Article : Pha Thai, ผ้าไทย – Na Pho
ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์
บทความ เกี่ยวกับผ้าไทย
โดย ณัฐวรรษ (หยก) เจียรนันทะ
ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์, จังหวัด บุรีรัมย์
ประวัติและการบริหารจัดการ
อำเภอนาโพธิ์, จังหวัดบุรีรัมย์ – ชาวบ้านมีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก และปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้าเป็นอาชีพเสริมมานาน โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีมีการประกอบอาชีพทอผ้าไหมทุกหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอนาโพธิ์ โดยนำออกไปจำหน่ายในต่างจังหวัดและอำเภอ รวมทั้งเข้าประกวด ในระดับจังหวัดและระดับภาค ได้รับรางวัลชนะเลิศ ทำให้ผ้าไหมนาโพธิ์เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
Click here to Google Photo Gallery
ในปี พ.ศ.2516 สมาชิกได้เข้าเป็นสมาชิกสวนจิตรดา กรุงเทพฯ ผ้าไหมมัดหมี่จำหน่ายให้กับสวนจิตรดาจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.2532 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สร้างศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมมัดหมี่ จำนวน 1 แห่ง และเริ่มได้การสนับสนุนงบประมาณ และการจัดการด้านบริหารจากหน่วยงานพัฒนาชุมชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537
และในปี พ.ศ.2542 กลุ่มสตรี อำเภอนาโพธิ์เริ่มมีการฝึกอบรมสมาชิก ในด้านการพัฒนาคุณภาพ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการ SIF ธนาคารออมสิน และได้รับงบประมาณจากคณะกรรมการประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (กปร.) ก่อสร้างศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์เป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพ แก่สมาชิกแบบครบวงจร ปัจจุบันใช้สีย้อมเคมี และรับซื้อเส้นไหมจากแหล่งต่างๆ
ประธานกลุ่ม คือ แม่ประคอง กาสะฐิติ (Prakong Pasatthiti), อยู่ที่ 9 หมู่ที่ 13 ต.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ 31230 หรือ ติดต่อที่เบอร์ 081-967-3849
การเดินทางเข้าสู่อำเภอนาโพธิ์ ค่อนข้างไกลเมื่อนับจากการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองบุรีรัมย์ เพราะอำเภอนาโพธิ์ อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดบุรีรัมย์ ติดกับจังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม ถ้าได้เข้าทางนี้ จะสะดวกกว่า
ชื่อเต็มคือ ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์ โครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ
มีผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ซึ่งเป็นผ้าไหมอย่างเดียว ที่นี่ไม่ทำผ้าฝ้าย แต่จะมีขายบ้าง เพราะนำมาจากจังหวัดใกล้เคียง
ช่วงแรกก็เป็นธรรมดา ลายโบราณ เช่น ลายกีบบุก, ลายขอห้า, ลายช่องพลู, ลายบันไดสววค์, ลายพญานาค ฯลฯ ต่อมาจึงได้พัฒนาเป็นลายประยุกต์มากขึ้น เช่น ลายไก่, ลายนก, ลายพื้นบ้านทั่วไป เพราะว่า การออกตลาแต่ละครั้ง เราจะได้รับกระแสตอบรับต่างๆนาๆ และนำกลับมาประชุมกัน ทำให้ทราบว่า กระแสตลาดที่ต้องการนั้น คือ ลวดลายสมัยใหม่ที่มีการประยุกต์ในรูปแบบต่างๆกันออกไป รวมไปถึงคำแนะนำจากภาครัฐ ที่เข้ามาช่วยเรื่องสีต่างๆ เทคนิคต่างๆที่ช่วยทำให้สีไม่ตก ไม่ว่าจะเป็นสีธรรมชาติ และสีเคมี (ไม่เป็นพิษต่อผู้บริโภค)
ผ้าในช่วงเริ่มต้น ก็ยังคงเป็นผ้าผืน และได้พัฒนามาเป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่นเสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย และผู้หญิง ที่ใช้ในทางการ และสวมใส่ลำลอง รวมถึงกระเป๋า, ผ้าพันคอ, พวงกุญแจ ซึ่งถือว่าเป็นการนำ ผ้ามาใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะผ้าเหล่านี้มีหลายส่วน ที่เป็นเศษผ้า ที่เหลือใช้จากการตัดเสื้อผ้าสำเร็จรูป
