Event : FASH’S TENTH, Decade of Design
Brand : Srinakharinwirot University
Venue : SWUNIPLEX
Date/Time : 5 February 2011, 15.30

FASH’S TENTH, Decade of Design

เนื่องในโอกาสเปิดตึกใหม่ของ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ทางศูนย์แฟชั่นและศิลปะเครื่องประดับ ได้จัดนิทรรศการ 10ปี แฟชั่น ชื่อ FASH’S TENTH, Decade of Design ซึ่งเปิดให้ชมระหว่างวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ถึง 15 เมษายน 2554 เวลา 13-16.00น. (วันจันทร์-วันศุกร์)

Click here to Google Photo Gallery

ตึกใหม่ SWUNIPLEX นี้เป็นพิพิธภัณฑ์ และแกลเลอรี่ G23 ที่มุ่งพัฒนาให้เป็นพื้นที่พิพิธภัณฑ์ หอสะสม และแกลเลอรี่ ทางด้านทัศนศิลป์ และศิลปะจินตทัศน์ เป็นงานในระดับมาตราฐาน ทั้งงานในระดับชาติ และนานาชาติ พัฒนาการบริหารจัดการ ระบบ สิ่งพิมพ์ และสื่อ electronic ที่มีมาตราฐาน เพื่อสร้างต้นแบบในสังคมไทย

G23 เป็นชื่อเพื่อสื่อสาร และรับรู้ง่ายๆ ทั้งในสังคมไทยและสากล เรียกง่าย และจดจำง่ายสำหรับชาวต่างชาติ กรปรกับกระแสงความนิยมในทางสากล นิยมเป็นตัวย่อเพื่อให้จดจำง่าย และมีตัวเลขเพื่อสื่อความหมายบางประการ G23 ในที่นี้ มาจากคำว่า Gallery , เลข 23 มาจากถนนสุขุมวิท ซอย 23 หรือซอยประสานมิตร ซึ่งสื่อความหมายกับสถานที่ตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มายาวนานกว่า 6ทศวรรษ

ในวันเปิดนิทรรศการนี้ ได้นำชุดแฟชั่นรุ่นแรก จนถึงรุ่นปัจจุบันมาให้ชม รวมถึงชุดสำคัญจากดีไซเนอร์ดังของไทย เพื่อให้ได้ชมและศึกษากันอย่างลึกซึ้ง เช่น FLYNOW, KAI, NAGARA, PICHITA, THEATRE

—————————————————————-

THE PIONEER

Student Showcase

แนวโน้มทางด้านแฟชั่น เน้นการศึกษาการออกแบบจาก fashion week ในระดับโลกที่จัดขึ้นตามศูนย์กลางของแฟชั่นโลก แต่ยังมีงานอีกระดับหนึ่งที่ผู้คนในวงการแฟชั่นต่างรอคอยชมผลงานในแต่ละปี คือ ผลงานในระดับปริญญาตรีของนักเรียนแฟชั่น ใน สหรัฐอเมริกาอย่าง สถาบัน Fashion Institute of Technology New York ส่วนในประเทศอังกฤษ ในทุกปีทุกคนมุ่งไปชมแฟชั่นโชว์ผลงานจบของนักเรียนแฟชั่นที่ประสบผลสำเร็จอย่างมากจากนักเรียนที่เรียนที่นี่ที่เข้าตาแบรนด์ดังระดับโลกดึงตัวไปทำงานด้วยมากที่สุด และนำแนวโน้มทั้งรูปแบบ สี สไตล์ จากโชว์ของนักเรียนไปเป็นแรงบันดาลใจแนะแนวทางการออกแบบแทบทุกปีทั้งสถาบันที่ดูจะมีชื่อเสียงที่สุดอย่าง Central Saint Martins, London College of Fashion, Royal College of Art London ในประเทศทางฝั่งยุโรปอย่าง เบลเยี่ยม ก็น่าติดตามอย่างมากกับสถาบัน Antwerp Royal Academy of fine Art และในแถบเอเชียประเทศญี่ปุ่น สถาบัน Bunka Fashion College ส่วนในประเทศไทยยังคงอีกไกลที่จะสามารถนำพาผลงานนักเรียนแฟชั่นให้เป็นที่สนใจได้ในระดับสากลในระดับโลก อาจเป็นเพราะในประเทศไทยเพิ่งเริ่มให้ความสำคัญทางด้านการออกแบบแฟชั่นและอุตสาหกรรมแฟชั่น ยังคงเป็นธุรกิจที่ยังต้องอาศัยการสนับสนุนในภาครัฐอย่างจริงจังมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา รวมถึงในอดีตการเรียนการสอนทางด้านการออกแบบแฟชั่นยังมีในระดับปริญญาตรีที่ชัดเจน อีกทั้งยังสับสนแนวทางระหว่างการผลิตนักออกแบบ ช่างเทคนิค หรือผู้ใช้แรงงงาน ในอุตสาหกรรมแฟชั่น แต่อย่างน้อย ผลงานนิสิตแฟชั่นในประเทศไทยก็มีวิวัฒนาการและเติบโตในด้านผลงานการออกแบบ และค่อยๆได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เรียกได้ว่าเริ่มมีผู้คนในวงการแฟชั่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศแถบเอเชียติดตามอยู่ในทุกๆปีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

