญ VIP กับการขายบัตร แยกกัน ความสำคัญเท่ากันหรือไม่ แล้วแต่งานไป แต่ก็น่าคิดนำไปต่อยอดว่า คนที่อยากเข้าชมโชว์อย่างมาก จนซื้อบัตรนั้น เขาเป็น Potential Customers ด้วยหรือไม่  และถ้าเป็นลูกค้าอยู่แล้ว ทำไมไม่ได้รับเชิญ  ผมว่า น่าจะลองแยกฝั่งซ้ายขวา บัตรเชิญ และบัตรขาย ให้ทราบว่า การแสดงแฟชั่นโชว์นั้น มันคือการลงทุน และต้องการผลตอบแทน  เดินโชว์เสร็จ ขายของเลยยิ่งดี เพราะเราเดินแฟชั่นฤดูกาลปัจจุบัน ของขายอยู่แล้ว ไม่ใช่ฤดูกาลล่วงหน้าอย่างประเทศอื่นๆเขา “ตีเหล็ก ต้องตีตอนร้อน” คนกำลังอยาก น่าจะตอบสนองเขา

ที่กล่าวมานี้ ก็อยากเห็นงานคนดูเยอะๆ คนจัดปลาบปลื้ม คนทำงานดีใจ  คนที่ทำงานจะทราบดีว่า ThaiCatwalk คืออะไร ต้องการอะไร จริงใจหรือจิงโจ้  ล่าสุดก็มีสื่อต่างประเทศ (เมกา ยุโรป) ติดต่อเข้ามา อยากทำแนวสารคดีแฟชั่นเอเซีย ผมก็ชี้แนะไปว่า มีงานแฟชั่นวีคแบบไหน ลักษณะเป็นอย่างไร แล้วให้ดูตัวอย่างงานในลิงค์ที่ส่งให้ จากนั้นก็ติดต่อตรงกับพีอาร์ของแต่ละงานได้เลย ผมก็ทำหน้าที่ได้เพียงเท่านี้ คือไม่ได้ตังค์ค่าสร้างภาพ ก็ตอบเท่าที่จะช่วยได้ ผลเป็นอย่างไร เสียใจที่ไม่ได้ตามต่อครับ

ขอบคุณครับ
Jade (หยก) ThaiCatwalk

Published by Jade-ThaiCatWalk

Editor - ThaiCatwalk.Com and Runway Photographer PR, Brand Acknowledgement, Advertorial