สินค้าที่ขายดี คือ ผ้าพันคอ และผ้าสไบ รองลงมาคือ ผ้าไหมมัดหมี่ สำหรับผ้าพันคอ และผ้าสไบ จะถูกนำไปส่งออก ไปต่างประเทศ โดยมีฝ่ายตลาด หรือพ่อค้าคนกลาง มารับซื้อ นำไปใส่หีบห่อให้สวยงาม ส่งออกไปยังต่างประเทศ ทั้ง อเมริกา, ญี่ปุ่น และยุโรป 5-6ประเทศ โดยจะต่างกับผ้าในบ้านเรา ตรงที่ ผ้าผันคอ และผ้าสไบที่ส่งออก จะใช้เส้นใหญ่ เนื้อหนาให้เข้ากับอากาศบ้านเขา ในขณะที่บ้านเรา เน้นผ้าเบาโปร่งสบาย
สมาชิกในกลุ่มทอผ้า มีจำนวน 300กว่าคน กระจายตามหมู่บ้านในจังหวัด ทอตามบ้านตนเอง แต่ต้องย้อมจากกลุ่มเท่านั้น เพื่อควบคุมสีให้อยู่ระดับเดียวกัน จากนั้นจึงนำเส้นไหมไปทอตามบ้าน
ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะมีทั้งในส่วนของลูกค้า ที่ระบุรูปแบบมาให้ และเป็นการออกแบบกันเองภายในกลุ่ม เพราะต่างก็มีประสบการณ์จากการที่ได้พูดคุยกับลูกค้าในที่ต่างๆ
ประวัติจังหวัดสุรินทร์
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
สภาพและความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ ไม่มีปรากฏเป็นหลักฐานเอกสารอันแน่นอน เพียงแต่ได้มีการจดบันทึกไว้เพียงสังเขป ซึ่งส่วนมากได้มาจากคำบอกเล่าของผู้มีอายุและเล่าต่อๆ กันมา จึงเอาความแน่นอนไม่ได้ แต่จากการสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า พื้นที่ซึ่งเป็นภาคอีสานในปัจจุบัน เคยเป็นที่อยู่ของพวกละว้าและลาว มีแว่นแคว้นอันเป็นเขตปกครองเรียกว่า “อาณาจักรฟูนัน”
เมื่อนับย้อนถอยหลังเป็นระยะเวลาประมาณ 2,000 ปี สมัยที่ละว้ามีอำนาจปกครองอาณาจักรฟูนันนั้น คงจะได้สร้างเมืองสุรินทร์ขึ้น และต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 1100 พวกละว้าเสื่อมอำนาจลง ขอมเข้ามามีอำนาจแทนและตั้งอาณาจักรเจินละ หรืออิศานปุระ ส่วนพวกละว้าก็ถอยร่นไปทางทิศเหนือ ปล่อยให้พื้นที่รกร้างว่างเปล่าลงเป็นจำนวนมาก จังหวัดสุรินทร์ก็คงจะทิ้งไว้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าและเป็นป่าดงอยู่ เมื่อขอมแผ่อิทธิพล และมีอำนาจครอบครองดินแดนเดิมของละว้าแล้ว ขอมได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ภาค โดยตั้งเมืองศูนย์กลางการปกครองบังคับบัญชาขึ้น 3 เมือง คือ เมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองพิมาย (อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา) และเมืองสกลนคร แต่ละเมืองมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชเท่าเทียมกัน และปกครองบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนครวัด อันเป็นราชธานีของขอม ซึ่งอยู่ในดินแดนเขมร
สมัยที่ขอมมีอำนาจนั้น เมืองสุรินทร์อาจเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่อยู่ในเส้นทางการไปมาของขอมระหว่างเขาพระวิหาร เขาพนมรุ้ง กับนครวัด นครธม ก็ได้ จึงปรากฏว่าได้มีการสร้างปราสาทหินขนาดเล็ก คำนวณอายุประมาณ 1,100 ปีเศษ เรียงรายอยู่ท้องที่อำเภอต่างๆ ตามชายแดนในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ โดยเฉพาะในท้องที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีปราสาทอยู่ริมเขาพนมดองแหรก หรือดงรัก เรียกว่าช่องตาเมือน มีปราสาทตาเมือนโต๊จ (ปราสาทตาเมือนเล็ก) ปราสาทตาเมือนธม (ปราสาทตาเมือนใหญ่) มีวิหาร ระเบียงคด สระน้ำเรียงรายอยู่รอบๆ บริเวณปราสาท นอกจากปราสาทเหล่านี้ก็มีปราสาทอื่นๆ อีกประมาณ 25 แห่ง อยู่ตามท้องที่อำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งสันนิษฐานว่าขอมสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักพล และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาระหว่างเดินทางจากนครวัด นครธม ข้ามเทือกเขาพนมดองแหรก หรือดงรัก มาสู่เมืองศูนย์กลางการปกครองทั้ง 3 เมืองดังกล่าวมาแล้ว
