FashionShow : Fashion Image Campus – Final Round
Event : FIC 2012
Venue : Terminal 21
Date/Time : 20 August 2012, 13.00
FIC+ 2012, Fashion Image Campus – Final Round
Photo by Nattawat (Jade)
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เร่งปั้นดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ FIC2012ป้อนตลาดอุตสาหกรรมแฟชั่นเสื้อผ้า 8,356 ล้าน US.
Click here to Google Photo Gallery
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เร่งพัฒนานักออกแบบรุ่นใหม่ เพื่อเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย จัด Fashion Image Campus อย่างต่อเนื่อง หลังพัฒนานักออกแบบรุ่นใหม่แล้วมากกว่า 1,700 คน พร้อมมีการสร้างแบรนด์ใหม่มากกว่า 140 แบรนด์ ในปี 2012 ใช้คอนเซปต์ “Fashioning ASEAN: INSPIRED BY THAI CULTURE” ซึ่งจะเป็นผลงานโดยใช้แรงบันดาลใจจากศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิมหรือแบบร่วมสมัยที่ 12 ดีไซน์เนอร์ที่ผ่านเข้ารอบจาก 200 ผลงาน ที่จะมาประชันฝีมือ ผลิตจริง ขายจริง และพร้อมปั้นดีไซน์เนอร์เพื่อเตรียมความพร้อมร่วมประกวดในเวทีระดับโลก หลังปี 54 มียอดส่งออกถึง 8,356 ล้าน US และมีการขยายตัว 8 % แต่ปี 55 ติดลบแล้วกว่า 15 % ตลาดอียู ติดลบหนักถึง 27 %
คุณสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (THTI) เปิดเผยว่า ตั้งแต่เมื่อปี 2550 สถาบันฯ ได้ดำเนินโครงการสร้างคน สร้างแบรนด์ (รุ่นเยาว์) – Fashion Image Campus: FIC 2012 เป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบรุ่นเยาว์ในอุตสาหกรรมแฟชั่นได้กว่า 1,700 ราย และมีการสร้างแบรนด์ใหม่กว่า 140 แบรนด์ โดยมีการพัฒนาแบรนด์อย่างมีคุณภาพและความคิดสร้างสรรค์ และผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้รับโอกาสไปประกวดในหลายๆ เวทีทั้งในระดับเอเชียและระดับโลก
โดยกิจกรรม Fashion Image Campus เป็นกิจกรรมที่สร้างคน สร้างแบรนด์ (รุ่นเยาว์) เป็นโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพนักออกแบบรุ่นเยาว์ที่ระดับภาคการศึกษา เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านแฟชั่น ตลอดจนแนวคิดการพัฒนาและสร้างแบรนด์แฟชั่นให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยกิจกรรมดังกล่าวได้มีการจัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดสร้างสรรค์ผลงานอย่างเป็นรูปธรรมและตรงกับความโจทย์ของการสร้างแบรนด์ พร้อมจัดแสดงผลงานในรูปนิทรรศการและประกวดเพื่อเฟ้นหาสุดยอดดีไซเนอร์
และในปี 2012 สถานบันฯ ได้จัด Fashion Image Campus หรือ FIC 2012 อย่างต่อเนื่องภายใต้ Theme “Fashioning ASEAN: INSPIRED BY THAI CULTURE” ซึ่งผู้เข้าประกวดต้องส่งผลงานโดยใช้แรงบันดาลใจจาก ศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิมหรือแบบร่วมสมัย เช่น ภาพยนตร์ เพลง ละคร ศิลปิน ดารา ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว สามารถนำไปเผยแพร่ให้ชาวต่างประเทศเข้าถึงได้โดยง่าย โดยกติกาการรับสมัครคือ ผู้สมัครต้องส่งผลงาน 1 ชุด ซึ่งนอกจากจะเป็นชุดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมไทยที่กล่าวไว้เบื้องต้นแล้ว ชุดที่ส่งประกวดจะต้องเป็นชุดที่สวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวัน หรือ (Ready to wear) อีกด้วย
คุณสุทธินีย์ กล่าวต่อว่า เวทีนี้เป็นเวทีที่ให้โอกาศนักออกแบบได้ใกล้ชิดกับกูรูแฟชั่นในระดับประเทศผ่านการอบรมสัมมนา รวมทั้งชุดต้นแบบที่ส่งประกวดจะได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะชน ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร งานแสดงสินค้าและงาน exhibition ระดับประเทศเช่น Bif & Bill รวมถึงที่ผ่านมาเราได้นำผลิตพันธ์ต้นแบบผลิตเป็นสินค้าเพื่อทดลองขายจริง ทำให้นักออกแบบที่เข้าร่วมประกวดได้มีทักษะทั้งเชิงออกแบบ และเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการปูรากฐานที่ดีในอาชีพต่อไป
