MQVFW : Thai Designers in MQ Vienna Fashion Week 2013
Brand : Adhoc, The Urban Apparel, Paul B., Rotsaniyom
Venue : Museum Quartier
Date/Time : 12 September 2013, 21.00

Back to MQVFW’s table

Thai Designers in MQ Vienna Fashion Week 2013

Photo by Nattawat (Jade)

Click here to Google Photo Gallery

เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ไทยดีไซเนอร์ ในโครงการ Designers’ Room, DITP ได้สร้างผลงานอันโดดเด่นในเวทีระดับโลก ณ กรุงเวียนนา ในงาน MQ Vienna Fashion Week 2013 ผู้ที่ได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้คือ Adhoc, The Urban Apparel, Paul B., Rotsaniyom และได้รับการคัดเลือก จาก Ms. Zigi Mueller-Matyas, Creative Headz  ผู้จัดงานบินตรงสู่ประเทศไทย เพื่อคัดเลือกผลงานที่เข้าตา จาก Designers’ Room, DITP กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ช่วงเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อนำมาแสดงในงานนี้ การตอบรับ คือ สื่อมวลชนนัดสัมภาษณ์ และพูดคุยกับ Buyers ในเช้าวันรุ่งขึ้น

ในงานนี้ ได้รับเกียรติจาก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา, เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำ สาธารณรัฐออสเตรีย ร่วมเดินแบบในชุดไทยจาก Arada Couture เพื่อแสดงผลงานผ้าไทยให้ประเทศออสเตรีย ได้เห็นถึงความงดงามของผ้าไทย พร้อมนางแบบกิตติมศักดิ์ อีก 4 ท่าน ประกอบด้วย คุณ ปาริฉัตร ลือไพบูลย์พันธุ์ – อัครราชฑูต, คุณ สิริพร ภาณุพงศ์ – อัครราชฑูต, คุณ กิตติ์สิริ แก้วพิพัฒน์ – อัครราชฑูตที่ปรึกษา ฝ่ายอุตสาหกรรม และ คุณ ชมถูนุท อรรถไกวัลวที – เลขานุการเอก

คุณ พรพิมล เพชรกูล, Minister Counseller Commercial – Office of Commerical Affairs ณ กรุงเวียนนา เป็นผู้ดูแลติดต่อ ประสานงานทั้งหมด และยังได้รับข้อมูลแจ้งว่า การแสดงแบบของดีไซเนอร์ไทย ได้รับความสนใจจาก ผู้จัดงาน ให้นำเสนออย่างต่อเนื่อง เพราะแฟชั่นดีไซน์ มีความน่าสนใจ

Colection Detail : 4 Brands

ADHOC

www.facebook.com/adhocstore
email: adhoc_siam@hotmail.com

Designer: วิยะดา  เตียวพงษ์พันธุ์ (Wiyada  Teawpongpant), ศรัณยธัช  กวินโชติไพศาล (Saranyatach  Kawinchotpaisan)

คอลเลคชั่น Spring/Summer 2014 ” Extraterrestrial Tribal

ได้แรงบันดาลใจจากปรากฎการณ์ปริศนาอัศจรรย์ Crop circles ปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นจริงในหลายๆประเทศทางแถบยุโรป และที่ต่างๆทั่วโลก เป็นปรากฏการณ์ที่ถือว่าไม่ธรรมดามากๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านรูปแบบ วิธีการ ขนาด ระยะเวลาการเกิด และผู้สร้าง ล้วนเป็นความลับ ให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ และนักคาดเดาต่างต้องทำงานกันอย่างหนัก แต่ก็ดูเหมือนจะยังไม่ใกล้ความเป็นจริง ที่จะเฉลยปริศนานี้ได้

