FashionShow : รวมมิตรร่วมสมัย สร้างสรรค์ไทยสู่สังคม
Brand : สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
Venue : Siam Paragon
Date/Time : 17 August 2010, 17.00

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจัดมหกรรมศิลปะไทยร่วมสมัยครั้งใหญ่แห่งปี
เทิดไท้องค์ราชินี พระแม่ผู้เกื้อหนุนวงการศิลปะวัฒนธรรมไทย
ภายในงาน “ร่วมมิตรร่วมสมัย สร้างสรรค์ไทยสู่สากล”
17-22 สิงหาคม 2553 ณ สยามพารากอน

Click here to Google Photo Gallery

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิธีเปิดมหกรรมศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างยิ่งใหญ่ ในงาน “รวมมิตรร่วมสมัย สร้างสรรค์ไทยสู่สากล” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านการพัฒนาศิลปาชีพในหลากหลายแขนง โดยมหกรรมรวมมิตรร่วมสมัย ได้จัดให้มีนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ รวมรางวัลด้านศิลปะวัฒนธรรมที่สถาบัน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ จากทั่วโลกถวายแด่พระองค์ท่าน พร้อมจัดแสดงความในใจเบื้องลึกของผู้ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโดยตรงจากอดีตนักเรียนศิลปาชีพหลากหลายสาขา นอกจากนี้ยังรวบรวมผลงานและนิทรรศการจากศิลปะไทยร่วมสมัยหลากแขนงมาจัดแสดง หวังเป็นกิจกรรมสำคัญเพื่อเทิดพระเกียรติฯ และสานสมานฉันท์อย่างยั่งยืนให้กับคนในชาติ

นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า “มหกรรมรวมมิตรร่วมสมัย นับเป็นเทศกาลครั้งสำคัญของวงการศิลปะวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย ที่เผยออกสู่สายตาปวงชนชาวไทยอย่างยิ่งใหญ่ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชนินีนาถ ที่ทรงเป็นดั่งแม่แห่งแผ่นดินและพระราชทาน “ศิลปาชีพ” แก่ปวงชนชาวไทยมาโดยตลอด จนทำให้ผลงานของศิลปินไทยมีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ได้มีโอกาสอวดสู่สายตาประชาชนและเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ทุ่มเทในทุกส่วนงานของมหกรรมครั้งนี้ โดยเฉพาะในส่วนของนิทรรศการเทิดพระเกียรติฯ ที่ได้พิถีพิถันในแง่การนำเสนอเนื้อหา เพื่อให้คนไทยได้สัมผัสถึงพระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยในด้านศิลปวัฒนธรรมมาโดยตลอด

ความสำเร็จของวงการศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ประจักษ์สู่สายตาของคนไทยและชาวโลกนั้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชนีนาถที่ทรงพระราชทานแนวคิดและบำเพ็ญพระราชกรณียกิจให้กับปวงชนชาวไทยตลอดมา เพื่อให้พสกนิกรไทยมีศิลปาชีพที่มั่นคงและสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเต็มภาคภูมิ นอกจากนี้ยังเป็นมรดกของชาติที่จะตกทอดสู่รุ่นต่อรุ่นต่อไป ภายในงานจึงได้มีนิทรรศการที่รวบรวมเอารางวัลด้านศิลปวัฒนธรรมที่สถาบัน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ จากทั่วโลกถวายแด่พระองค์ท่านมานำเสนอ นอกจากนี้ยังมีความในใจจากพสกนิกรไทยที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโดยตรงจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ด้านการศึกษาศิลปาชีพ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นมหกรรมที่รวบรวมจัดแสดงผลงานศิลปวัฒธรรมร่วมสมัยไทยจากศิลปินรางวัลศิลปาธร และศิลปินร่วมสมัย จำนวนมากมายกว่า 9 สาขา และยังมีเวทีเสวนากับศิลปินศิลปาธรปี 2553 รวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย เพื่อให้มหกรรมในครั้งนี้เป็นการรวมมิตรของคนในชาติเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน รวมถึงการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติอย่างยั่งยืนผ่านงานศิลปะในหลากหลายรูปแบบอย่างสมบูรณ์ เชื่อมั่นว่าจะเป็นกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมไทยที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าชมอีกมากมาย”

มหกรรมศิลปะรวมมิตรร่วมสมัย สร้างสรรค์ไทยสู่สากล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-22 สิงหาคม 2553 โดยพื้นที่จัดนิทรรศการครอบคลุมศูนย์การค้าสยามพารากอนมากกว่า 1,000 ตารางเมตร ได้แก่ ชั้นเอ็ม ณ ลานพาร์ค พารากอน (Parc paragon), ชั้น 2 ไลฟ์สไตล์ฮอล์ (Lifestyle Hall) ไลฟ์สไตล์แกลอรี่ 1 และ 2 (Lifestyle Gallery 1 & 2), ชั้น 3 ลิฟวิ่งแกลอรี่ 1(Living Gallery 1) และชั้น 5 อินฟินีตี้ฮอล์ (Infinity Hall)

