FashionShow : RMUTK – Connecticulture 2013
Academy : Rajamangala University of Technology Krungthep
Venue : Siam Discovery
Date/Time : 25 November 2013, 19.00

Krungthep, Connecticulture 2013

Click here to Google Photo Gallery

CONNECTICULTURE การสื่อสารอัตลักษณ์ไทยผ่านงานวิจัย ที่ตอบสนองการใช้ชีวิตต่อโลกปัจจุบัน โดยการถ่ายทอดทางการออกแบบเครื่องแต่งกาย เพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยสู่ประชาคมโลก

ในสภาวะโลกปัจจุบันได้มีการแข่งขันในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิต เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆรวมไปถึงด้านวัฒนธรรม ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อที่จะเชื่อมโยงความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยมีแนวคิดในการนำเสนออัตลักษณ์ไทยสู่ประชาคมโลก จึงนำเสนอความเป็นไทยผ่านการสร้างสรรค์การออกแบบเครื่องแต่งกาย และได้คลี่คลายออกมาเป็น 5 แนวคิด

PART 1 INHERITANCE การนำเอาคุณค่ามรดกความเป็นไทยมานำเสนอในรูปแบบเสื้อผ้าสมัยใหม่
HERITAGE+MODERN FEMMININE
1) การออกแบบกระเป๋าจากไส้เทปเหลือใช้โดยเทคนิคการถักนิตติ้ง
นางสาวชารียา ปัทมธรรมกุล และ นางสาวอทิตยา สีสายชล

2) การปรับเปลี่ยนและตกแต่งชายครุยสำหรับสตรีวัยรุ่นเพื่ออำพลางรูปร่าง
นางสาวปัญจรัตน์ รุ่งวานิชการ และ นางสาวอริสรา พันธุรัตน์

3) การนำเอกลักษณ์ลวดลายผ้าตีนจกหาดเสี้ยวจังหวัดสุโขทัยเพื่อออกแบบสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าด้วยเทคนิคการพิมพ์กำมะหยี่ นางสาวสุภาภรณ์ ลือสุวรรณ์ และ นางสาววชิรา ศิริวงศ์

4) การออกแบบสร้างสรรค์ลวดลายผืนผ้าจากเอกลักษณ์ชาวเขาเผ่าม้งโดยเทคนิดการพิมพ์และการประดับกระจก นางสาวอนัญญา สิริพิทักษ์วรคูณ และ นางสาวเยาวลักษณ์ ทรงวงศ์เกตุ

5) การนำหนังเหลือใช้เป็นวัสดุตกแต่งเพื่อเพิ่มโอกาสใช้สอยสำหรับชุดลำลองกึ่งโอกาสพิเศษ
นางสาวธัญพันธุ์ หาญนัทที

6) การออกแบบตกแต่งชุดโอกาสพิเศษสำหรับสตรีวัยทำงานโดยวิธีการผูกปมและการสานด้วยผ้าเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม นาย สุทธิพงษ์ สิงห์หมื่นไวย และ นางสาว มรกต ทองแดง

7) การปรับเปลี่ยนชุดไทยประยุกต์ของสตรีให้เป็นชุดวิวาห์ราตรี
นายฉัตรชัย เลิศวรัญญา และ นางสาวกัญญา อุดมศิลป์

PART 2 THAIPHISTICATE การนำเอาลายละเอียดของถิ่นฐานในพี้นที่ต่างๆมาปรับใช้ให้มีคุณสมบัติที่ตอบสนองต่อความต้องการในโลกปัจจุบัน
THAI TERRA+SOPHISTICATE
1) การออกแบบชุดโอกาสพิเศษสำหรับสตรีวัยทำงานที่สามารถปรับเปลี่ยนลวดลายเพื่อเพิ่มประโยชน์การใช้งานโดยใช้ลวดลายเรขาคณิต (Geometric) นางสาว ธารทิพย์ สถิตยานุรักษ์

2) การพัฒนาแผ่นยางพอลิไวนิลคลอไรด์ ดิสเพอชั่นเรซิ่น เพื่อการตกแต่งเครื่องแต่งกายด้วยเทคนิคการฉลุ นางสาวชัชวรรณ บุญพา และ นางสาวชื่นนภา แสนละคร

3) การออกแบบลวดลายผ้าด้วยเทคนิคการกัดสีผ้าฝ้ายเพื่อสร้างสรรค์แฟชั่นแจ็คเก็ต
นางสาววิจิตรา อินนอก และ นางสาวศุภลักษณ์ ฟุ้งเฟื่อง

4) การออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอนุบาลสาม
นายธีรพงษ์ เกตุมี และ นางสาวศศิธร จิรัญไพบูล

5) การเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างผ้าที่เหมาะสมสำหรับชุดสตรีมุสลิมในพิธีทางศาสนาอิสลาม
นางสาวสริญญา พงษ์ภิรมย์ศรี และ นางสาวพิมลรัตน์ หาญเลิศประเสิรฐ

PART 3 FICTION STREET การนำเอาเรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรมในรูปแบบเสื้อผ้าที่คนรุ่นใหม่สามารถจับต้องได้
FICTION+STREET
1) การย้อมสีหนงกบด้วยสีธรรมชาติจากขมิ้นชันและไม้ฝาง
นางสาวปนัดดดา หวังมาน และ นางสาวศศิวิมล ดวงทิม

2) การออกแบบกระเป๋าจากพลาสติกไวนิลเหลือใช้ โดยวิธีการพับใบตองสำหรับสตรีวัยรุ่น
นางสาวลลิตา ถิ่นนามเจริญ

3) การนำเอกลักษณ์รูปแบบการพับเหรียญกัลปพฤกษ์เพื่อออกแบบสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าด้วยเทคนิคการพิมพ์ลานูน นางสาวชุตินันท์ กิตติเรืองนาม และนางสาวชิตวัน นาคะตะ

4) การออกแบบชุดโอกาสพิเศษสำหรับวัยรุ่นโดยใช้เทคนิคการผูกเมคราเม่จากผ้ายืดที่เหลือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม นายชัชวาล เที่ยงเจริญ และ นาวสาว พจนา วะจิดี

5) การฟอกและปรับสภาพความนุ่มของการสอบป่านที่ผ่านการใช่การใช่งาน
นายธนพล เมฆบริสุทธ์ และ นายธีรวุฒิ นำพา

PART 4 LOCAL THEORY การนำหลักการใช้ชีวิตของคนไทยสมัยก่อนมาปรับใช้ผ่านเทคนิคและทฤษฎี สร้างสรรค์ออกมาเป็นเสื้อผ้าที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์
LOCAL+TECHNIQUE
1) การสร้างสรรค์แบบตัดเพื่องานออกแบบแฟชั่นที่สามารถสวมใส่ได้หลากหลายรูปแบบ
นายพิทวัส จันทศร

2) การตกแต่งชุดสตรีวัยทำงานด้วยหนังโพลียูรีเธนเหลือใช้ด้วยเทคนิคการต่อผ้าจากลวดลายชาวเขาเผ่าลีซอ นายกฤษณพงศ์ พงษ์ไพร และ นางสาวกัลป์สุภัทร เจริญพิพัฒนกุล

3)การออกแบบแบบตัดส่วนตกแต่งจากรูปทรงเรขาคณิตโดยใช้เทคนิคการพับสามมิติ
นายธราวุฒิ วัดปลั่ง , นายกฤตภาส สุขสุคนธ์

4) การย้อมเส้นด้ายฝ้ายจากสีธรรมชาติด้วยวิธีการผสมสีจากครั่ง ลูกพุด แก่นฝาง และอัญชัน
นางสาววนิดา เซี่ยงม้า และ นางสาวอรวรรณ ซุงเค้า

PART 5 DEEP ROOTS การนำเอาวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนมาพัฒนาและต่อยอดให้เป็นผลงานที่มีคุณค่า
SKILL+ELEGANCE
1) การย้อมเส้นไหมจากใบฝรั่งสดเพื่อผลิตภัณฑ์รักษ์โลก
นางสาวอิงอร แสนพันธ์ นางสาววาสนา จิตรวิเศษ

2) การพัฒนาเฉดสีย้อมเส้นไหมจากรากยอป่า
นางสาวมัณฑนา ตอนสุข

3) การย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติจากใบชมพู่มะเหมี่ยวและทับทิมจันทร์
นายณัฏศิศิ กุลนาค และ นางสาวกนกวรรณ นนท์สุข

4) การย้อมเส้นด้ายฝ้ายจากใบลิ้นจี่สดพันธ์ค่อมและพันธุ์ฮงฮวย
นางสาวจันทรา คู่แจกัน และ นางสาวนวรัตน์ เพ็ญมูล

5) การย้อมลูกไม้ใยผสมด้วยสีจากเนื้อไม้ฝางและเปลือกต้นชงโค
นายคำนวณ สวรรคทัต และ นางสาวจิราพร ทัพซ้าย

Published by Banhan

Runway & Event Photographer, Kid Lover Canon 1D mk III, 7D and Prime Lens