วิชาเอกการออกแบบแฟชั่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ ปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2554) ผลิตนิสิตทางด้านการออกแบบแฟชั่น ระดับหลักสูตรปริญญาตรี วิชาเอกการออกแบบแฟชั่น ไปแล้วทั้งสิ้น 10 รุ่น จากความคิดริเริ่มของผู้บริหารที่มีวิสัยทัศกว้างไกล จากคณะบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ รุ่นแรก ศาสตราจารย์ ดร. วิรุณ ตั้งเจริญ ที่มี

รองศาสตราจารย์ วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ และรองศาสตราจารย์อัฉจรา วรรณสถิตย์ เป็นผู้ร่างหลักสูตรและเป็นทีมผู้สอนในระยะแรกเริ่ม เริ่มจากปี พ.ศ. 2544 เป็นรุ่นแรก ในปี พ.ศ. 2545 ในรุ่นที่ 2 เริ่มแสดงผลงานปริญญาแฟชั่นนิพนธ์ ออกสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรก ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในงาน 9 ปี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเป็นครั้งแรกของการนำเสนอแฟชั่นนิพนธ์ ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งต่อมาเป็นต้นแบบให้กับสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางด้านแฟชั่นในประเทศ โดยมี อาจารย์รวิเทพ มุสิกะปาน เป็นผู้ควบคุม

ในปี พ.ศ. 2546 นิสิตออกแบบแฟชั่นเริ่มแสดงผลงานแฟชั่นนิพนธ์ ที่ชื่อว่า Student Showcase ครั้งแรกและใช้ชื่อนี้ต่อไปเรื่อยๆ ในครั้งแรกใช้ชื่อว่า Student Showcase : The Premier 2003 เป็นครั้งแรกที่มีการมอบรางวัลผลงานยอดเยี่ยม Collection of The year ของนิสิตแฟชั่นที่มีผลงานดีเยี่ยมสุดในปีนั้นๆ ในปีนี้ได้ผลงานที่ชื่อว่า Futuristic Movement ที่แสดงถึงทิศเสื้อผ้าในอนาคตที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องแต่งกายที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างไม่จำกัดจาก กรกลด คำสุข

จากจุดเริ่มต้นในครั้งนั้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางด้านการนำเสนอผลงานการออกแบบแฟชั่นของนิสิตในรูปแบบมาตรฐานมากขึ้น จนมาถึงในยุคของการสร้างมาตราฐานและการเผยแพร่ผลงานการออกแบบแฟชั่นของนิสิต ที่แสดงให้เห็นได้ถึงพลังของพวกเขาเหล่านั้น ในช่วงเวลาถัดมา