Crop circles (ครอปเซอร์เคิล) เกิดเป็นรูปร่างโดยธัญพืชที่มีแปลงเพาะปลูกขนาดใหญ่นั้น ได้ล้มลงเป็นจำนวนมาก เกิดลวดลายขึ้น ตัดกับส่วนที่ยังตั้งอยู่ จึงเห็นเป็นลวดลายชัดเจน โดยมีรูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อน สวยงาม เป็นระเบียบ ส่วนใหญ่มีวงกลมเป็นหลัก และประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตอีกหลากหลาย และมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถมองดูได้จากพื้นดินธรรมดา แต่เมื่อมองจากมุมสูงจึงจะเห็นเป็นลวดลายชัดเจน เป็นลักษณะของสัญลักษณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยเฉพาะมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น การสร้างจึงต้องใช้เทคนิคและเทคโนโลยี่ขั้นสูงมากๆ จึงจะสามารถทำได้ ดังนั้นจึงมีคำถามว่า คือ ใครเป็นคนทำ ทำได้อย่างไร ใช้อะไรในการทำ และทำเพื่ออะไร

หรือมนุษย์ต่างดาว กำลังจะบอกอะไรบางอย่างกับพวกเราชาวโลกผ่าน crop circle  มีใครจะสามารถอ่านความหมายของเครื่องหมายเหล่านี้ได้ ปริศนาต่างๆ ยังคงดำมืดอยู่อย่างนั้น และพวกเราจะได้รู้ความลับนี้เมื่อไหร่ จะเกินอายุขัยเราหรือไม่ เพราะความลับในโลกนี้ยังมีอีกมากมาย ที่เราไม่สามารถแก้ไขได้ ได้แต่รอเวลาเท่านั้น

—————————————————————————–

The Urban Apparel

The Eccentric Outcast – Oppressed by the pressure of urban life and alienated by the inner circle, life has taken a deeper turn into a mess.

Inspired by the lives of urban dwellers, THE URBAN APPAREL Spring/Summer 2014 captures the essence of city living and the disorderliness that comes with it. Faced with the constant changes and unpredictability, there is always a pressure to keep up with the competition and to be ‘visible’. The cool and composed surface of each individual is oftentimes darkened by insecurity and alienation.

An interplay between different fabrics and materials, which brings about new silhouettes and textures. The special zipper alignment technique creates an optical illusion on the clothes, developing a greater depth on the surface. Lambskin is used throughout which adds a structured and luxurious feel to the collection.

Press Inquiries | contact@theurbanapparel.com
Wholesale Inquiries | partners@theurbanapparel.com

—————————————————————————–

Paul B.

Designer : ธันยพัต ศรีวิสาร์กร (Tanyapat Srivisakorn), กันต์รพี ท่าช้าง (Kanrape thachang)

Sunny day นำเสนอผ่าน ยุค 50S ที่มีกิจกรรมมากมาย ให้เด็กๆได้ทำ ทั้งการปาร์ตี้ในสวน และการเล่นกีฬาต่างๆ ในหน้าร้อนที่ดอกไม้เริ่มผลิบาน โดยได้นำเสนอการวาดลายเส้นแบบเก่า และ ลายเส้นที่โดนตัดทอนเหลือเพียงรูปร่างคราวๆ ของดอกไม้ และนำเอากราฟฟิคตัวอักษรที่นิยมในขณะนั้นนำมาใช้ ในตัวย่อ PB เพื่อให้เห็นถึงการเล่นสนุกกันเป็นทีม เปรียบเหมือนการเล่นกีฬา การไปกับเพื่อนๆ ในที่ต่างๆ นำมาใช้ด้วยกัน

—————————————————————————–

Rotsaniyom

Designer : ฐิตา กมลเนตรสวัสดิ์ (Thita Kamonetsawat), พงศ์ศักดิ์ กอบรัตนสุข (Pongsak Kobrattanasuk)

