Fashion Show : Muslim Fashion – Press conference
Brand : SWU, CIDI, Kasem Bundit U.
Venue : ZEN Gallery
Date / Time : 2 September 2009 ,14.00

อาภรณ์สวรรค์ สานฝันสู่สากล
งานแสดงแฟชั่นเครื่องแต่งกายมุสลิม
โครงการพัฒนาต้นแบบ ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม ประจำปี 2552

กรม ส่งเสริมอุสาหกรรม โดย สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา จัดงานแสดงแฟชั่นเครื่องแต่งกายมุสลิม พร้อมการ แสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม เพื่อเผยแพร่ ถ่ายทอด และพัฒนาความรู้ ความสามารถ รวมทั้ง สร้างแนวคิดใหม่ และยกระดับการออแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องแต่งกายมุสลิม ภายใต้ชื่องาน “อาภรณ์สวรรค์ สานฝันสู่ สากล”

Click here to Google Photo Gallery

โครงการนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งหวังให้เป็นการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพการออกแบบ รวมถึงการเชื่อมโยง กิจกรรมที่จะก่อให้เกิด การสร้างงาน การสร้างรายได้ ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เครื่องแต่งกายมุสลิม โดยเฉพาะ พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับการร่วมมืออย่างดีจาก สถาบันฝึกสอนกรออกแบบ และผลิต แฟชั่นเสื้อผ้า ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ เป็นสากลทำหน้าที่ออกแบบ และผลิตชุดต้นแบบ 3 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรจน์, มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต และสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ งานนี้จะมี เหล่าศิลปินดารา และนางแบบหลายรุ่นมาร่วมใจกัน เดินแบบโชว์ฝีมือนักออกแบบชาวไทย ให้เป็นเส้นทางออก สู่สายตาตลาดโลกต่อไป

ใน การนี้ ท่านอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายปราโมทย์ วิทยาสุข เป็นประธานการแถลงข่าว การจัดงานแฟชั่น เครื่องแต่งกายมุสลิม ร่วมกับ ดร. วัลลภ สุวรรณดี อธิการบดี ม. เกษมบัณฑิต, อาจารย์บี บุญอารักษ์ ม.ศรีนครินทรวิโรจน์ และ ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันออกแบบนานาชาติ ชนาพัฒน์ รวมทั้งผู้ร่วม สนับสนุนโครงการสำคัญ คือ นาย อลัน นามชัยศิริ และ นายมารุต สาโรวาท ผู้กำกับการแสดงภาพยนต์ ซึ่งจะเป็น ผู้กำกับการแสดง แฟชั่นโชว์เครื่องแต่งกายมุสลิมครั้งนี้

งานแสดงแฟชั่นโชว์ เครื่องแต่งกายมุสลิม ดังกล่าว มีกำหนดจัดงานขึ้นในวันที่ 12 ตุลาคม เวลา 18.00-21.30 น. ณ ZEN Event Gallery ชั้น 8

Department of Industrial Promotion reforms “Muslim fashion” which designs by 3 Major Fashion Institution : SWU, CIDI, and KasemBundit University.