ปี พ.ศ. 2547 Student Showcase : Epidemic 2004 ที่นำเสนอผลงานในรูปแบบแฟชั่นโชว์เต็มรูปแบบโดยร่วมกับโครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพัฒนาแฟชั่นและอัญมณี แห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีรองศาสตราจารย์วรรณรัตน์ ตั้งเจริญเป็นประธานดำเนินการโครงการ ครั้งนี้ได้รับความสนใจจากคนในวงการแฟชั่นเป็นจำนวนมากและเป็นการร่วมเปิดตัวโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่นที่เป็นโครงการของรัฐบาลในปีถัดมา ในปีนี้ได้ Collection of The year จาก สวรรยา จอมเทพมาลา จากผลงาน Hippy Chic ที่นำเอาความสนุกสนานของคนหนุ่มสาวในช่วงเวลา 70s มาเป็นเรื่องราวในการทำงานบวกกับเทคนิคงานฝีมือและลวดลายของผ้าปาเตะ ผ้าพื้นเมืองของไทยในภาคใต้

ปี พ.ศ. 2548 Student Showcase : Ready to Wear 2005 ผลงาน Collection of The year เป็นครั้งแรกที่รางวัลได้มอบ ให้กับผลงานเสื้อผ้าบุรุษ จากผลงาน Razzledazzle ของ พิษณุพร วงศ์ไข่ ที่นำเอาผ้าที่ใช้กับสุภาพสตรีมาใช้กับสุภาพบุรุษ ในแนวความคิดเพื่อลดการใช้วัตถุดิบในลักษณะเฉพาะทางมากเกินไปผสมผสานกับเสื้อผ้าแนว เมโทรเซ็กช่วล

ปี พ.ศ. 2549 Student Showcase : Many Much and More ผลงาน Collection of The year ได้กับผลงาน The Prisoner ที่พัฒนาผ้าถักให้เหมาะกับวัยรุ่น และร่วมสมัยได้อย่างยอดเยี่ยมทั้ง รูปแบบ โครงสร้าง ประกอบกับงานฝีมือในงานถักที่ต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งของ พัชรพล วิวิทย์ชานนท์

THE NATIONAL PHENOMENON

BIFW (Bangkok International Fashion Week)

ปี พ.ศ. 2550 เป็นครั้งแรกและเป็นก้าวสำคัญที่ผลงานนิสิตแฟชั่นได้เข้าแสดงผลงานในระดับสากลที่จัดขึ้นในประเทศไทยร่วมกับผลงานนักออกแบบเสื้อผ้าระดับแนวหน้าของประเทศไทย ในงาน Bangkok International Fashion Week 2007 และเป็นครั้งแรกที่ผลงานแฟชั่นนิพนธ์ของนิสิตได้ทดลองจำหน่ายในห้างระดับประเทศ คือ ห้างสยามพารากอน ในแบรนด์ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในนาม FASH (Fashion at SWU House) และเป็นจุดเริ่มต้นความเป็นไปได้ในโลกของแฟชั่นในระดับสากล อีกครั้งของการออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

FASH เป็น 1 ใน 12 แบรนด์ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมงาน BIFW โดยอาจารย์รวิเทพ มุสิกะปาน อาจารย์ประจำสาขาวิชา

การออกแบบแฟชั่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ กล่าวว่า การที่ทางมหาวิทยาลัยได้รับการคัดเลือกเพียงมหาวิทยาลัยเดียว ให้เข้าร่วมงานครั้งนี้เป็นเพราะผลงานที่นิสิตทำนั้นโดนใจทางผู้จัดงานดังกล่าว จึงได้รับโอกาสให้นำเสนอไอเดียทางด้านแฟชั่นในฐานะว่าที่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ “เราโชคดีที่ผู้ใหญ่ท่านเห็นว่า ผลงานของนิสิตมีคุณค่า ผลงานของนิสิตจึงมีโอกาสได้ขึ้นเวทีร่วมกับแบรนด์มืออาชีพ แต่ละชุดนิสิตเป็นคนออกแบบทั้งหมดตั้งแต่การออกแบบเสื้อผ้ารวมทั้งเครื่องประดับ ตลอดจนการเลือกเพลงก็เป็นผลงานของนิสิตทั้งนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการเปิดตัวแบรนด์ FASH ที่เริ่มต้นไปได้ดี” และผู้ที่ได้รับรางวัล Collection of the year ได้แก่ Pawinee Intawiwat ในชื่อcollection “That’s one small step for man, one giant leap for mankind” FASH กลายเป็นขาประจำของเวที BIFW โดยนำเสนอแฟชั่นโชว์ผลงานนิสิตต่อเนื่องมาทุกปี โดยใน ปี พ.ศ. 2551 กับผลงานที่นำเสนอใน 3 รูปแบบ ในรูปแบบแฟชั่นโชว์ IN,OUT,OVER ผูัที่ได้รับรางวัล Collection of the year ได้แก่ ผนิตนาฏ ทองบุญ กับผลงาน “Pleasentville; Nothing is simple as black and white”

ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ในรูปแบบแฟชั่นโชว์ที่ชื่อ Fashlab โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัล Collection of the year ถึง 4 คลอเลคชั่นเป็นปีแรก ได้แก่ “Re-Innovation” โดย Arttasit Junniwas, “Creation of Nothing” โดย Chadaporn Sukpiti, “Sur-real” โดย Palida Charoenwongyai และ “The Circular Effect” โดย Ploymanee Supawetvehon ปี พ.ศ. 2553 เป็นการนำเสนอผลงานรูปแบบแฟชั่นโชว์ภายใต้งาน BIFW2010 ท่ามกลางกระแสการเมืองที่ร้อนแรง ทำให้ต้องกลับมานำเสนอผลงานรูปแบบแฟชั่นโชว์ที่หอศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์ แต่กลับกลายเป็นการสร้างกระแสให้ผู้คนในวงการแฟชั่นกลับมาสนใจผลงานการออกแบบแฟชั่นของนิสิตอย่างล้นหลามอีกครั้ง ผลงาน Collection of the year ได้แก่ นายสรวุต โภคัง ในชื่อคลอเลคชั่น The Result of “Robert Mckim”

SENIOR DESIGN STUDIO

Senior Design Studio เป็นรายวิชาในวิชาเอกการออกแบบแฟชั่น ในชั้นปีที่ 3 ที่เน้นไปที่การศึกษาการออกแบบและตัดเย็บ เพื่อการนำเสนอผลงาน mini collection ที่นิสิตผ่านการเรียนและการนำเสนอผลงานในรายวิชา Portfolio Development ซึ่งนิสิตได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบและการนำเสนอผลงานในรูปแบบการจัดเก็บในรูปแบบกระบวนการออกแบบแฟชั่น ทั้งในระบบห้องเสื้อและอุตสาหกรรม เพื่อการสมัครงานและฝึกงาน

ทั้งนี้รายวิชา Senior Design Studio นิสิตจะต้องทำการออกแบบและเลือกรูปแบบที่ตัวเองต้องการนำเสนอใน คอลเลคชั่นของตัวเองทั้งหมด 6 ชุด นิสิตชั้นปีที่ 3 เอกการออกแบบแฟชั่น ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนี้ เน้นไปที่กระบวนการคิด โดยเริ่มตั้งแต่ mood, theme, concept, fabric, colour, flats, specs กระบวนการผลิตที่เน้นไปที่โครงสร้างในรูปแบบที่ชัดเจนในการนำเสนอการออกแบบที่อาจดูไม่สามารถสวมใส่ได้ชัดเจนนัก แต่ถือว่าเป็นการเริ่มต้องการการออกแบบที่สร้างสรรค์ตามกระบวนการออกแบบแฟชั่นให้เป็นตัวเองชัดเจนที่สุดก่อนที่จะนำเสนอผลงานต่อไปในชั้นปีที่ 4 ที่เป็น Project Thesis รวมถึงการนำเสนอผลงานในรูปแบบการถ่ายแบบเพื่อการนำเสนอผลงานของตัวเองที่จะเดินเข้าสู่การฝึกงานในกลางปี ในรายวิชา Practicum in Fashion Design

ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2546 ผลงานนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาการออกแบบทัศนศิลป์ วิชาเอกการออกแบบแฟชั่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ปรากฏ แก่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก ในงาน Students Showcase “The Premier 2003” ผลงานในครั้งแรกชัดเจนในเรื่องการนำเสนอผลงานการออกแบบที่นิสิตชั้นปีที่ 3 วิชาเอกการออกแบบแฟชั่น เน้นไปที่กระบวน การคิดสร้างสรรค์ ผลงานที่ปรากฏจึงเน้นไปที่การทดลอง ทั้งในด้านของเทคนิคและการใช้วัสดุรวมถึงการเน้นไปที่โครงสร้างที่แปลกใหม่ที่ดูค่อนข้างแปลกตาและพักเรื่องการขายไว้ก่อน ทั้งนี้เพื่อให้เห็นการกระบวนการคิดที่ชัดเจนในการค้นหา เรื่องราวและ Concept ที่นำใช้กับผลงานของตัวเองให้ชัดเจนที่สุด

ปี พ.ศ. 2546 – 2550 ที่ผ่านมา ผลงานนิสิตชั้นปีที่ 3 รายวิชา Senior Design Studio ได้ปรากฏต่อสาธารณะชนอย่างต่อเนื่องและเป็นที่สนใจของนิสิตนักศึกษาที่เรียนทางด้านการออกแบบแฟชั่น ผู้ประกอบการแฟชั่น ผู้ที่อยู่ในแวดวงในแฟชั่น และผู้ที่สนใจเป็นอย่างดี ผลงานนิสิตชั้นปีที่ 3 ได้รับการยอมรับ ที่ออกมาในรูปแบบ เช่น การนำผลงานทั้งหมดในปี พ.ศ. 2546 แสดงผลงานแฟชั่นในงาน Thailand Super Model ที่เป็นงานประกวดนางแบบของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2547 นำเสนอผลงานแฟชั่นในงาน U Fashion ในโครงการเปิดตัวกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น กระทรวงอุสหากรรม ปี พ.ศ. 2548 ผลงานร่วมเปิดตัวโครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพัฒนาแฟชั่นและอัญมณีแห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒใน ปี พ.ศ. 2549 – 2550 นำเสนอผลงานผ่านโครงการศิลปการบูรณาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานที่ผ่านมาเป็นที่น่าสนใจในหลายชิ้นหลายผลงาน ทั้งถูกตาหนังสือแฟชั่นทั้งในและต่างประเทศ รายการทีวีแฟชั่นในระดับแนวหน้าของประเทศนำไปเผยแพร่ในทุกครั้งหลังการนำเสนอผลงานในรูปแบบแฟชั่นโชว์ในปี พ.ศ. 2551- 2553 มีการนำเสนอผลงานในรูปแบบที่ได้มาตรฐานมากขึ้นโดยการนำเสนอในรูปแบบ look book ทางเว็บไซต์และนำเสนอในรูปแบบแฟชั่นโชว์ในงาน Thailand Graduate Fashion Week ที่เป็นงานมาตรฐานในระดับประเทศ ในอนาคต ผลงานของนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาการออกแบบทัศนศิลป์ วิชาเอกการออกแบบแฟชั่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเป็นไปในทิศทางไหนคงจะต้องช่วยกันคิด ทั้งตัวนิสิตเอง ร่วมกับผู้ประกอบการแฟชั่นที่อยากจะเห็นผลงานก่อนทำวิทยานิพนธ์แฟชั่นในปีที่ 4 ที่เน้นการตลาดหรือความต้องการของวงการแฟชั่นมาก่อน แม้งานนิสิตชั้นปีที่ 3 จะดูเป็นผลงานที่เน้นความคิดสร้างสรรค์มากกว่าความต้องการด้านตลาดปัจจุบันแต่ในอนาคต ผลงานนิสิตออกแบบแฟชั่นชั้นปีที่ 3 คงจะมองถึงความรับผิดชอบที่ดีต่อสังคมโลกให้มากขึ้นกว่าเน้นไปที่กระบวนการผลิตและความคิดสร้างสรรค์ทางด้านความล้ำสมัยทางการออกแบบเพียงอย่างเดียวนั่นคงจะเป็นเป้าหมายที่ทั้งนิสิตและดทีมงานข องคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