ภายในงานพิธีเปิด ณ ลานพาร์ค พารากอน ได้จัดให้มีการมอบรางวัลแก่เยาวชนผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายในโครงการ การเดินทางของความคิดผ่านภาพถ่ายชายแดนใต้ ทั้งสิ้นจำนวน 16 รางวัล,การมอบรางวัลแก่เยาวชนผู้ชนะการประกวดภาพยนตร์สั้นจากโครงการ ค่ายศิลปะการแสดง ภาพยนตร์และสร้างภาพยนตร์สั้น หรือ คบเด็กสร้างหนัง, การแสดงแฟชั่นโชว์ชุด New Generation Thai จากเหล่าดีไซเนอร์เลือดใหม่มากความสามารถ โดยนางแบบนายแบบที่มีชื่อเสียง อาทิ เวย์ไทเทเนียม, พลอย นักแสดงนำจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เราสองสามคน’, การแสดงจากคนหน้าขาว, การแสดงจากศิลปะขันธา ชุด ระบำจิตวิญญาณ,การแสดงจากคณะหุ่นสายเสมา เรื่องพระอภัยมณี ตอน สุดสาครผจญชีเปลือย เป็นต้น

ชุดที่ 1 ม.กรุงเทพ 10

ผลงาน “โอลิมปิค”

นาย พงศกร ปรางดำ

จบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะศิลปกรรมศาตร์ สาขา การออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ

แรงบันดาลใจที่ใช้ในการออกแบบ : ได้รับแรงบันดาลใจจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งแรกของโลก กับลัษณะการแต่งกายของชาวกรีกโบราณ ที่มีความถ่วง ทิ้งตัวของเสื้อผ้า และมีฟอร์มที่ดูโคร่งๆ ผสมผสานกับความเป็นสปอร์ต นำไปสู่รูปแบบของดสื้อผ้าที่เป็นสไตล์ สปอร์ตแฟชั่น ที่สามารถสวมใส่ได้จริง

วัสดุที่ใช้ : จะเป็นเส้นใยที่ได้จากธรรมชาติ เช่น คอตต้อน ขนสัตว์ รวมไปถึงเส้นในที่เป็นใยสังเคราะห์ โดยผ่านเทคนิคหรือวิธีการถักนิตติ้ง และมีการใช้ผ้าคอตต้อยยืด ผ้าโพลีเอสเตอร์ในงานออกแบบ

ชุดที่ 2 ม.กรุงเทพ 10

ผลงาน “ผีตาโขน”

นาย พินิจนันท์ กังแฮ

จบการศึกษาระดับสูงสุดจาก : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ สาขา ออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ

แรงบรรดาลใจในการสร้างสรรค์ชุด : ได้แรงบรรดาลใจมาจาก ประเพณีผัตาโขนที่มีความน่าสนใจ มีจุดเด่นตรงที่มีการวาดลวดลายอย่างมีสีสันสดใสลงบนหน้ากาก ผู้เล่นที่แสดงท่าทางสนุกสนาน ซึ่งเป็นที่มาในการนำเสนอเรื่องราวของผีตาโขนออกมาทางเครื่องแต่งกาย

วัสดุของชุด : cotton Silk

ชุดที่ 3 ม.รังสิต 10

ผลงาน “Anatomy”

ชื่อ ขวัญนา คงคาเขตร

จบการศึกษา ปริญญาตรี จากคณะศิลปะและการออกแบบ สาขาแฟชั่นดีไซน์

ข้อมูลชุดที่ออกแบบ ประกอบด้วย แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชุด

Inspiration

เนื่องจากเสื้อผ้าและร่างกายของมนุษย์เป็นสาระสำคัญในการออกแบบเครื่องแต่งกาย กายวิภาคศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่นักออกแบบหลายคนนำมาเป็นแรงบันดาลใจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเกิดผลงานสร้างสรรค์ที่น่าสนใจตลอดมา จึงเห็นว่าสาระของกายวิภาคยังอาจช่วยสร้างสรรค์ผลงานต่อไปได้ไม่รู้จบ โดยนำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ ทั้งในด้านโครงสร้างลักษณะ รูปร่าง และตำแหน่งที่อยู่ ตลอดจนความสัมพันธ์กับอวัยวะใกล้เคียงในสภาพปกติประกอบกันเป็นโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ โดยศึกษาร่างกายเป็นส่วนๆ ระบบกระดูกที่เส้นโครงร่างที่มีความระเอียด ระบบข้อต่อที่เชื่อมโยงระหว่างกระดูก ระบบไหลเวียนของเลือดและระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันเป็นระบบ เห็นเป็นภาพโครงสร้างร่างกายที่มีความละเอียดจนสามารถเห็นลักษณะของภาพระบบโครงสร้างในแต่ละส่วนภายในร่างกายเพื่อให้ได้ลายละเอียดของเส้นมาสร้างสรรค์ความแปลกใหม่ให้รูปร่างของมนุษย์ที่นำความน่าสนใจของระบบภายในมาเป็นเส้นทางในการออกแบบเสื้อผ้า จะเห็นได้ว่า ระบบกายวิภาคศาสตร์สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการสร้างสรรค์โครงสร้างของกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท โดยการตัดทอนรายละเอียดและสร้างสรรค์เป็นเส้นทางการออกแบบประติมากรรมนูนต่ำบนเสื้อ ผ้า