“สถาบันฯ วางแผนในอนาคตเพื่อให้นักออกแบบได้เข้าสู่เวทีระดับโลก ซึ่งขณะนี้ได้หารือทิศทางกิจกรรมในการส่งเสริมนักออกแบบไทยกับสถาบันบุนกะ ประเทศญี่ปุ่นในเบื้องต้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในปีต่อไป ผู้ชนะเลิศการประกวดอาจได้มีสิทธ์ในการได้รับทุนศึกษาต่อกับสถาบันแฟชั่นที่ขึ้นชื่อระดับโลก หรือได้แสดงโชว์ผลงานในเวทีแฟชั่นระดับโลกเลยก็เป็นได้” คุณสุทธินีย์ พู่ผกา กล่าว
คุณสุทธินีย์ พู่ผกา กล่าวต่อไปอีกว่า ในปี 2554 สถานการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด 8,356 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 โตขึ้นในทุกตลาด ยกเว้นตลาดอเมริกา โดยจะแบ่งออกเป็นการส่งออกเครื่องนุ่งห่มที่ทำจากผ้าถักคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของการส่งออกเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด โดยเสื้อยืด T-Shirt มูลค่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด 449.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 และด้านเครื่องนุ่งห่มที่ทำจากผ้าทอคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.2
ตลาด ปี 54 ในอาเชียนยังเป็นตลาดที่ส่งออกโตมากที่สุด และมียอดขายอันดับที่ 1 มูลค่า 1,550 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับที่ 2 ตลาดในอียู มูลค่า 1,405 ล้านเหรียญสหรัฐ และอันดับที่ 3 เป็นตลาดในอเมริกา มูลค่าการส่งออก 1,405 ล้านเหรียญสหรัฐ และในตลาดที่มีการขยายตัวมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น ที่มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 37 %
สำหรับตลาดในปี 2555 จากเดือน ม.ค.-พ.ค. มีการส่งออกไปแล้วกว่า 2,962 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแบ่งเป็นตลาดอาเชียน 635 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2 % ตลาดอเมริกา 481 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 19 % และตลาดอียู 458 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตลาดนี้ติดลบถึง 27 % จากสถานการณ์วิกฤตหนี้ยุโรป ส่งผลกระทบต่อการส่งออกโดยรวมติดลบถึง 15 % แต่ถึงอย่างไรเมื่อถึงสิ้นปี ตลาดการส่งออกจะกลับมาดีขึ้น โดยจะไม่ติดลบแต่อย่างใด
“ในปัจจุบันสหรัฐอเมริกายังเป็นตลาดเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่ของไทย แต่ในปัจจุบันการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปสหรัฐอเมริกาลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเอง และแม้ว่าจะเริ่มมีการฟื้นตัวในช่วงกลางปีที่ผ่านมา แต่ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกายังคงต้องเผชิญกับปัญหาด้านการเงิน การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำรงชีวิตอยู่ ทำให้ส่งผลต่อความต้องการบริโภคสินค้าและบริการยังอยู่ในระดับกระเตื้องขึ้นเพียงแคบๆ ไม่มากนัก ประกอบกับผู้ประกอบสินค้าเครื่องนุ่งห่มของไทย ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ซึ่งจะทำให้ในอนาคตมูลค่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปตลาดสหรัฐอเมริกาของไทยลดลง” คุณสุทธินีย์ พู่ผกา กล่าวปิดท้าย
โดยงานในครั้งนี้ นายปรัชญา ตั้งธนปรีดา นักออกแบบเสื้อผ้า Fly Now (Know) อายุ 25 ปี เป็นผู้ชนะการประกวด กับชื่อผลงาน “Shadow Puppet” ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังตะลุง ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่น ที่มีความร่วมสมัย บวกกับสีสันที่งดงามของแสงเงาที่ตกกระทบกับจอผ้าขาว จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการนำวัสดุท้องถิ่นมาสร้างเป็นชุดที่ร่วมสมัย เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นไทยบนเวทีแคทวอล์ค ด้วยเทคนิคการถักด้วยเชือก ผสมวัสดุโลหะ การฉลุลาย เดินเครื่องลายด้วยเครื่องมือความร้อน จนได้ใจคณะกรรมการไปอย่างเอกฉันท์
รายละเอียดผู้เข้าประกวด สามารถติดตามได้ที่ลิงค์นี้