JEWELRY DESIGN AT SWU

วิชาเอกศิลปะเครื่องประดับ เป็นวิชาเอกหนึ่งที่อยู่ในหลักสูตรการออกแบบทัศนศิลป์ เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ วันที่ 16 มิถุนายน 2536 ในขณะนั้นมีสามวิชาเอกคือ วิชาเอกออกแบบสื่อสาร วิชาเอกออกแบบผลิตภัณฑ์ ต่อมาปี 2543 ได้เพิ่มวิชาเอกศิลปะเครื่องประดับขึ้นอีกหนึ่งวิชาเอกในหลักสูตร และได้เปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2544 โดยมีนิสิตรุ่นแรกของวิชาเอกศิลปะเครื่องประดับ จำนวน 12 คน ซึ่งวิชาเอกศิลปะเครื่องประดับนี้เกิดจากผลการวิจัยของสกว. (กองทุนสนับสนุนการวิจัยสำนักนายกรัฐมนตรี) โดย รองศาสตราจารย์วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ เป็นผู้ริเริ่มและประธานการวิจัย เนื่องจากประเทศไทยขาดแคลนนักออกแบบเครื่องประดับเป็นอย่างมาก ขณะที่เครื่องประดับและอัญมณีทำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเทียบกับสินค้าประเภทอื่น จากข้อมูลพบว่าเป็นรายได้ที่มาจากการรับจ้างผลิตตามแบบที่ต่างประเทศสั่ง ไม่ได้ออกแบบโดยนักออกแบบของคนไทยเอง นักวิชาการได้ทำการวิเคราะห์และคาดการว่า อาจเกิดปัญหาได้ในอนาคต หากเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนและต่างชาติไม่จ้างไทยผลิต รายได้เข้าประเทศในส่วนนี้อาจหายไป ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยควรพัฒนานักออกแบบเครื่องประดับของตนเอง เพื่อให้ได้นักออกแบบเครื่องประดับและสามารถผลิตเครื่องประดับขายด้วยตนเองนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเกิดวิชาเอกศิลปะเครื่องประดับในหลักสูตรการออกแบบทัศนศิลป์ โดยการจัดการเรียนการสอนนั้น เป็นการมุ่งเน้นให้นิสิตมีทักษะในการออกแบบเครื่องประดับโลหะรูปพรรณประกอบอัญมณีเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยใช้ความรู้ทางการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์รวมถึงการใช้เครื่องจักรซีเอ็นซี (CNC) เพื่อการผลิตเครื่องประดับในระบบอุตสาหกรรม ตลอดจนนำความรู้มาดัดแปลงเพื่องานทัศนศิลป์ในด้านต่างๆได้

ผลงานการแสดงนิทรรศการและแฟชั่นโชว์ศิลปะเครื่องประดับนิพน์ (JEWELRY THESIS)

ปี 2548 แสดงแฟชั่นโชว์ภายใต้โครงการสร้างฐานข้อมูลการศึกษา การออกแบบเครื่องประดับเพื่อการส่งออกของ รองศาสตราจารย์วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ, ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ปี 2549 แสดงแฟชั่นโชว์ในงานครบรอบ 50 ปี วันสถาปนามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ โรงแรมเอเซีย

ปี 2550 แสดงแฟชั่นโชว์Hide, Seek, and Release ร่วมกับวิชาเอกออกแบบแฟชั่น ในงาน Bangkok International Fashion week 2007, ณ ห้างสรรพค้าสยามพารากอน

ปี 2551 แสดงแฟชั่นโชว์ Life ร่วมกับวิชาเอกออกแบบแฟชั่น ในงาน Bangkok International Fashion week 2007, ณ ห้างสรรพค้าสยามพารากอน

ปี 2552 นิทรรศการและแฟชั่นโชว์ Everything is Jewelry, ณ ห้างสรรพค้าสยามเซ็นเตอร์

Published by Jade-ThaiCatWalk

Editor - ThaiCatwalk.Com and Runway Photographer PR, Brand Acknowledgement, Advertorial

One reply on “FASH’S TENTH, Decade of Design”

Comments are closed.