หลักการและเหตุผล

รัฐบาลมีนโยบายหลัก และเร่งด่วนที่ต้องการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตพิเศษ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ เพื่อรับมือวิกฤตเศรษฐกิจไทย รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคง และเข้มแข็งให้กับ ชุมชน โดยเฉพาะประชาชนในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีกลุ่มอาชีพราษฎรที่มีทักษะ ความสามารถในการเย็บปัก ลายผ้าด้วยจักรอุตสาหกรรม ที่มีฝีมือสูง แต่ยังขาดความรู้ และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้มีความทันสมัยตามความต้องการของตลาด ปัจจุบันกลุ่มอาชีพเหล่านั้น ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าปัก เครี่องแต่งกาย เช่น ผ้าคลุมผม หมวกกาปิเยาะห์ และเสื้อโต๊ฟ โดยอาศัยการออกแบบ และสั่งทำจากนักธุรกิจ ที่มีเครือข่ายการตลาด จากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก จึงเป็นปัญหาสำคัญ ของผู้ประกอบ อาชีพดังกล่าว ทำให้เกิดการกดราคาจากผู้ซื้อ เมื่อมีปริมาณการผลิตมากเกินความต้องการ และนอกจากนั้น การที่จะพัฒนาให้มีรูปแบบเครื่องแต่งกายใหม่ๆ เพื่อการส่งออกไปยังประเทศมุสลิมกลุ่มอื่นๆ ซึ่งหากเปิดตลาดไปได้ จะเป็นตลาดที่ใหญ่ เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลาง และประเทศมุสลิมใหม่ในยุโรปตะวันออกได้นั้น จำเป็นต้องมี การพัฒนาแบบ (Pattern) ขนาด (Size) และรูปแบบ สีสัน ให้ตรงกับความนิยม และความต้องการของแหล่ง ตลาดเหล่านั้น เพื่อที่จะช่วงชิงความได้เปรียบ ในด้านการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิม เพื่อรุกเข้าสู่ตลาด โลกมุสลิม ให้สามารถผลักดัน ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต และจำหน่ายเครื่องแต่งกายมุสลิม ทั้งตลาด ภายใน และต่างประเทศให้ได้ก่อน

สิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการ คือ กระตุ้นและเสริมสร้างศักยภาพ ผู้ประกอบการในประเทศ ให้หันมาให้ความสนใจ พัฒนาการผลิตเพื่อการส่งออก สู่กลุ่มตลาดประเทศมุสลิมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากเริ่มต้นจากการฝึกอบรม พัฒนา ความรู้ของกลุ่มในด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย วิธีการเดียวจะต้องใช้เวลานาน การจัดกิจกรรมอื่น เช่น การจัดการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องแต่งกายมุสลิม พร้อมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมสำคัญ อย่างหนึ่ง ที่จะส่งเสริม และสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้า ได้เป็นอย่างดี

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เชื่อว่าการจัดทำโครงการพัฒนาแบบเครื่องแต่งกายมุสลิม จะเป็นการกระตุ้น และส่งเสริม ให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมขึ้น และเผยแพร่สู่สังคม ทำให้กลุ่มเป้าหมายการตลาด ของกลุ่ม ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับรู้ เกิดความตื่นตัว และสนใจพัฒนางานมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นกลุ่มผู้ประกอบการ ให้มีการพัฒนาการออกแบบ ให้ทัดเทียมกับนานาชาติแล้ว และเป็น โอกาส ที่อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิม ของประเทศไทย จะก้าวสู่เชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง และยั่งยืน มีการต่อยอดการพัฒนา ไปยังผู้ประกอบการเพื่อการส่งออกต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Pattern) ของเครื่องแต่งกายมุสลิม เพื่อใช้ในการถ่ายทอดให้มีการตัดเย็บ เพื่อการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ ในอนาคต
2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการออกแบบ ให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ เครื่องแต่งกายมุสลิม เพื่อการส่งออก
3. เพื่อเชื่อมโยง และถ่ายทอดผลของกิจกรรม ที่จะก่อให้เกิดการสร้างงาน และรายได้อย่างยั่งยืนให้กับ ประชากรในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องแต่งกายมุสลิมเป็นตัวนำ

กลุ่มเป้าหมาย

  1. นักออกแบบ / สถาบันการออกแบบเครื่องแต่งกาย
  2. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับธุรกิจเครื่องแต่งกายเพื่อการส่งออก
  3. ผู้แทนประเทศผู้นำเข้าเครื่องแต่งกายมุสลิม
  4. กลุ่มอาชีพราษฎรในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  5. สื่อมวลชน และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

 

Published by Jade-ThaiCatWalk

Editor - ThaiCatwalk.Com and Runway Photographer PR, Brand Acknowledgement, Advertorial