Concept

ซึ่งเน้นการสร้างรูปทรงในลักษณะประติมากรรมนูนต่ำบนเสื้อผ้า โดยการตัดทอนรายละเอียดและสร้างสรรค์เทนนิค ภายใต้ CONCEPT IN SIDE OUT ในลักษณะการทำงานแบบ Surface design

Material วัสดุที่ใช้

ผ้าออแกนดี้ ผ้าไหมซาติน ผ้าชีฟองย่น ผ้าออแกนซ่า ผ้าแก้วย่น เชือกแบน เชือกหางหนู

ชุดที่ 4 ม. กรุงเทพ 10

ผลงาน “ลิเกร็อก”

ประชา บุญมา PRACHA BOONMA

ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ

ลิเกร็อก “LIGAYROCK”
ชื่อเทคนิค หมายถึง เทคนิคในการผลิตผลงาน เช่นทำจากวัสดุอะไร เป็นต้น

-เทคนิคบนผลงานมีการ digital printed , การปัก ผ้าที่ใช้ในผลงานประกอบไปด้วย ผ้า cotton ผ้าหนัง หนัง เพชร เลื่อม เป็นต้น
แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน

แรงบันดาลใจมาจากนาฏยกรรมการแสดงลิเกนำมาผสมผสานกับดนตรีร็อกและรูปแบบการแต่งกายของร็อก นำสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาผสมผสานทำให้เกิดรูปแบบที่แปลกใหม่ร่วมสมัย นำมาปรับใช้ให้สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน

วัสดุที่ใช้ในผลงานครั้งนี้ประกอบไปด้วย วัสดุที่หลากหลายเช่น Cotton,Denim,Leather ผ้าหนัง และวัสดุตกแต่งอาทิเช่น หมุด เลื่อม เพชรปลอม เป็นต้น วัสดุทั้งหมดคุมสีให้อยู่ในตีมร็อก คือสีดำ

ชุดที่ 5 ป.โท จุฬา 10

ผลงาน จักสาน ( JUCKSARN )

ชื่อ : นาย ปรุฬห์ลภย์ พฤกษ์โสภี ( PRARUNROP PRUEKSOPEE )

เทคนิคในการผลิตผลงาน : โดยการใช้ผ้า COTTON ทอแบบ SATIN ตัดเป็นเกรนเฉลี่ยงกว้าง 4 ซม. พับทบด้านกว้างจาก 4 ซม.เหลือ 2 ซม. แล้วเย็บจากสันทบที่พับเข้ามา 0.8 ซม. โดยเย็บเป็นเส้นยาว จากนั้นใช้เส้นลวดเป็นอุปกรณ์ช่วยในการกลับเอาเนื้อผ้าที่เหลือจากการเย็บเข้ามา 0.8 ซม. นั้นให้ไปอยู่ในช่อง 0.8 ซม. แล้วนำไปรีบ ให้เรียบ เรียกว่า “ ไส้ไก่ชนิดแบน ” แล้วนำไปสานให้เกิดลายแบบต่างๆที่เคยพบเห็นในการสานภาชนะเครื่องจักสานหวายไม้ไผ่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ลายขัดธรรมดา, ลายทแยง, ลายขัดโปร่ง และการพันขอบ

แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน : โดยได้แรงบันดาลใจ จากรูปทรงเส้นกรอบนอกของภาชนะประเภทเครื่องจักสานหวายไม้ไผ่ เช่น ข้อง ใส่ปลา ไซ เอาไว้ดักสัตว์ และ เก้าอี้หวายแบบนางงามในอดีต นำสิ่งต่างๆเหล่านี้ มาผสมผสานกันให้เกิดความเป็นรูปแบบใหม่ ให้มีกลิ่นอายของความเป็นไทย ได้ใอีกรูปแบบ

Published by Jade-ThaiCatWalk

Editor - ThaiCatwalk.Com and Runway Photographer PR, Brand Acknowledgement, Advertorial