มาลัย – การผสมผสานสิ่งต่างๆให้เกิดสิ่งใหม่ บนพื้นฐานของการร้อยเรียงศิลปะและวัฒนธรรม การยอมรับและเข้าใจในความต่าง ผลลัพธ์ของการผสมผสานที่ไม่กลืนกิน วัฒนธรรมที่หลอมรวม ความแตกต่างไม่ใช่เรื่องใหม่ สิ่งๆเดียวกันอยู่บนพื้นฐานที่แตกต่างกันย่อมให้ความรู้สึกที่ต่างกัน ปรัชญาขั้นพื้นฐานประกอบกับกลิ่นอายของภาพยนตร์ Anna And The King ความสัมพันธ์ของสองวัฒนธรรมแปลกหน้า ที่ผสมผสานอย่างกลมกลืน ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจของ มาลัย สิ่งแปลกปลอมที่ไม่กลืนกินแต่ผสมผสาน  ถ่ายทอดผลงานผ่านศิลปะเชิงทดลอง การใช้ลวดลายที่เหมือนกันบนวัสดุที่ต่างกัน ย่อมได้สิ่งที่แตกต่างกันด้วยพื้นฐานของตัวมันเอง

—————————————————————————–

Arada Couture – ชุดนี้เป็นชุดที่พระองค์เลือกโดยพระองค์เอง โดยรูปแบบเป็นงานstyleที่ร้านทำอยู่แล้ว แต่คัดสรรเรื่องวัสดุ และสีผ้าซึ่งพระองค์ท่านเลือกด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น…

ในงานชุดไทยของaradaชุดstyle แบบนี้ส่วนมาก ผู้ที่สวมใส่จะเป็นเจ้าสาว ที่ใช้สวมใส่ในงานหมั้น หรือรดน้ำสังข์ในพิธีมงคลสมรสของผูหญิงไทย

แรงบันดาลใจเริ่มแรกของชุดงาน styleนี้ เลยคือ หนังสือ we (wedding magazine ) ให้ทำชุดไทยในยุคต้นรัตนโกสินทร์ สิ่งที่สำคัญของโจทย์นี้คิดว่าหน้าจะเป็นวัสดุ เลยต้องหาข้อมูลผ้าในยุคนั้นไปได้ผ้าร้านหนึ่งที่เป็นผ้าพื้นครีมลายพุ่มข้าวบิณฑ์ร้านผ้าบอกว่าเป็นผ้าที่คนไทยออกแบบลายนี้แต่สั่งทอที่อินเดียสำหรับใช้ในภาพยนตร์เรื่องสุริโยทัย เลยนำผ้านี้มาทำสีใให้เป็นโทนสีคลาสสิกและโบราณตามconcept แล้วหลังจากน้ันก็เป็นจุดเริ่มต้นของการทำชุดไทยสไตล์ของ arada couture…

ชุดฉลองพระองค์ของพระองค์ท่านเป็นการผสมผสานจากรูปแบบยุคโบราณซึ่งส่วนใหญ่จะใส่เป็นผ้าสไบกับผ้าถุงหน้านางนุ่งสด aradaประยุคมาให้ใส่สำเร็จรูปแต่เสมือนนุ่งเองเพื่อให้การสวมใส่ดูเป็นธรรมชาติที่สุด…

ส่วนลายละเอียดของผ้าตัวบน (top) เป็นผ้าใหมลายดอกไม้เล็กๆที่มีดิ้นสีเงินปักรอบๆลายสีชมพูอมเทานำมาจับเดรป (Drap) ที่ดูแล้วธรรมชาติที่สุดและเพิ่มความอ่อนหวานด้วยความพลิ้วใหวด้วยผ้าสไบที่ใช้เป็นผ้าชีฟองใหม (Chiffon Silk) ในส่วนของผ้าถุงเป็นผ้าใหมปักดิ้นสีทองอ่อนผสมเงินลายไทยพุ่มข้าวบิณฑ์สีชมพูไล่มาโทนสีเทาที่ชายผ้าถุง จับเป็นผ้าถุงหน้านางที่มีการจับให้หน้านางทิ้งชายลงมาให้ชายยาวกว่าผ้าถุงเพื่อเพิ่มความอ่อนหวานพลิ้วไหวให้กับชุดโดยองค์รวม…

ห้องเสื้อ ARADA Couture ผู้ออกแบบ(Designer) ณภาดา สุทธิบุญญาเกษม (Napada Suthibunyakasem)

 

Published by Jade-ThaiCatWalk

Editor - ThaiCatwalk.Com and Runway Photographer PR, Brand Acknowledgement, Advertorial