และขอมคงยึดถือเอาเมืองสุรินทร์เป็นเมืองหน้าด่านใหญ่ เพราะขอมมีราชธานีอยู่ทางด้านใต้ของเทือกเขาใหญ่ คือ เขาพนมดองแหรก หรือดงรัก เมืองสุรินทร์คงเป็นที่เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหน้าด่านใหญ่ เมื่อข้ามเทือกเขามาสู่ที่ราบทางทิศเหนือ เพื่อไปยังเมืองศูนย์กลาง คือเมืองละโว้ เมืองพิมาย และเมืองสกลนคร เพราะเมืองสุรินทร์นั้นมีกำแพงเดินและคูเมืองล้อมรอบ 2 ชั้น เหมาะสมที่จะสร้างค่ายคูประตูหอรบ เพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึกเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีเมืองหน้าด่านรองๆ ลงไปอีก เช่น บ้านเมืองลิ่ง (อยู่ในเขตอำเภอจอมพระปัจจุบัน) บ้านประปืด อยู่ในเขตตำบลเขวาสินรินทร์ บ้านแสลงพัน เขตตำบลแกใหญ่ บ้านสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ ในปัจจุบันทั้ง 4 แห่งนี้ปรากฏร่องรอย เช่น ซากกำแพงเมืองเก่าให้เห็นอยู่ ส่วนที่ยังมีสภาพสมบูรณ์กว่าแห่งอื่น คือ บ้านประปืด ตำบลเขวาสินรินทร์ ซึ่งมีกำแพงดินและคูเมือง 2 ชั้น ให้เห็นอยู่จนปัจจุบัน
จากเมืองสุรินทร์ไปยังเมืองหน้าด่านเล็กๆ เหล่านี้แต่ก่อนเคยมีถนนดินพูนสูงประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 12 เมตร ทอดออกจากกำแพงเมืองสุรินทร์ไปยังเมืองหน้าด่านเล็กดังกล่าวแล้วทุกแห่ง แต่ปัจจุบันสภาพถนนเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว
อาณาจักรฟูนัน จดหมายเหตุจีนเรียกประเทศเขมรโบราณว่า ฟูนัน ภาคกลางและภาคอีสานของไทย ก็เป็นอาณาจักรฟูนัน ชนชาติในประเทศเขมรก็เรียกว่าชาวฟูนัน ซึ่งเป็นพวกตระกูลมอญ-เขมร ได้แก่ ละว้า ที่สืบเชื้อสายมาเป็นเขมรโบราณ พ.ศ. 1093 แคว้นเจนละบกเมืองขึ้นก่อกบฏ เจ้าจิตรเสน ชิงเอากรุงโตมู (ศมภู) ได้เป็นกษัตริย์มีพระนามว่า พระเจ้ามเหนทวรมัน เรียกชื่อประเทศใหม่ว่า เจนละ พ.ศ. 1209 – 1345 อาณาจักรเจนละเกิดแตกกันเป็นสองประเทศ ทางแผ่นดินสูงตอนเหนือ ได้แก่ ภาคอีสาน และประเทศลาว เรียกว่า เจนละบก ทางแผ่นดินต่ำตอนใต้ ได้แก่ ประเทศเขมร จรดชายทะเล เรียกว่า เจนละน้ำ คล้ายกับคำที่ชาวสุรินทร์พูดว่า แขมร์กรอม แขมร์เลอร์ (เขมรต่ำ-เขมรสูง) คำว่า กรอม แปลว่า ต่ำ ใต้ ล่าง และเรียกชาวเขมรที่อยู่ในประเทศเขมรว่า แขมร์กรอม มาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักการกลายของเสียงกรอมก็คงเป็นคำเดียวกับขอม ก็คือ เขมร สรุปว่า ภาคอีสานเคยเรียกว่าอาณาจักรเจนละบก เป็นอาณาจักรเขมรโบราณบางหัวเมืองคงรวมกับอาณาจักรเขมร ตลอดสมัยกรุงสุโขทัย เช่น ในวงมณฑลอุดร นครราชสีมา จันทบุรี จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ไทยได้รบเขมรตีได้นครหลวง (นครธม) เขมรเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 1895 ได้ขยายอาณาเขตไปทางตะวันออกได้ดินแดนนครราชสีมา และจันทบุรีไว้เป็นราชอาณาจักรเข้าใจว่าเมืองสุรินทร์และหัวเมืองแถบนี้รวมอยู่ในเขตราชอาณาเขตมาตั้งแต่ครั้งนั้น (จากหนังสือเรื่องแหลมอินโดจีน สมัยโบราณของเสฐียรโกเศศ ไทยในแหลมทองของ พ.อ.หลวงรณสิทธิพิชัย ประวัติศาสตร์ไทยกับเขมร ของสิริ เปรมจิตต์ หลักไทยของขุนวิจิตรมาตรา สยามกับสุวรรณภูมิ ของหลวงวิจิตรวาทการ แบบเรียนประวัติศาสตร์สยาม ของหลวงชุณห์กสิกรและคณะ)
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่
ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18
จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง
องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้น ตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้น ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15
โดยในวันที่ 3-5 เมษายน และ 8-10 กันยายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์ขึ้น ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน ช่องชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและ สิ่งก่อสร้างของบรรพชน นอกจากนี้ในวันที่ 6-8 มีนาคม และ 6-8 ตุลาคม ของทุกปี ดวงอาทิตย์ก็ตก ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน เช่นกัน
ข้อมูลจาก วิกีพีเดีย