FashionShow : Fashion V Together, The Student Fashion showcase
Academy : Dhurakij Pundit, Kasembundit, Thanyaburi, Phra Nakorn
Venue : DPU
Date/Time : 5 March 2012, 13.00

Fashion V Together, The Student Fashion showcase

Click here to Google Photo Gallery

ชื่องาน Fashion V Together, The Student Fashion showcase

4 มหาวิทยาลัย
1. มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์
2. มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิตย์
3.มหาวิทยาลัย ราชมงคลพระนคร วิทยาเขต โชติเวส
4.มหาวิทยาลัย ราชมงคลธัญญบุรี

ด้วยภาควิชาการออกแบบและธุรกิจแฟชั่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานทางแฟชั่นและโครงการนำเสนอแสดงแฟชั่นโชว์ของนักศึกษาในระหว่างเรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการประมวลผลความรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานสู่สาธารณชน ซึ่งถือเป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จอีกขั้นของนักศึกษา

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร มีการจัดตั้งคณะที่มีการจัดการเรียนการสอนทางการออกแบบแฟชั่นอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น จะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะทางสาขาวิชา และนักศึกษาในแต่ละมหาวิทยาลัยมีความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานทางแฟชั่นให้มีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และการนำเสนอผลงานแฟชั่นที่ได้สร้างสรรค์ในที่สาธารณชนนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในตัวบุคคล ซึ่งในลักษณะของการจัดแสดงผลงานหรือการแสดงแฟชั่นโชว์นั้น มีการดำเนินการหลายขั้นตอน และใช้ผู้ร่วมทำโครงการเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น การขอใช้พื้นที่ในการจัดแสดงงาน การจัดสร้างเวทีแฟชั่นโชว์ การจัดทำสูจิบัตร และการจัดหาจัดจ้างนางแบบ นายแบบ เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งหากเป็นการดำเนินโครงการทั้งหมดนั้น จะต้องมีการวางแผนงบประมาณที่สูงมาก หากต้องการให้ผลงานมีคุณภาพและมีความโดดเด่น เป็นที่น่าประทับใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน

ทั้งนี้หากแต่ละมหาวิทยาลัยที่มีวาระเวลาในการนำเสนอผลงานแฟชั่นโชว์ที่ใกล้เคียงกัน ได้ร่วมสร้างพันธมิตรเครือข่ายทางการออกแบบ ร่วมมือกันจัดทำการนำเสนอผลงานการแสดงแฟชั่นโชว์ และร่วมกันวางแผนงานการดำเนินการทั้งหมด อันจะทำให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการในแต่ละครั้ง อีกทั้งยังเกิดมิติทางการเรียนรู้ใหม่ให้นักศึกษาได้ทำความรู้จัก เกิดการแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็นและประสบการณ์ความรู้ระหว่างกัน ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายทางแฟชั่นในระดับอุดมศึกษา ซึ่งถือเป็นการสร้างการเรียนรู้จากทฤษฎีในชั้นเรียนสู่การปฏิบัติจริงในสายอาชีพ โดยมีการหมุนเวียนกันเป็นศูนย์กลางเครือข่าย เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยซึ่งมีวาระประจำปี

ดังนั้น การเสริมสร้างเครือข่ายการออกแบบทางแฟชั่นในระดับอุดมศึกษา จึงถือเป็นกลยุทธ์สำคัญอีกทางหนึ่งที่จะสนับสนุนองค์กรและสายงานร่วมให้เกิดความแข็งแรง และมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มนักศึกษาในเครือข่าย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ควรแก่การปลูกฝังอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีความก้าวหน้าได้มากยิ่งขึ้น

Published by Tony

Runway Photographer, Seminar & Group Photographer, Vegetarian Guy & Dhamma, Good Work, Nice Guy